โอ้พ่อจ๋า (ยาอะบะตี) 5

Submitted by dp6admin on Wed, 14/07/2021 - 18:42

เรียบเรียงจาก โอ้พ่อจ๋า, เชคริฎอ อะหมัด สมะดี 

มีคำพูดของอุละมาอฺที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์อิสลาม เป็นอุละมาอฺนักปฏิวัติท่านหนึ่งสมัยที่อัลจีเรียเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศส ท่านเป็นอุละมาอฺคนแรกที่ออกมาต่อสู้ฝรั่งเศส ทำญิฮาดและเป็นอุละมาอทีมีชื่อเสียงมีตำรับตำรามากมาย เขากล่าวถึงบุญคุณของบิดาที่เคยช่วยเหลืออบรมอย่างดี

يقول عبد الرحمن بن باديس : " إن الفضل يرجع أولاً إلى والدي الذي رباني تربية صالحة، ووجهني وجهة صالحة، ورضي لي العلم طريقة أتبعها، ومشرباً أرده، وقادني، وأعاشني، وبراني كالسهم، وحماني من المكاره صغيراً وكبيراً ". 

อับดุรเราะห์มาน บินบาดีส กล่าวว่า “แท้จริง ความกรุณาคุณกลับถึงบิดาของข้าพเจ้า ซึ่งอบรมข้าพเจ้าอย่างดี ชี้แนะข้าพเจ้าสู่ทิศทางที่ดีงาม เลือกแนวทางแห่งความรู้ให้ข้าพเจ้าดำรงไว้ แนะนำข้าพเจ้า เลี้ยงข้าพเจ้า ขัดเกลาข้าพเจ้าอย่างเคร่งครัด เปรียบเสมือนกบเหลาธนู และป้องกันข้าพเจ้าจากสิ่งอันตรายตอนยังเล็กจนเติบโต”

 เขาบอกว่า “ที่จริงความกรุณาบุญคุณทั้งสิ้นต้องกลับไปยังบิดาของฉัน เพราะความโปรดปราน ความดีงามที่ฉันได้รับ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง เป็นผู้รู้ ทั้งหมดนั้นต้องกลับไปยังบิดาของฉัน เพราะบิดาของฉันอบรมขัดเกลาฉันเป็นอย่างดี แนะนำชี้แนะให้ฉันยืนหยัดในแนวทางอันเที่ยงตรงอันดีงาม และยอมให้ฉันยึดในแนวทางแห่งความรู้ ให้ปฏิบัติในแนวทางแห่งความรู้  และนำฉันให้ไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง เลี้ยงฉันอย่างดี ดูแลฉันเปรียบเสมือนดูแลธนูของเขา ปกป้องฉันจากทุกสิ่งที่เป็นอันตรายตอนฉันยังมีอายุน้อยหรือได้เติบโตแล้วก็ยังดูแลฉัน”

การพูดถึงบุญคุณของบิดาของท่านและการพูดยกย่องบิดาของท่าน เป็นบทเรียนให้เรารู้ว่า ลูกที่นึกถึงบุญคุณของบิดาอย่างนี้ แสดงว่าพ่อนั้นเลี้ยงอย่างดี พ่อได้เลี้ยงเป็นอย่างดี แต่ถ้าหากว่าพ่อเลี้ยงลูกไม่ดี ศาสนาก็ไม่อบรม ความดีก็ไม่สอน ความถูกต้องก็ไม่บอก แล้วลูกจะเติบโตด้วยลักษณะแบบไหน เราต้องทบทวนว่าเราอยากจะให้ลูกหลานนึกถึงบุญคุณของเรา บรรพบุรุษที่ตั้งแนวทางอันดีงามสำหรับเรานั้น เขาได้ทำอะไรบ้างสำหรับเรา

قال ابن سحنون في كتابه آداب المعلمين عن القاضي الورع عيسى بن مسكين أنه كان يقرئ بناته وحفيداته. قال عياض: فإذا كان بعد العصر دعا ابنتيه، وبنات أخيه ليعلمهن القرآن والعلم، وكذلك كان يفعل قبله أسد بن الفرات بابنته أسماء التي نالت من العلم درجة كبيرة. 

