หลักการอิสลามในการถอดถอนผู้นำ 2

Submitted by dp6admin on Mon, 06/04/2009 - 14:38
เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
ฉะนั้นศาสนาจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้หาก ปราศจากผู้นำ และผู้นำจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากปราศจากศาสนา ดังที่อิหม่ามอัลฆอซาลียฺกล่าวไว้ในหนังสืออัตติบรุลมัซบูกว่า
 
“ศาสนาและผู้นำนั้นคือฝาแฝดพี่น้องที่เกิดจากท้อง เดียวกัน ฉะนั้นเขาจำเป็นต้องดูแลรักษาและอยู่ห่างไกลจากอารมณ์ใฝ่ต่ำและอุตริกรรม ต่างๆ สิ่งที่คลุมเครือไม่ชัดเจน การกระทำชั่วทั้งหลาย รวมทั้งสิ่งที่นำความบกพร่องเสื่อมเสียมาสู่ศาสนา ถ้าหากผู้หนึ่งผู้ใดในสังคมที่มีพฤติกรรมหรือความเชื่อที่ผิดเพี้ยนหรือถูก กล่าวหาในศาสนาของเขา ผู้นำจำเป็นต้องสั่งให้นำตัวเขามาเพื่อสอบถามตักเตือนอบรมเขาหรืออาจจำเป็น ต้องขู่และปราบปรามเขา ซึ่งถ้าหากเขาไม่กลับเนื้อกลับตัว ผู้นำจำเป็นต้องลงโทษและเนรเทศเขาออกจากสังคมที่ปกครองอยู่เพื่อให้สังคม บริสุทธิ์และปลอดภัยจากความเชื่อที่ผิดเพี้ยนของเขา และการกระทำที่เป็นอุตริกรรมของเขา และเพื่อให้สังคมปราศจากกลุ่มที่หลงทางทั้งหลาย ผู้นำต้องทำให้อิสลามมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ปกป้องรักษาช่องโหว่หรือชายแดนของรัฐอิสลามอย่างเต็มกำลังโดยการใช้กำลัง ทหาร และพยายามสุดความสามารถที่จะสนับสนุนสัจธรรม นำความยิ่งใหญ่ความรุ่งโรจน์กลับมาสู่แนวทางและชีวประวัติท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพื่อให้แนวทางของท่านได้รับการสรรเสริญและมีเกียรติ ณ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา”
 
ที่น่าสังเกตคือท่านอิหม่ามอัลฆอซาลียฺได้เน้นย้ำถึงสิ่งที่ท่านอัลมาวัรดียฺกล่าวไว้ถึงความจำเป็นที่ผู้นำต้องนำความยิ่งใหญ่ความรุ่งโรจน์กลับมาสู่แนวทางของท่านนบีและปกปักษ์รักษาหลักการของศาสนา
 
นักวิชาการศาสนาหลายท่านได้อธิบายเรื่องการถอดถอน ผู้นำ เมื่อขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้นำหรือประพฤติสิ่งที่สวนทางกับจุดมุ่งหมาย ของการเป็นผู้นำ ท่านอัลมาวัรดียฺได้กล่าวในหนังสือ อัลอะหฺกาม อัซซุลฎอนิยะฮฺ (กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการปกครอง) ว่า “สิ่งที่ทำให้สถานภาพของผู้นำเปลี่ยนแปลงและเป็นสาเหตุให้เขาออกจากการเป็น ผู้นำมีสองประการ หนึ่ง-ความบกพร่องในเรื่องความยุติธรรมของผู้นำ สอง-ความบกพร่องในสภาพร่างกายของผู้นำ ความบกพร่องในเรื่องความยุติธรรมคือ การฝ่าฝืนหรือละเมิดหลักการศาสนา(ฟาซิก) ซึ่งมีสองรูปแบบคือ การที่ผู้นำกระทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง(โดยละเมิดหลักการศาสนา) และการที่ผู้นำกระทำสิ่งที่เป็นข้อเคลือบแคลง(ชุบฮัต)ในศาสนา รูปแบบแรก เกี่ยวข้องกับการกระทำทางด้านร่างกาย คือประพฤติสิ่งที่เป็นข้อห้าม(หะรอม)เพื่อสนองตัณหาและอารมณ์ของตัวเอง การกระทำนี้ถือเป็นการฝ่าฝืนและเป็นข้อห้ามที่ทำให้หมดสภาพความเป็นผู้นำ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ผู้นำได้กระทำสิ่งเหล่านี้ก็ถือว่าผู้นำคนนั้นได้ ออกจากสภาพความเป็นผู้นำ ถึงแม้ว่าเขาจะกลับไปสู่ความถูกต้องก็ตาม ยกเว้นต้องทำการสัตยาบันใหม่”
 
