หลักการที่ห้า - หลักการที่แปด

Submitted by admin on Mon, 15/07/2013 - 22:29

หลักการที่ห้า...เตรียมพร้อมในการทำความดีและเตาบะฮฺตัวจากความผิดบาปทั้งหลาย พร้อมๆกับทบทวนตัวเองทุกๆครั้งหลังจากทำความดี

القاعدة الخامسة (الاستعداد للطاعات والتوبة النصوح من المعاصي ومحاسبة النفس دبر كل طاعة)
 
เดือนเราะมะฎอน ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการแก้ไขความบกพร่องและข้อผิดพลาดต่างๆที่เคยมีมา เพราะเป็นเดือนที่สามารถยับยั้งอารมณ์ความใคร่และการฝ่าฝืนต่างๆ รวมถึงการล่อลวงของชัยฎอนมารร้าย ฉะนั้นคนที่เข้าสู่เดือนเราะมะฎอนแล้วแต่เขากลับไม่ใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนแปลงตัวเองและยังไม่ได้รับการอภัยโทษ แล้วเมื่อไหร่เขาจะทำดีและเปลี่ยนแปลงตัวเอง ? 
 
«إِنَّ جِبْرَائِيْلَ أَتَانِيْ فَقَالَ : مَنْ أَدْرَكَ شَهْرَ رَمَضَانَ فَلَمْ يُغْفَرْ لَهُ فَدَخَلَ النَّارَ فَأَبْعَدَهُ اللهُ . قُلْ : آمِيْنَ ، فَقُلْتُ : آمِيْنَ» وصححه الألباني في صحيح الجامع برقم 75) 
ความว่า “แท้จริงญิบรออีล ได้มาหาฉัน (ขณะนั้น) แล้วกล่าวว่า ผู้ใดเข้าสู่เดือนเราะมะฎอนแล้วเขาไม่ได้รับการอภัยโทษ เขาเข้าสู่ไฟนรก ขอให้เขาห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์ ท่านจงกล่าวว่า อามีน แล้วฉันก็กล่าวว่า อามีน”
 
 
หลักการที่หก...เตรียมการสำหรับทำความดีและทบทวนตัวเองอยู่เสมอ
القاعدة السادسة (الإعداد للطاعة ومحاسبة النفس عليها)
 
การเตรียมการสำหรับทำความดีหรือการวางแผนตระเตรียมคุณงามความดีที่จะทำในเดือนเราะมะฎอน ย่อมเป็นตัวชี้วัดและสัญญาณถึงความจริงใจในการทำความดี โดยเฉพาะการตระเตรียมคุณงามความดีที่จะทำในช่วงเดือนเราะมะฎอนเพราะถือเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐและมีภาคผลทวีคูณ 
 
 และการทบทวนตัวเองอยู่เสมอหรือการคิดพิจารณาถึงคุณงามความดีที่ได้ทำว่ามีผลยังไงบ้างต่อชีวิต โดยเฉพาะการทบทวนตัวเองในเดือนเราะมะฎอนย่อมเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเพราะมันเป็นอัตลักษณ์สำคัญของผู้ที่ต้องการเดินทางไปสู่โลกอาคิเราะฮฺอย่างผาสุก ซึ่งการทบทวนตัวเองนั้นย่อมสามารถให้รู้ว่าคุณงามความดีที่ได้ทำไปมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง จะได้เติมเต็มให้มันสมบูรณ์ ส่วนคุณงามความดีใดที่สมบูรณ์อยู่แล้วก็จะได้รักษาให้มันสมบูรณ์ตลอดไป   
 
 
หลักการที่เจ็ด...ศึกษาวิธีถือศีลอดตามบัญญัติอิสลาม
القاعدة السابعة (مطالعة أحكام الصوم وما يتعلق بشهر رمضان)
 
การศึกษาแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการถือศีลอดตามบัญญัติอิสลามและปัญหาที่เกี่ยวข้องที่อาจเกิดขึ้นในเดือนเราะมะฎอนนั้น ถือเป็นการเตรียมตัวสู่เดือนเราะมะฎอนได้อย่างเยี่ยมยอด เพราะผู้ศรัทธานั้นต้องเตรียมความรู้ให้พร้อมก่อนการปฏิบัติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาความรู้เกี่ยวกับการถือศีลอดให้ละเอียด เช่น สิ่งที่ทำให้ถือศีลอดโมฆะและใช้ได้ วิธีละหมาดตะรอวีหฺและอิอฺติกาฟที่ถูกต้อง โดยเฉพาะผู้หญิงนั้นต้องศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกับธรรมชาติของเธอ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการถือศีลอดในช่วงที่มีประจำเดือน เลือดนิฟาส หรือการตั้งครรภ์ เป็นต้น   
 
 
หลักการที่แปด...เตรียมจิตใจเพื่อให้ลิ้มอรรถรสของอิบาดะฮฺแห่งความอดทน
القاعدة الثامنة – أهم القواعد- (إعداد النفس لتذوق عبادة الصبر)
 
หากเดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนที่มีการถือศีลอดและให้อดทน ย่อมเป็นสิ่งสมควรแก่เราที่ต้องลิ้มอรรถรสในแก่นแท้ของความอดทน ทั้งนี้เพื่อจะได้ลิ้มอรรถรสในแก่นแท้ของการถือศีลอด 
﴿ وَمَا يُلَقَّىٰهَآ إِلَّا ٱلَّذِينَ صَبَرُواْ وَمَا يُلَقَّىٰهَآ إِلَّا ذُو حَظٍّ عَظِيمٖ ٣٥ ﴾ [فصلت: ٣٥]  
ความว่า “และไม่มีผู้ใดได้รับมัน (คุณธรรมดังกล่าว) นอกจากบรรดาผู้อดทน และจะไม่มีผู้ใดรับมันนอกจากผู้ที่มีโชคลาภอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺฟุศศิลัต : 35)