ท่านบินซุหฺนูน รายงานในหนังสือมารยาทครูว่า 

ท่านกอฎีอีซา บินมิสกีน จะขยันสอนลูกสาวและหลานสาวของเขา ท่านกอฎี อิยาฎรายงานว่า ท่านอีซานั้น เมื่อละหมาดอัสริแล้วจะเรียกลูกสาวสองคนและหลานสาวเพื่อสอนอัลกุรอานและให้ความรู้ และท่านอะซัด อิบนุลฟุรอต ก็จะทำเช่นนั้นกับลูกสาวของท่าน อัสมาอฺ ซึ่งได้รับความรู้มากมายจากบิดาของเธอ

อิบนุ ซุกลูม  เขายกตัวอย่างในหนังสือ อะดาบ... เขาบอกว่า....อิบนุมิสกีนเป็นดาโต๊ะ(ผู้พิพากษา) ทั้งที่งานเยอะแต่เขาก็ทำหน้าที่สอนกุรอานให้กับลูกสาวและหลานสาวของเขา .....เขาจะเล่าเมื่อกอฎี...มิสกีน เมื่อละหมาดอัสริเรียบร้อยแล้วก็จะเรียกลูกสาวและหลานสาวหลังละหมาดอัสริมาสอนกุรอานและให้ความรู้ ท่าน .....เป็นอุละมาอฺทั้งหมด .........เป็นบรรดาอุลามามัซฮับมาลิกี เขาก็ดูแลอบรมหลานสาวของเชื่ออัสมาอฺ จนอัสมะฮฺ เป็นอุละมาที่มีความรู้เป็นนักวิชาการที่มีความรู้อีกท่านหนึ่ง 

นี่เป็นตัวอย่างที่จะให้เราคำนึงถึงความฉลาดของลูกหลานของเรา ให้ลูกหลานของเราปรารถนาในสิ่งที่ดี อย่าให้ลูกหลานของเราเป็นคนที่หวงดุนยา กระหายวัตถุ ให้ลูกหลานของเราเป็นคนที่มีอุปนิสัยบริสุทธิ์ เป็นคนที่เลื่อมใสกับความจริง หมายถึงว่าอะไรที่ดีงามนั้นเขาจะชอบถึงแม้ว่าจะเสียหายจะขาดทุนก็ไม่สนใจ เรื่องเงินเรื่องความสุขในดุนยานั้นไม่สนใจ 

مافي الصحيحين من حديث سهل بن سعد رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم أتي بشراب وعن يمينه غلام، وعن يساره الأشياخ، فقال للغلام:" أتأذن لي أن أعطي هؤلاء ؟" فقال الغلام : لا والله يارسول الله لاأوثر بنصيبي منك أحداً، فتله – أي وضعه – رسول الله صلى الله عليه وسلم. 

จากการบันทึกของบุคอรีย์และมุสลิม รายงานโดยท่านซะฮลุบนุซะอฺดฺ   กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้นำเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง โดยขวามือท่านจะมีเด็กคนหนึ่ง ซ้ายมือท่านจะมีผู้ใหญ่อาวุโส ท่านนบีพูดกับเด็กคนนั้นว่า ขออนุญาตให้เครื่องดื่มแก่ผู้ใหญ่ก่อนได้ไหม เด็กตอบว่า ไม่เลยครับ โอ้ร่อซูลุลลอฮฺ ส่วนที่มาจากท่าน ผมจะไม่สละสิทธิ์ให้แก่ใครทั้งสิ้น ท่านนบีก็ยอมให้เด็กก่อน

ในบันทึกของท่านอิหม่ามบุคอรีและมุสลิม รายงานโดยท่าน....(รอฎิยันลอฮุอันฮุ) ได้มีแขกเข้ามาบ้านของท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม) และมีแขกอาวุโสนั่งอยู่ซ้ายมือของท่านนบี และก็มีแขกคนหนึ่งเข้ามานั่งอยู่ด้านขวามือของท่านนบี(สิ่งนี้เป็นบทเรียนแรกแล้ว ว่าท่านนบีนั้นไม่แยกแยะใครมานั่งใกล้ก็นั่งได้เมื่อก็เด็กก็รู้ตัวและก็ต้องนั่งอย่างให้เกียรติผู้ใหญ่ นั่งอย่างสุขุม ท่านนบีก็ให้นั่ง ในเมื่อเด็กมานั่งแล้วก็นั่งอย่างสงบดีเพราะพ่อได้อบรมสั่งสอนอย่างดีแล้วเป็นมารยาท ผู้ใหญ่นั่งขวามือ มีอะไรจะมาให้แขกก็ต้องให้คนที่อยู่ขวามือ แล้วมีมารยาทอีก เมื่อมีผู้น้อยอยู่กับผู้ใหญ่ก็ต้องให้ผู้ใหญ่ก่อน แต่ของอาจารย์ศาสนาขวามือมีเกียรติมากกว่าเรื่องอายุ เพราะสวรรค์อยู่ด้านไหน ชาวสวรรค์เป็นชาวมือขวา ไม่ใช่หมายถึงว่าไปวันกิยามัตแล้วเป็นมือขวา ไม่ใช่นะ ขวามือหมายถึงบารอกัตนะเหนือกว่าเรื่องอายุ ท่านนบีก็เอาน้ำแล้วกระซิบเด็กคนนี้ บอกว่า ขออนุญาตให้ผู้ใหญ่ก่อนได้มั้ย บางคนก็บอกว่าถ้าเด็กคนนี้มีมารยาท เชิญเลยครับท่านนบี มาขออนุญาตฉันทำไม แต่นี่ไม่ใช่แล้ว เด็กนี้ฉลาดกว่าผมอีก  ผมคิดเองนะว่าถ้าผมอยู่ในสถานการณ์นั้นแล้วนบีบอกว่า ขออนุญาต ผมคงพูดไม่ออก แต่เด็กนี้บอกว่าไม่เลย (ปัจจุบันถ้าเป็นบ้านเราเด็กคงเสียคะแนนไปแล้ว) แต่ศอฮาบะฮฺที่รายงานฮะดีษได้รายงานยกย่องเด็กคนนี้ ศอฮาบะฮฺเห็นความฉลาดของเด็กคนนี้