นี่เป็นตัวบทชัดเจนจากท่านอิหม่ามอัลมาวัรดียฺอัลชาฟิอียฺในเรื่องการถอดถอนผู้นำเมื่อบกพร่องในเรื่องความยุติธรรมด้วย การกระทำสิ่งที่เป็นความชั่วและข้อห้ามในศาสนา
 
เราไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่างของอิหม่ามหรือผู้นำประเภทนี้ที่ได้หมดสภาพความเป็นผู้นำเนื่องจากการขาดความยุติธรรมในเรื่องการดื่มสุรา เล่นการพนัน การกระทำสิ่งลามก(เช่นการผิดประเวณี) หรือสิ่งอื่นๆที่มุสลิมทั่วไปละอายที่จะปฏิบัติ เพราะผู้นำประเภทนี้เป็นที่สมควรแล้วที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่งและไม่สามารถ กลับไปสู่ตำแหน่งได้อีกยกเว้นด้วยการกลับเนื้อกลับตัวอย่างจริงใจและการ ปรับปรุงแก้ไขความประพฤติเหล่านี้
 
สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันและนำเอาตัวบทหรือหลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวมาเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นสิ่งที่บรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม สมัยก่อนมิได้ระบุไว้ในหนังสือของพวกเขา ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในลักษณะปัจจุบันที่กฎหมายไทยบัญญัติขึ้นก็มีหลายสิ่ง หลายอย่างที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม แต่อย่างไรก็ตามเรามีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขสภาพวิกฤติที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน นั่นคือวิธีการที่จะถอดถอนจุฬาราชมนตรีคนปัจจุบันออกจากตำแหน่งบนพื้นฐาน ของการที่ท่านได้ประพฤติสิ่งที่มีผลเสียหายต่อความยุติธรรมของท่านนั่นคือ ความแก่ชราของท่านจนทำให้ท่านไม่สามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ในตำแหน่งนี้ได้ และความผิดในจุดยืนและความบกพร่องของท่านในกรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่ มัสยิดกรือเซะหรือเหตุการณ์ตากใบ รวมถึงการขอเงินสนับสนุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งความผิดเหล่านี้มีหลักฐานเอกสารทางการระบุเป็นลายลักษณ์อักษรอย่าง ชัดเจน และเรื่องนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคมโดยไม่มีข้อชี้แจง หรือการปฏิเสธใดๆจากสำนักจุฬาราชมนตรี
 
กฏหมายไทยมิได้ระบุอย่างชัดเจนถึงวิธีการถอดถอน จุฬาราชมนตรีออกจากตำแหน่งและมิได้กำหนดเครื่องมือใดๆที่จะปลดผู้ดำรง ตำแหน่งนี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำให้เรื่องนี้มีความยุ่งยากมากขึ้น
 
กฎหมายอิสลามมีความชัดเจนในเรื่องการถอดถอนผู้นำ ทั้งนี้หากผู้นำ(นั่นคือคอลีฟะฮฺหรือผู้นำอื่นๆ)ได้กระทำหรือมีพฤติกรรมที่ ส่อไปในทางชั่วหรือปฎิบัติสิ่งที่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติของการเป็นผู้นำแล้ว สภาแห่งการแต่งตั้งถอดถอน (อะฮฺลุล ฮัลลิ วัลอักดิ) ก็จะเป็นผู้ที่ถอดถอนผู้นำนั้นและแต่งตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมในการเป็นผู้ นำให้ดำรงตำแหน่งแทน แม้กระทั่งเป็นที่อนุมัติให้ออกจากการเชื่อฟังผู้นำด้วยการใช้กำลังหากผู้ นำได้กระทำสิ่งที่ทำลายความเป็นอิสลามหรือประพฤติสิ่งที่เป็นกุฟรฺ(การ ปฏิเสธศรัทธา)ชัดเจน โดยมีข้อแม้ว่าต้องไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม หากเกรงจะก่อให้เกิดความวุ่นวายก็ไม่เป็นที่อนุญาตให้ออกจากการเชื่อฟังผู้ นำในทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่
 
