ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 57 (หะดีษที่ 13/2)

Submitted by dp6admin on Fri, 28/06/2019 - 15:05
หัวข้อเรื่อง
ส่วนหนึ่งของอีมานที่วาญิบต้องประพฤติปฏิบัติ(ทุกคนต้องมี) คือชอบให้พี่น้องมุสลิมได้ในสิ่งที่เราอยากได้
การที่เราอยากได้คนเดียว ไม่อยากให้คนอื่นได้ นั่นคือการอิจฉาริษยา
มุหฺซิน - มุอฺมิน - มุสลิม
สถานที่
บ้านทองทา บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
วันที่ 23 ญุมาดัลอูลา 1431
วันที่บรรยาย
ขนาดไฟล์
9.60 mb
ความยาว
81.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด
จากอบูฮัมซะฮฺ (อะนัส บินมาลิก) เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ  ผู้รับใช้ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า “การศรัทธาของคนหนึ่ง ๆ ไม่สมบูรณ์ จนกว่าเขาจะรักให้พี่น้องของเขา (มุสลิมด้วยกัน) ได้รับเช่นเดียวกับที่ตัวของเขาเองรักที่ได้รับ”  หะดีษนี้บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม

مِن جملة خِصال الإيمانِ الواجبةِ أنْ يُحِبَّ المرءُ لأخيه المؤمن ما يحبُّ لنفسه

ส่วนหนึ่งของอีมานที่วาญิบต้องประพฤติปฏิบัติ(ทุกคนต้องมี)  คือชอบให้พี่น้องมุสลิมได้ในสิ่งที่เราอยากได้

•     والمقصودُ أنَّ مِن جملة خِصال الإيمانِ الواجبةِ أنْ يُحِبَّ المرءُ لأخيه المؤمن ما يحبُّ لنفسه ، ويكره له ما يكرهه لنفسه ،

ส่วนหนึ่งของอีมานที่วาญิบต้องประพฤติปฏิบัติ(ทุกคนต้องมี) คือ ชอบให้พี่น้องมสุลิมได้ในสิ่งที่เราอยากได้
- การสะสมผลบุญ บางทีก็ไม่ได้ผลบุญ เช่น ทำอิบาดะฮฺโดยไม่มีความรู้ ทำเพราะคิดว่ามีผลบุญ, มีความรู้ แต่ไม่รู้ลำดับของอิบาดะฮฺ (เช่น ทำดีกับภรรยา แต่ไม่ดูแลพ่อแม่ ฯลฯ)
- มุอฺมินคนหนึ่งจะต้องชอบให้พี่น้องมุอฺมินได้ในสิ่ง(ดี)ที่ตนเองก็อยากได้, และจะรังเกียจ(ไม่ชอบ)ให้พี่น้องมุอฺมินจะประสบกับสิ่งที่ตนเองไม่อยากประสบ,

فإذا زالَ ذلك عنه ، فقد نَقَصَ إيمانُهُ بذلك . وقد رُوِيَ أنَّ النَّبيَّ - قال لأبي هريرة : (( أَحِبَّ للنَّاسِ ما تُحبُّ لنفسِك تكن مسلماً )) خرَّجه الترمذي وابن ماجه .

นั่นน่ะ ถ้ามันหายไปจากจิตสำนึกของเรา อีมานวาญิบ(ที่ต้องมี)มันก็จะหาย
มีรายงานว่า ท่านนบีกล่าวกับอบูฮุร็อยเราะว่า "จงรักให้แก่มนุษย์ทั้งหลายในสิ่งที่ตนเองรัก(ชอบ) ถ้าท่านเป็นเช่นนั้นแล้ว ท่านจะเป็นมุสลิม"

มุหฺซิน - มุอฺมิน - มุสลิม

•     وخرَّج الإمام أحمد من حديث معاذٍ : أنَّه سألَ النَّبيَّ  - عن أفضلِ الإيمان ، قال : (( أفضلُ الإيمانِ أنْ تُحِبَّ للهِ وتُبغِضَ للهِ ، وتُعْمِلَ لسانَك في ذكر الله )) ، قال : وماذا يا رسول الله ؟ قال : (( أنْ تُحِبَّ للنَّاس ما تُحبُّ لنفسك ، وتكرَه لهم ما تكرهُ لنفسك ، وأنْ تقول خيراً أو تَصْمُت )) .

มุอ๊าซถามท่านนบีว่า อะไรคืออีมานที่ประเสริฐที่สุด
ท่านนบีตอบว่า อีมานที่ประเสริฐยิ่ง คือการที่ท่านรักเพื่ออัลลอฮฺ โกรธเพื่ออัลลอฮฺ, บังคับลิ้นให้ซิกรุลลอฮฺอยู่เสมอ
มุอ๊าซถามว่า แล้วอะไรอีกล่ะครับ ?
ท่านนบีกล่าวว่า "การที่ท่านชอบให้มนุษย์ผู้อื่นประสบได้สิ่งที่ตนเองอยากได้, และไม่ชอบให้เขาเหล่านั้นประสบ(ได้)ในสิ่งที่เราไม่ชอบ, และให้ท่านกล่าวสิ่งที่ดีงาม ไม่เช่นนั้นก็นิ่งเสีย"

อิบนุเราะญับ "หะดีษนี้บอกว่าความประเสริฐยิ่งของอีมานคือชอบให้คนอื่นได้ในสิ่งที่เราชอบ(อยากได้) การเข้าสวรรค์ก็ขึ้นอยู่กับประเด็นนี้เหมือนกัน"

وقد رتَّب النَّبيُّ - دخولَ الجنَّة على هذه الخَصْلَةِ ؛ ففي " مسند الإمام أحمد "   عن يزيد بن أسدٍ القَسْري ، قال : قال لي رسول الله - : (( أتحبُّ الجنَّةَ )) قلت : نعم ، قال : (( فأحبَّ لأخيكَ ما تُحبُّ لنفسك )) .

