หะดีษที่ 31-40 การซิกรุลลอฮฺ, ดุอาอฺ, กล่าวสลาม, ละหมาด, เศาะละวาต, การขออภัยโทษ

Submitted by dp6admin on Fri, 07/12/2018 - 16:14

หะดีษที่ 31  الحديث الحادي والثلاثون

 ألا أعلِّمُكَ كلماتٍ إذا قلتَهنَّ غفرَ اللهُ لك ، وإن كنتَ مغفوراً لك ؟ قل:
لا إله إلا اللهُ العليُّ العظيمُ ، لا إله إلا الله الحكيمُ الكريمُ ، لا إله إلا الله سبحان اللهِ ربِّ السَّمواتِ السَّبعِ وربِّ العرشِ العظيمِ ، الحمدُ لله ربِّ العالمينَ . صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “อยากให้ฉันสอนท่านหรือไม่ซึ่งถ้อยคำที่ถ้าท่านได้กล่าวไว้ อัลลอฮฺจะให้อภัยโทษกับท่านอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าอัลลอฮฺให้อภัยโทษแล้ว อัลลอฮฺก็จะให้อภัยโทษอีก
จงกล่าวว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงให้อย่างใจบุญ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ ซึ่งเป็นพระผู้อภิบาลแห่งชั้นฟ้าทั้งเจ็ด และเป็นพระผู้อภิบาลแห่ง พระบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ การสรรเสริญทั้งปวงเป็นกรรมสิทธิ์ แห่งอัลลอฮฺ ผู้เป็นพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก”

หะดีษที่ 32 الحديث الثاني والثلاثون

 إنَّ موجبات المغفرةِ بذلَ السَّلامِ ، وحسُنَ الكلامِ .   
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “แท้จริง สิ่งที่จะทำให้มีการให้อภัยโทษ คือ การให้สลามซึ่งกันและกันอย่างมากมาย และถ้อยคำที่ดี”

 

หะดีษที่ 33 الحديث الثالث والثلاثون

طوبى لمنْ وجَدَ في صحيفتِهِ استِغفاراً كثيراً.
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ฏูบา สำหรับผู้ที่พบในสมุดบันทึกของเขา (วันกิยามะฮฺ) ซึ่งการขออภัยโทษมากมาย”

    ฏูบา(طوبى) หมายถึง ความรอด ความปลอดภัย ส่วนอีกความหมายหนึ่ง คือ ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ในหะดีษนี้ท่านนบี   กล่าวว่าหมายถึง เข้าสวรรค์

หะดีษที่ 34  الحديث الرابع والثلاثون

 من أكل طعاماً ثم قال: الحمد لله الذي أطعمني هذا الطَّعام ، ورزقَنيه من غير حولٍ منِّي ولا قوةٍ ، غُفِرَ له ما  تقدم من ذنْبِه ، ومن لَبِسَ ثوباً
فقال : الحمد لله الذي كساني هذا ، ورزقَنيه من غير حولٍ مني ولا قوةٍ غُفِرَ له ما تقدَّم من ذنْبِه وما تأخر.
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดที่รับประทานอาหารเสร็จแล้วกล่าว “การสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงประทานอาหารนี้ให้แก่ฉัน ผู้ทรงให้ปัจจัยยังชีพนี้ให้แก่ฉัน โดยที่ฉันไม่มีอำนาจ ไม่มีพลังใดๆ เลย” อัลลอฮฺจะให้อภัยโทษความผิดที่ได้กระทำในอดีต
และผู้ใดที่สวมเสื้อผ้าและกล่าวว่า “การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงให้ฉันสวมชุดนี้ได้ และให้ปัจจัยยังชีพนี้แก่ฉัน โดยที่ฉันไม่มีอำนาจ ไม่มีพลังใดๆ เลย” อัลลอฮฺจะให้อภัยโทษความผิดที่ได้กระทำในอดีตและอนาคต”
 

หะดีษที่ 35 الحديث الخامس والثلاثون

 من استَغْفرَ للمؤمنينَ والمؤمناتِ ، كتبَ الله له بكلِّ مُؤمنٍ ومؤمنةٍ حسنة . 
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดที่ขออภัยโทษแก่ผู้ศรัทธาชายและหญิง อัลลอฮฺจะบันทึกให้แก่เขาสำหรับมุอฺมินและมุอฺมินะฮฺหนึ่งความดีต่อทุกคนที่เขาขอดุอาอฺให้”

    หากเราขอดุอาอฺให้มุอฺมินีนและมุอฺมินาตทั่วโลก มีกี่พันล้านก็ได้ตามนั้น ยิ่งระบุชื่อก็ยิ่งได้คะแนนมากขึ้น ดังที่เราศึกษามาแล้ว ขอดุอาอฺให้ใครแค่ไหน ก็มีมลาอิกะฮฺที่จะกล่าวว่า และท่านก็ได้ด้วย อย่าตระหนี่ในการขอดุอาอฺ ขอให้พี่น้องมุสลิมีนและมุสลิมาตทั้งหมดก็เป็นการดี เป็นการแสวงหาผลบุญอีกอย่างหนึ่งให้แก่พวกเรา
 

