
วิธีต้อนรับเดือนรอมฎอน 1
โดย ชัยคฺริฎอ อะหมัด สมะดี
วิธีที่ 1 إظهار السُّرُوْرُ
แสดงความปลื้มใจเนื่องในโอกาสต้อนรับเดือนรอมฎอน

ความว่า : เดือนรอมฎอนมายังพวกท่านแล้ว เดือนรอมฎอนเป็นเดือนอันมีความจำเริญยิ่ง อัลลอฮฺทรงบัญญัติให้พวกท่านถือศีลอดในเดือนนี้ ประตูต่างๆของสวรรค์จะถูกเปิด และประตูต่างๆของนรกจะถูกปิด (บันทึกโดยอิมามอะหมัด)
บรรดาอัสสะละฟุศศอและฮฺจะแสดงความดีใจ และเอาใจใส่ในการต้อนรับเดือนรอมฎอน เพราะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธา ที่จะปิติยินดีเมื่อมีโอกาสกระทำความดี อันเป็นหนทางสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
ความว่า : จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และด้วยความเมตตาของพระองค์ดังกล่าวนั้น พวกเจ้าจงดีใจเถิด ซึ่งมันดียิ่งกว่าสิ่งที่พวกเขาสะสมไว้ (ยูนุส 58)
แต่สำหรับผู้ที่มีอีมานอ่อนแอ รักใคร่ความชั่ว ย่อมจะเสียใจเมื่อเข้าสู่เดือนรอมฎอน เพราะเป็นเวลาที่พวกเขาจะรังเกียจ เนื่องจากเป็นอุปสรรคมิให้พวกเขากระทำความชั่ว อาทิเช่น ผู้ที่ติดอบายมุขและไม่สามารถเลิกได้ ก็จะเห็นเดือนรอมฎอนเป็นเวลาแห่งความทรมาน หรือเป็นสิ่งที่ขัดขวางทำลายความสุขของเขา เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องปรับจิตใจ ขัดเกลาอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขา และตระหนักในโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงประทานมาในเดือนรอมฎอน เพื่อแสวงหาความอภัยโทษ และฉวยโอกาสนี้ในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาให้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอิสลาม
วิธีที่ 2 الشُّكْرُ وَالعَزِيْمَةُ عَلَى الطَّاعَةٍ فِيْ رَمَضَان
การขอบคุณและตั้งใจทำความดีในเดือนรอมฎอน
ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์อัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานชีวิตและสุขภาพที่ดีจนมีโอกาสเข้าสู่เดือนรอมฎอนและทำอิบาดะ ฮฺอีกปีหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเกียรติอันล้ำค่าที่บ่าวของพระองค์ได้รับโอกาส ถวายความดีในเดือนอันประเสริฐนี้
ความว่า : บางทีผู้ถือศีลอดนั้น ส่วนได้ของเขาจากการถือศีลอดของเขาก็คือ ความหิวและความกระหายเท่านั้น (บันทึกโดยอิบนฺมาญะฮฺและอะหมัด)
มุสลิมบางคนก็ยังไม่เข้าใจเป้าหมายแห่งการถือศีลอด หรือเป้าหมายของศาสนบัญญัติที่กำหนดให้ในหนึ่งปีมีเดือนหนึ่งอันเป็นเทศกาล แห่งคุณธรรมและจริยธรรม เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นสำหรับเขาที่จะต้องพยายามทำความเข้าใจเดือนรอมฎอนให้ มากที่สุด เพื่อที่จะปรับปรุงอุปนิสัยและมารยาทของตน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเดือนอันประเสริฐนี้
ในสังคมมุสลิมของเรามักจะมีบุคคลที่กมลสันดานของเขาชั่วช้าอย่างยิ่ง กระทำความผิดโดยไม่มีขอบเขต ละเมิดหลักการอย่างไม่จำกัด ท้าทายความดีแบบไม่มีความละอาย และอาจจะมีส่วนหนึ่งจากบุคคลจำพวกนี้ ที่ยังไม่รู้สึกตัวว่ามีความเลวขนาดนี้ บุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องรับสารภาพกับตัวเองเสียก่อน ที่จะแสวงหาประโยชน์จากเดือนรอมฎอน เพราะการถือศีลอดหรือการทำบุญย่อมจะไม่มีผลในชีวิตของเขา ดังที่มันปรากฏกับพวกเขาตลอดชีวิต แม้จะถือศีลอดเดือนรอมฎอนมาเป็นสิบๆปี และยังมีการบริจาค ทำอุมเราะฮฺ ทำฮัจย์ แต่หาได้ยังผลต่อมารยาทจริยธรรมของเขาไม่ บุคคลเหล่านี้แหละที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า จะไม่ได้อะไรนอกจากความหิวความกระหายเท่านั้น นอกเสียจากว่าพวกเขาจำเป็นต้องมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ เพื่อ ที่จะประสบความสำเร็จกับเดือนรอมฎอน ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงประทานความเตาฟีกฮิดายะฮฺ และความสำเร็จแก่พี่น้องทุกท่านด้วยเทอญ
การตั้งใจกระทำความดีในเดือนรอมฎอน หาใช่เพียงการคิดฝันหรือความหวังอย่างเดียวไม่ แต่จะต้องมีการวางแผนอย่างละเอียด และเตรียมมานะ(อะซีมัต)ให้เข้มข้น เพื่อจะได้มีความพร้อมสำหรับเดือนรอมฎอน เพราะชาวอาคิเราะฮฺจะวางแผนเพื่อโลกหน้า ดังเช่นชาวดุนยาที่มักจะวางแผนเพื่อโลกนี้ ตัวอย่างในการวางแผนในเดือนรอมฎอนคือ การจัดตารางทำอิบาดะฮฺ ทำความดี จะทำกี่ชนิดกี่อย่าง และจัดการบริหารเวลาในเดือนนี้อย่างมีระบบ
ผู้ศรัทธาควรต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการทำสัญญากับอัลลอฮฺ ให้พระองค์ทรงโปรดเอื้ออำนวยให้เราสามารถปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างจริงใจ และปฏิบัติตามคำมั่นสัญญานี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะพระองค์ทรงสัญญาไว้ว่า
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยพูดกับสาวกท่านหนึ่งว่า
ที่มา : หนังสือ การถือศีลอดตามบัญญัติอิสลาม, อาจารย์อะหมัด สมะดี ร่อหิมะฮุลลอฮฺ
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 544 views