เด็กคนนี้บอกว่า “ขอสาบาน ไม่เลยครับท่านนบี ส่วนที่มาจากท่านนั้นฉันไม่สละสิทธิให้ใครเลย” เขาคิดยังไง มันไม่ใช่เรื่องเล็กนะ  แต่ส่วนที่มาจากท่านนบีฉันไม่สละสิทธิหรอกแต่นี่มือนบีกำลังให้จะไปสละสิทธิได้ยังไงละ เป็นเกียรติประวัติ เอาไปเล่าตลอดชีวิตเลย นบีเอาน้ำมาให้ฉันก่อน จะไปสละสิทธิได้ยังไง ความฉลาดของเด็กนะแต่เด็กคงไม่คิดในแง่นี้ คิดในแง่ที่ว่า นบีได้ให้เกียรติเขาขนาดนี้  แล้วมาขออนุญาตเด็ก แล้วเด็กจะไม่รับเกียรติจากนบีได้ยังไง นี่คือเรื่องที่เราต้องเข้าใจ 

เรื่องผลบุญเหมือนกัน ผมเคยเตือนพี่น้องที่มาละหมาดซ็อฟแรก ท่านนบีบอกว่าคนที่มาละหมาดซ็อฟแรกและคนที่ยืนขวาของอิหม่ามมือมลาอิกะฮฺจะขอดุอาอฺละซอละวาตให้  อิหม่ามทำอ่ะนะมันจะมีซบแรกแล้วก็จะมีทำซบใหม่แล้ว อย่างคนที่มีซบหลังถ้าเป็นผู้รู้เชิญไปซอบแรก เรื่องผลบุญนะ เราอย่าสละสิทธิ์ ซบแรกนะครับทุกคนมีสิทธิ์ยืนหลงอิหม่าม ยกเว้นกรณีเดียว ถ้าอิหม่ามสั่งให้ถอยและอิหม่ามมีสิทธิด้วยเหตุผลให้คนที่ยืนหลังอิหม่ามเป็นผู้ใหญ่เป็นผู้รู้ เป็นคนที่ท่องจำกุรอาน มีความรู้เกี่ยวกับหลักการละหมาด เพราะถ้าละหมาดผิจะได้มีคนทัก ถ้าคนไม่มีความรู้มายืนหลังอิหม่ามทั้งหมดเลย แล้วผู้รู้ไปยืนข้างหลัง เพราะถ้าคนที่ไม่มีความรู้มาเร็วหน่อยมาจองที่ก่อน หรือผู้รู้มาช้าหน่อย มาทีหลังเวลาละหมาดผิดก็ไม่มีใครทัก เสร็จกันเลย อิหม่ามมีสิทธินะครับ อันนี้เป็นกรณีเดียว แต่ถ้าอิหม่ามไม่สั่งละ แต่ไปเอา ไปร่างกฎหมายจากรัฐสภาถ้าไม่เชื่อ ฉันไม่ถอย สิทธิของฉันนะ อัลลออฮให้ผลบุญ มลาอิกะฮฺจะขอดุอาอฺจะไปที่ไหนละ จะไปจ้างมลาอิกะฮฺที่ไหนละ มีแต่ดุอาอฺฟรี เด็กก็บอกว่า ส่วนที่มาจากท่านนบีฉันไม่สละสิทธิเป็นอันขาด