หะดีษที่ 36  الحديث السادس والثلاثون

ما من عبدٍ يسجد لله سجدةً إلا كتب الله له بها حسنةً، وحط عنه بها سيئةً ، ورفع له بها درجة ، فاستكثروا من السجود.
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย ไม่มีบ่าวของอัลลอฮฺคนหนึ่งคนใดที่จะสุญูด กราบให้แก่อัลลอฮฺครั้งเดียว เว้นแต่อัลลอฮฺจะให้การสุญูด การกราบของเขาถูกบันทึกให้เป็นคะแนน 1 ฮะซะนะฮฺ (หมายถึงการสุญูดครั้งหนึ่งนับเป็น 1 ฮะซะนะฮฺ) ลบล้างด้วยการสุญูดนั้น ความผิดอย่างหนึ่งและยกตำแหน่งให้แก่เขาหนึ่งขั้น (หมายถึงตำแหน่งหมู่ชนผู้ศรัทธาที่มีคุณธรรม) ดังนั้นพวกท่านจงสุญูดให้มากเถิด(หมายถึงให้ละหมาดมากๆ)”

หะดีษที่ 37 الحديث السابع والثلاثون

من صلى الفجر في جماعةٍ ، ثم قعد يذكر الله حتى تطلع الشمس ، ثم صلى ركعتين ،  وعمرةٍ تامةٍ ، تامةٍ ، تامة . صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ใครก็ตามที่ละมาดฟัจญรฺในญะมาอะฮฺ และนั่งซิกรุลลอฮฺ (สรรเสริญต่ออัลลอฮฺ) จนกระทั่งตะวันขึ้น   แล้วเขาก็ได้ละหมาดสองร็อกอะฮฺ (จะได้รับผลบุญเท่ากับ)การทำอุมเราะฮฺอย่างสมบูรณ์, อย่างสมบูรณ์, อย่างสมบูรณ์” 

หะดีษที่ 38 الحديث الثامن والثلاثون

أفضلُ الصلوات عند الله صلاةُ الصبح يوم الجمعة في جماعة.  السلسلة الصحيحة 4/1566

ความหมาย “การละหมาดที่ประเสริฐยิ่ง ณ ที่อัลลอฮฺ คือการละหมาดซุบฮิในวันศุกร์ในญะมาอะฮฺ”  

หะดีษที่ 39 الحديث التاسع والثلاثون

أَلَا أَدُلُّكَ عَلَى مَا هُوَ أَكْثَرُ مِنْ ذِكْرِكَ اللهَ اللَّيْلَ مَعَ النَّهَارِ؟ تَقُوْلُ: الْحَمْدُ لِلَّهِ عَدَدَ مَا خَلَقَ ، الْحَمْدُ لِلَّهِ مِلْءَ مَا خَلَقَ ، الْحَمْدُ لِلَّهِ عَدَدَ مَا فِي السَّمَوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ ، الْحَمْدُ لِلَّهِ عَدَدَ مَا أَحْصَى كِتَابُهُ ، وَالْحَمْدُ لِلَّهِ عَدَدَ كُلِّ شَيْءٍ ، وَالْحَمْدُ لِلَّهِ مِلْءَ كُلِّ شَيْءٍ ، وتُسَبِّحُ اللهَ مِثْلَهُنَّ. تَعَلَّمْهُنَّ وعَلِّمْهُنَّ عَقِبَكَ مِنْ بَعْدِكَ .
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “อยากให้ฉันบอกท่านไหมถึงสิ่งที่ดีเลิศกว่าการสรรเสริญอัลลอฮฺตลอดวันตลอดคืน ท่านจงกล่าว  มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น เท่าจำนวนสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง, มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น เท่ากับการบรรจุสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้จนเต็ม, มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น เท่าจำนวนสรรพสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน,

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น เท่ากับสิ่งต่าง ๆ ที่อัลลอฮฺทรงคำนวณไว้ในสมุดจารึกของพระองค์, มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น เท่ากับจำนวนของทุกสิ่งทุกอย่าง, มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น เท่ากับขนาดของทุกสิ่งทุกอย่าง และท่านจงกล่าวตัสบีหฺเหมือนสำนวนนั้น ท่านจงศึกษาบทสรรเสริญนี้ และจงสอนให้แก่บุตรหลานของท่านต่อไป”

หะดีษที่ 40 الحديث الأربعون

مَنْ صَلَّى عَليَّ حِيْنَ يُصْبَحُ عَشْراً ، وَحِيْنَ يُمْسِيْ عَشْراً أَدْرَكَتْهُ شَفَاعَتِيْ يَوْمَ الْقِيَامَة .

صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดกล่าวศ่อละวาตแด่ฉัน 10 ครั้งในยามเช้าและ 10 ครั้งในยามเย็น แน่นอนการช่วยเหลือของฉันจะประสบกับเขาในวันกิยามะฮฺ”

    นี่คือซุนนะฮฺของท่านนบี   กิจวัตรของท่านเกี่ยวกับจริยธรรมที่มุอฺมินต้องมีในการดำเนินชีวิต โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ผลบุญจากพระผู้เป็นเจ้า และความสวยงามแห่งมารยาทที่มุสลิมต้องปฏิบัติกับตัวเองและผู้อื่น มองถึงความสำคัญในการปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างเคร่งครัด หะดีษ 40 บทนี้เกี่ยวกับซุนนะฮฺที่ชอบให้กระทำ แต่ที่เป็นวาญิบต้องปฏิบัติอยู่แล้ว สุดท้ายนี้ ขอให้พี่น้องทุกท่านมีพลังทางจิตใจในการที่จะยืนหยัดปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านนบี   ตลอดไป
 


ที่มา : หนังสือ 40 ซุนนะฮฺจากหะดีษที่น่าปฏิบัติ, เชคริฎอ อะหมัด สมะดี