1. เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าจะรับประทานอาหาร ก็จงกล่าวว่า
بِسْمِ اللهِ “ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ”
ถ้าหากว่าเขาลืมกล่าวในตอนต้น แล้วมานึกขึ้นได้ในขณะกำลังรับประทานอยู่ ก็จงกล่าวว่า
بِسْمِ اللهِ فِيْ أَوَّلِهِ وَآخِرِهِ
“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺในตอนเริ่มแรกและในตอนสุดท้าย” (ศ่อเฮียะฮฺอัตติรมิซียฺ 2/167)
2. เมื่อเสร็จสิ้นจากการรับประทานอาหารแล้ว “ผู้ใดรับประทานอาหารเสร็จแล้วกล่าวว่า
الحَمْدُ للهِ الَّذِيْ أَطْعَمَنِيْ هَذَا الطَّعَامَ وَرَزَقَنِيْهِ مِنْ غَيْرِ حَوْلٍ مِنِّيْ وَلا قُوَّة .
حسن ، صحيح سنن أبي داود
ความว่า “การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺผู้ซึ่งประทานอาหารนี้ให้แก่ข้าพระองค์ และประทานริซกีนี้ให้แก่ข้าพระองค์ โดยไม่มีอำนาจและพลังใด ๆ จากข้าพระองค์เลย” เขาจะได้รับอภัยโทษจากความผิดของเขาในอดีต” หะดีษหะซัน (ศ่อเฮียะฮฺสุนันอะบีดาวู้ด 2/760)
3. เมื่อมีผู้รับเชิญหรือแขกรับประทานอาหารเสร็จแล้ว สมควรขอดุอาอฺให้แก่เจ้าภาพว่า
اللَّهُمَّ بَارِكْ لَهُمْ فِيْمَا رَزَقْتَهُمْ وَاغْفِرْ لَهُمْ وَارْحَمْهُمْ . رواه مسلم .
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงประทานความศิริมงคลให้แก่พวกเขาในสิ่งที่พระองค์ได้ประทานปัจจัยยังชีพให้แก่พวกเขา และขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา และทรงประทานความเมตตาให้แก่พวกเขา” บันทึกโดยมุสลิม
4. ดุอาอฺของผู้ถือศีลอดเมื่อได้รับเชิญขณะละศีลอด สมควรกล่าวดุอาอฺนี้
أَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُوْن وَأَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَارُ وَتَنَزَّلَتْ عَلَيْكُمُ الْمَلاَئِكَةُ
رواه أحمد وصححه الألباني
5. ดุอาอฺของผู้ถือศีลอดขณะละศีลอดคือ
ذَهَبَ الظَّمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوْقُ ، وَثَبَتَ الأَجْرُ إِنْ شَاءَ اللهُ .
ความว่า “ความกระหายได้สูญสิ้นไป เส้นโลหิตได้ชุ่มชื่น และจะได้รับผลบุญอย่างแน่นอน อินชาอัลลอฮฺ” หะดีษหะซัน ในศ่อเฮี้ยะฮฺอะบีดาวู้ด
ที่มา : คู่มือซิกรุลลอฮฺและดุอาอฺประจำวัน, อาจารย์อะหมัด สมะดี ร่อหิมะฮุลลอฮฺ
- Log in to post comments
- 763 views