และหากเราได้ศึกษาค้นหาวิธีการหรือช่องทางที่จะถอด ถอน บรรดาอิหม่ามหรือผู้นำองค์กรมุสลิมต่างๆในกฎหมายไทยแล้ว เราจะพบว่าไม่มีการระบุถึงบทบาทของสังคมในการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้นำเลย ทั้งๆที่ภารกิจแต่งตั้งถอดถอนผู้นำนั้นเป็นสิทธิของสภาแห่งการแต่งตั้งถอด ถอนและสภาชูรอเท่านั้น ซึ่งสภาชูรอจะเป็นผู้ที่พิจารณาถึงความถูกต้องเหมาะสมของผู้นำในการดำรง ตำแหน่ง และนี่คือส่วนหนึ่งในข้อบกพร่องที่สำคัญของหลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้นำศาสนา ในประเทศไทย ซึ่งนักกฎหมายไทยได้พยายามศึกษาถึงข้อบกพร่องนี้และมีข่าวว่าอาจมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงบางประเด็นในหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่สิ่งที่เราได้รับรู้นั้นมิได้ทำให้เรารู้สึกมีความหวังมากมายนัก เพราะผู้ที่ร่างกฎหมายในประเทศไทยนั้นไม่มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลามและ กฎหมายอิสลามแต่อย่างใด พวกเขาร่างกฎหมายเกี่ยวกับมุสลิมโดยใช้เรื่องราวในประวัติศาสตร์และหลัก เกณฑ์ทางด้านความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก สิ่งเหล่านี้เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป
 
อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายไทยได้ให้สิทธิ หลายๆ ประการแก่ประชาชน หนึ่งในนั้นคือสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งสังคมมุสลิมสามารถใช้สิทธินี้เพื่อปฏิบัติหลักการของอิสลามอย่างสันติ วิธี ดังนั้นหากสังคมมุสลิมได้รณรงค์เรียกร้องให้มีการถอดถอนจุฬาราชมนตรี ก็จะเป็นการสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและหลักการของศาสนาในการกำชับกันใน เรื่องความดีห้ามปรามความชั่ว ซึ่งการประกาศสัจธรรมภายใต้ผู้นำหรือผู้ปกครองที่อธรรมนั้นเป็นสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญในเรื่องนี้
 
แท้จริงสังคมมุสลิมเราในปัจจุบันจำเป็นที่จะต้อง ลุกขึ้น ต่อสู้และปัดฝุ่นแห่งความขลาดกลัวความวิตกกังวลออกจากอาภรณ์ของเรา และจำเป็นเช่นกันที่สภาแห่งการแต่งตั้งถอดถอน(อันมีนักวิชาการ ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีอิทธิพลที่เป็นคนดีในสังคมเรา)ต้องมีบทบาทสำคัญในการควบคุมตรวจสอบ ตำแหน่งผู้นำที่สำคัญๆในสังคม และเป็นไปไม่ได้และไม่เป็นที่อนุญาตให้เราปล่อยปละละเลยให้ตำแหน่ง จุฬาราชมนตรีถูกแต่งตั้งถอดถอนโดยใครก็ได้ แต่สังคมมุสลิมต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งกฎหมายและกฎเกณฑ์ของบ้านเมืองเราก็เปิดโอกาสในเรื่องนี้ภายใต้หลักการ ความสงบสุขของสังคม
 
จากที่ได้กล่าวมาสังคมเราจะกลายเป็นผู้ต่อต้านและท้าทายอำนาจชั่วร้ายต่างๆที่พยายามแทรกแซงและนำความสกปรกมาสู่สังคมเรา และสังคมมุสลิมก็จะกลายเป็นผู้ที่ยืนหยัดต่อต้านกับคนไม่หวังดีทั้งหลายที่ คอยต่อต้านและกีดกันกฎหมายอิสลาม และการรณรงค์ของสังคมเพื่อถอดถอนจุฬาราชมนตรีจะไม่ประสบความสำเร็จจนกว่า เรื่องนี้จะกลายเป็นวาระหลักของสังคม และด้วยวิธีการนี้แหละที่จะสามารถเคลื่อนไหวและผลักดันประเด็นต่างๆที่จำ เป็นต้องแก้ไข หรือแม้กระทั่งอาจจะเป็นสิ่งที่บังคับให้จุฬาราชมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่ง
 
