الربانية (อัรร็อบบานียะฮฺ)

Submitted by admin on Sun, 22/11/2015 - 11:33

الربانية (อัรร็อบบานียะฮฺ) คือสิ่งที่ตรงข้ามกับชิริกหรือการตั้งภาคีที่อัลลอฮฺได้ทรงห้ามไว้โดยผ่านการเผยแพร่ของบรรดารอซูลทั้งหลาย และมันยังเป็นเสาหลักของอะกีดะฮฺที่ได้กล่าวมาแล้ว

และคำว่า الربانية นั้นมาจากคำศัพท์ภาษาอาหรับว่า ربان السفينة (อ่าน ว่า รุบบาน อัซซะฟีนะฮฺ) หรือผู้ควบคุมเรือ (ตามที่ท่านอิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีได้ยืนยันระบุไว้)ซึ่งก็คือผู้นำของเรือ และผู้นำนั้นจำเป็นต้องมีการต่อสู้ การเคลื่อนไหว และการเสียสละ ถ้ามิเช่นนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำตั้งแต่ต้น ซึ่งอายะฮฺที่ได้กล่าวมานั้นได้ระบุถึงการศึกษาและสั่งสอนอัลกุรอ่านอันเป็นพื้นฐานและที่มาของความรู้ต่างๆ

การมี الربانية ในการอบรมสั่งสอนนั้นเป็นวิธีการเดียวที่จะปลุกเร้าและกระตุ้นเยาวชนคนหนุ่ม สาวในทุกที่เพื่อจะนำประชาชาติไปสู่ความก้าวหน้าและความสำเร็จต่างๆ

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าความพยายามด้านการศึกษาที่ไม่ให้ความสำคัญกับสามสิ่งดัง กล่าวนั้นต้องประสบกับความล้มเหลวอย่างแน่นอน และนำไปสู่การสูญเสียของกำลังและเวลาโดยเปล่าประโยชน์ จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่มีบทบาทและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาจำเป็นต้องคิดตึกตรองอย่างละเอียดรอบคอบถึงสิ่งต่างๆข้างต้นดังกล่าว

และในบทความนี้เราจะพยายามที่จะอธิบายเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพื่อที่จะให้เกิดการสร้างสรรค์ที่สมบูรณ์ถูกต้องตามแนวทางฮิดายะฮฺของอัลลอฮฺตะอาลา ซึ่งแท้จริงแล้วอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงตรัสสัจธรรมและผู้ทรงชี้ทางนำ และสิ่งที่ได้กล่าวมาเป็นลำดับทั้งหมดข้างต้นนั้นทำให้ขบวนการตื่นตัวของอิส ลามถึงเวลาแล้วที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญและเอาจริงเอาจังต่อการศึกษาแบบ  الربانية (หรือการศึกษาแบบผูกพันกับอัลลอฮฺ)

และเนื่องจากปัจจุบันเรากำลังเผชิญปัญหา “การมีแต่จำนวนแต่ขาดซึ่งคุณภาพ” ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากที่เราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ และพัฒนากลุ่มเยาวชนที่มีศักยภาพ ตลอดจนเพิ่มความสามารถของเยาวชนคนหนุ่มสาวให้มากขึ้น ซึ่งในการเผชิญหน้ากับสงครามทางอารยธรรมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องรวบรวมสรรพกำลังทั้งหมดเพื่อกำจัดพันธุกรรมแห่งความล้มเหลวหรือสาเหตุของความล้มเหลว และอุปสรรคต่างๆรวมทั้งคุณสมบัติด้อย(ข้อบกพร่อง)ที่ทำให้ขบวนการตื่นตัวของ ประชาชาติต้องถูกฝังจมลงในแผ่นดิน และปิดกั้นพวกเขามิให้ต่อสู้ด้วยความมั่นใจศรัทธา

และถ้าเราต้องการให้การศึกษาประสบความสำเร็จ จำเป็นที่เราต้องทำให้การศึกษานั้นมีรากฐานอันหนักแน่นอยู่บนพื้นฐานของการรู้จริง ซึ่งเราหมายถึงหลักการศึกษาที่มีแนวทางหลักสูตรที่ชัดเจนไม่ใช่เป็นแต่เพียงการทดลองหรือทำตามอารมณ์ความรู้สึกของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับอัลวะฮฺยิ (الوحي) หรือสิ่งที่ถูกบัญญัติมาจากอัลลอฮฺ และตามแนวทางของผู้ที่ปราศจากความผิดพลาด(คือท่านนบีมุฮัมมัด  นั่นเอง) และภายใต้การนำของผู้นำที่มีสัจธรรมและใช้หลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ

บางครั้งนั้นเราอาจใช้ความเคยชินหรือการปฏิบัติที่เป็นประจำเอาไปใช้ในระบอบการศึกษา ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอดคล้องกับหลักฐานทางศาสนา เพราะอิสลามห้ามมิให้มีการต่อสู้หรือการเคลื่อนไหวใดๆ เว้นแต่จะมีสาเหตุและหลักฐานอันชัดแจ้งเหมือนกับการปฏิบัติอิบาดะฮฺที่ต้องมีตัวบทหลักฐานที่ชัดเจนเท่านั้น ความจริงแล้วมุสลิมนั้นถูกสั่งสอนให้ต่อสู้เคลื่อนไหวเพื่อศาสนาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แต่การเคลื่อนไหวนั้นต้องเป็นไปตามที่ศาสนากำหนด ไม่ใช่เคลื่อนไหวตามอารมณ์ความรู้สึกหรือความต้องการของตัวเอง ดังนั้นเมื่อใดที่ประสบการณ์และการปฏิบัติสอดคล้องกับหลักฐานทางศาสนาจะทำให้เกิดบุคลิกภาพและตัวตนที่เป็น الربانية (หรือการผูกพันกับอัลลอฮฺ) ที่ใช้อัลวะฮฺยิ(الوحي)หรือ บทบัญญัติที่มาจากอัลลอฮฺและหลักซุนนะฮฺของท่านศาสดาเป็นกรอบและแนวทางในการ ทำงานและยึดหลักการศาสนาเป็นที่ตั้ง ดังนี้แล้วผลลัพธ์ของการศึกษานั้นก็จะกลายเป็นแสงสว่างบนความสว่างไสว(คือ แสงสว่างที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ)

(ومن لم يجعل الله له نوراً فما له من نور)
ความว่า “และผู้ใดที่อัลลอฮฺไม่ทรงทำให้เขาได้รับแสงสว่าง เขาก็จะไม่ได้รับแสงสว่างใดๆ” (24:40)

ข้อเขียนนี้เป็นเพียงความพยายามที่จะทำให้การศึกษาแบบ الربانية ดังกล่าวนี้เป็นจริงขึ้นมา และเปลี่ยนจากการศึกษาที่เป็นแบบรีบเร่งขอไปทีเป็นการศึกษาที่มีรายละเอียด แบบแผนที่ชัดเจน และยังเป็นการเรียกร้องให้นักการศึกษาทั้งหลายใช้การศึกษาดังกล่าวอย่างถูก ต้องและมีวิสัยทัศน์หรือจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หลีกเลี่ยงจากข้อเสนอแนะฉาบฉวยที่เกิดขึ้นตามสภาวการณ์หรือการทดลองที่อยู่ ภายใต้ข้อจำกัดของปัญหาต่างๆ จนสุดท้ายแล้วการศึกษาของเรานั้นไม่ต่างอะไรกับการผ่าตัดที่ทำโดยแพทย์ ฝึกหัดหรือศัลยแพทย์ที่ไร้ความชำนาญที่รักษาผู้ป่วยเสมือนเป็นการทดลองและหวังให้หนึ่งจากหลายๆ การทดลองนั้นประสบความสำเร็จซึ่งผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการทดลองนั้นก็คือผู้ป่วยนั่นเอง

หนึ่งในจุดมุ่งหมายของบทความนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของกระบวนการที่มีความตั้งใจในการทำให้การศึกษา الربانية นั้น เป็นภารกิจหลักที่เยาวชนคนหนุ่มสาวมุสลิมให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนอย่างมีแบบแผนหรือการหาความรู้ทั่วไปก็ตาม ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ประชาชาติทุกคนนั้นมุ่งมั่นและสนใจการศึกษา เริ่มด้วยการรู้จักหนทางของอัลลอฮฺ เพื่อที่จะทำให้เขาได้ประสบความสำเร็จกับการศึกษาดังกล่าวตามที่ปรารถนา และอีกจุดมุ่งหมายหนึ่งของบทความนี้คือเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดประสิทธิภาพของ ประชาชาติอิสลามที่มีแต่จำนวนแต่ขาดคุณภาพ และหันไปสู่การให้ความสำคัญและเน้นหนักกับคุณภาพทางการศึกษามากกว่าจำนวน โดยการวางกฎเกณฑ์และคุณสมบัติที่แน่นอนเข้มงวดและตรวจสอบได้ในทางปฏิบัติ

พึงทราบไว้ด้วยว่าบุคลิกภาพของมุสลิมที่สมบูรณ์นั้นมิใช่เป็นสิ่งไร้คุณค่าหรือ ราคาถูก เหมือนอย่างที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้หนังสือรับรองมาตรฐานไอเอสโอเพื่อจะยืนยันถึงคุณภาพสินค้า

ความจริงจังขยันหมั่นเพียรนั้นได้กลายเป็นลักษณะที่สำคัญของสังคมโลกปัจจุบัน และตราบใดที่ประชาชาติอิสลามของเราไม่สามารถสร้างคนที่มีความเสียสละขยันหมั่นเพียรและขาดความพร้อมในการเผชิญหน้าศัตรูแล้ว ประชาชาติจะประสบกับความพ่ายแพ้ในสงครามและได้รับผลลัพธ์ที่เป็นลบอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องคิดและไตร่ตรองอย่างรอบคอบในกระบวนการคัดสรรสิ่งดีๆให้กับประชาชาติของเราเพราะการเลือกสิ่งที่ดีให้ประชาชาตินั้นเปรียบเสมือนการเลือกให้ตัวเราเอง


หนังสือ เยาวชนมุสลิม...ความหวังของประชาชาติอิสลาม, ชัยคฺริฎอ อะหมัด สมะดี