ยะซีดกล่าวว่า "ท่านนบีถามฉันว่า เจ้าชอบสวรรค์มั้ย ?" ฉันตอบว่า "ชอบ"
ท่านนบีกล่าวว่า "(ถ้าท่านชอบเข้าสวรรค์) จงชอบให้พี่น้องของท่านได้ในสิ่งที่ท่านอยากได้"

•     وفي " صحيح مسلم "  من حديث عبد الله بن عمرو بن العاص ، عن النَّبيِّ - قال : (( مَنْ أحبَّ أنْ يُزَحْزَحَ عن النَّارِ ويُدخَلَ الجنة فلتدركه منيَّتُه وهو يؤمنُ باللهِ واليومِ الآخرِ ، ويأتي إلى الناسِ الذي يحبُّ أنْ يُؤْتَى إليه ))

ท่านนบีกล่าวว่า "ใครชอบที่จะหลีกเลี่ยง(หันห่าง)จากไฟนรก และถูกนำเข้าสวรรค์ไป ก็จงอยู่ในสภาพที่เมื่อความตายมายังเขาแล้ว เขาเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก และปฏิบัติต่อมนุษย์ทั้งหลายในสิ่งที่ตนเองอยากให้มนุษย์ปฏิบัติกับเขา"

•     وفيه أيضاً عن أبي ذرٍّ ، قال : قال لي رسول الله : (( يا أبا ذرٍّ ، إني أراكَ ضعيفاً ، وإني أحبُّ لك ما أُحبُّ لنفسي ، لا تَأَمَّرَنَّ على اثنين ، ولا تولَّينَّ مالَ يتيم )) . وإنَّما نهاه عن ذلك ، لما رأى من ضعفه ، وهو - يحبُّ هذا لكلِّ ضعيفٍ ، وإنَّما كان يتولَّى أمورَ النَّاسِ ؛ لأنَّ الله قوَّاه على ذلك ، وأمره بدعاء الخَلْقِ كلِّهم إلى طاعته ، وأنْ يتولَّى سياسةَ دينهم ودنياهم .

อบูซัร อัลฆิฟารี กล่าวว่า "ท่านนบีกล่าวกับฉันว่า อบูซัรเอ๋ย ฉันเห็นท่านเป็นคนอ่อนแอ และฉันชอบให้ท่านได้ในสิ่งที่ฉันอยากได้ ดังนั้น ท่านจงอย่าเป็นอมีร(ผู้นำ)ให้แก่คน แม้แต่สองคน, และเจ้าอย่าเป็นคนที่ดูแลทรัพย์สินของยะตีม(เด็กกำพร้า)เลย"

وقد رُوِيَ عن عليٍّ قال : قال لي النَّبيُّ - : (( إنِّي أرضى لك ما أرضى لِنفسي ، وأكره لك ما أكرهُ لنفسي ، لا تقرأ القرآن وأنتَ جنبٌ ، ولا وأنتَ راكعٌ ، ولا وأنت ساجد ))

ท่านนบีบอกกับท่านอะลีว่า - ฉันรักที่จะให้ท่านได้รับเช่นเดียวกับที่ฉันได้ ดังนั้นอย่าอ่านอัลกุรอานขณะมีญะนาบะฮฺ และอย่าอ่านขณะรุกัวะ และขณะสุญูด
ข้อห้ามสำหรับผู้มีญะนาบะฮฺ (อ่านกรุอาน?, เข้ามัสญิด/มุศ็อลลา ได้มั้ย?)

•     وكان محمَّدُ بنُ واسعٍ يبيع حماراً له ، فقال له رجل : أترضاه لي ؟ قال : لو رضيته لم أبعه ، وهذه إشارةٌ منه إلى أنَّه لا يرضى لأخيه إلاَّ ما يرضى لنفسه ، وهذا كلُّه من جملة النصيحة لعامة المسلمين التي هي مِنْ جملة الدين كما سبق تفسيرُ ذلك في موضعه .

มุฮัมมัด อิบนุวาสิอฺ เอาลาไปขาย คนที่จะซื้อถามว่า ท่านพอใจจะขายให้ฉันไหม ? มุฮัมมัดตอบว่า ถ้าฉันพอใจในลาตัวนี้ ฉันไม่ขายหรอก เป็นตัวอย่างของการบริสุทธิ์ใจต่อมุสลิมทั่วไปและทำหน้าที่ในการนะศีหะฮฺพี่น้องมุสลิม

การให้คนอื่นได้ในส่ิงที่เราอยากได้เป็นขั้นต่ำที่สุด ที่ดีกว่าคืออยากให้คนอื่นได้ในสิ่งที่ดีกว่าที่เราได้

WCimage
หะดีษที่ 13/2 ความรักต่อพี่น้องมุสลิม