วาระการถอดถอนจุฬาราชมนตรีนั้นจำเป็นที่จะต้องดำเนินไปทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง นั่นคือต้องนำเสนอและเผยแพร่เรื่องนี้ในวงสนทนาต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงคณะกรรมการมัสยิดต่างๆ ซึ่งการกดดันที่เกิดจากเสียงประชาคมจะเป็นสิ่งที่บังคับให้บรรดาผู้ใกล้ชิด แนะนำให้จุฬาราชมนตรีลาออกจากตำแหน่ง หรืออาจจะทำให้เกิดผลที่จะบังคับให้จุฬาราชมนตรีทบทวนแก้ไขจุดยืนและความ ประพฤติของตัวท่านเอง
 
เราไม่ควรที่จะให้ปัญหาเกี่ยวกับจุฬาราชมนตรีคนปัจจุบัน ผ่านไปโดยขาดจุดยืนที่เข้มแข็งหนักแน่นจากสังคมมุสลิม เพราะการถอดถอนจุฬาราชมนตรีครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยและ อาจยังผลให้มีการร่างกฎหมายอิสลามเพื่อสังคมมุสลิมในประเทศไทย
 
สุดท้าย ข้าพเจ้าเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะยืนยันการเรียกร้องของข้าพเจ้า ที่จะถอดถอนจุฬาราชมนตรีด้วยสาเหตุที่ท่านขาดคุณสมบัติที่จะปฏิบัติหน้าที่ ในตำแหน่งนี้ และการเรียกร้องให้ถอดถอนท่านจุฬาราชมนตรีมิได้หมายถึงการสร้างความแตกแยก ความวุ่นวายในสังคมแต่อย่างใด เพราะฟิตนะฮฺ(ความวุ่นวาย)ที่แท้จริงอยู่ที่ผู้ที่นำสังคมมุสลิมไปสู่ความ เป็นญาฮิลียะฮฺ (ทั้งๆที่อิสลามถูกส่งมาเพื่อต่อต้านและทำลายสิ่งนี้) และการที่ผู้นำหรือผู้ปกครองปล่อยปละละเลยการกระทำที่เป็นการตั้งภาคี(ชิรกฺ)อย่างชัดเจนที่มุสลิมบางกลุ่มกำลังปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจุฬาราชมนตรีคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบคนแรกและคนสุด ท้ายต่อความวุ่นวายและวิกฤติต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นกับพี่น้องมุสลิมในเมือง ไทย แท้จริงการถอดถอนจุฬาราชมนตรีออกจากตำแหน่งเป็นสิ่งที่จะปกป้องสังคมมุสลิม ให้พ้นจากความวุ่นวายที่อาจสั่นคลอนเสาหลักของสังคม และในทำนองเดียวกัน ข้าพเจ้า เรียกร้องให้บรรดาอิหม่าม ผู้นำศาสนา และครูบาอาจารย์ ให้ออกมาทำหน้าที่ปราบปรามพฤติกรรมของผู้นำที่ตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เรียกร้องให้เชื่อฟังผู้นำและเมื่อมีความขัดแย้งใดๆ ก็จะเขียนบทความหรือมีถ้อยแถลงเรียกร้องประชาชนให้เชื่อฟังผู้นำ ขณะนี้ผู้นำศาสนาได้ร่วมพิธีทำชิริกอย่างชัดเจน ใครกันที่จะออกมาทำหน้าที่ประณามหรือคัดค้าน เฉกเช่นที่เคยเรียกร้องให้เชื่อฟังผู้นำหรือคนกลุ่มนี้จะนิ่งเฉยให้สังคม เข้าใจว่าการกระทำของจุฬาราชมนตรีเป็นตัวอย่างที่ควรปฏิบัติตามและเชื่อฟัง กระนั้นหรือ ข้าพเจ้าขอให้อัลลอฮฺเป็นสักขีพยานว่าข้าพเจ้าได้พูดความจริงตามบทบัญญัติ และหลักการศาสนาอิสลามแล้ว