การประกันภัยชรีอะฮฺ(ตะกาฟุล) ตอนที่ 4

Submitted by dp6admin on Sun, 01/11/2009 - 20:48

ที่มา : เรียบเรียงจากการบรรยายของ เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
เรื่อง การประกันภัยชรีอะฮฺ(ตะกาฟุล)คืออะไร

 

ตอนที่ 4

ฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกมุสลิมเมื่อปี ค.ศ. 1978 โดย ชัยคฺ อัลลามะฮฺ มุฮัมมัด อะมีน บิน อาบิดีน ซึ่งเป็นอุละมาอฺมัซฮับหะนะฟี ที่ได้ศึกษาจากนักธุรกิจมุสลิมซึ่งทำธุรกิจรอบโลกและถูกบังคับให้ทำสัญญาประกันภัย เมื่อเรือจะเทียบท่าต่างๆ ในประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม โดยประเทศแรกที่เคร่งครัดในเรื่องนี้คือฝรั่งเศส  นักธุรกิจจึงมาถามท่านว่า سوكره คืออะไร ?

"سوكره" มาจากคำว่า   s?curit?  ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งก็แปลว่า security  ในภาษาอังกฤษ ท่านจึงตั้งชื่อประกันภัย ว่า"?????"  ดังนั้นเมื่อเราไปค้นหาในตำรานิติศาสตร์อิสลามจะพบฟัตวาเกี่ยวกับสัญญาประกันภัยที่อุลามาได้ฟัตวาไว้แล้วว่า สัญญาประกันภัยเรียกว่า ?????" เป็นสัญญาฟาสิก ถ้าทำสัญญาก็ถือว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะทางศาสนาไม่รับรอง  แสดงว่า อุละมาอฺได้จินตนาการแล้วว่า สัญญาประกันภัยคืออะไร โดยที่ฟัตวานี้เกิดขึ้นเพราะนักธุรกิจออกไปทำธุรกิจเมืองนอกและได้ประสบสัญญาประกันภัยข้างนอก  แต่ปัจจุบันนี้ระบอบประกันภัยได้บุกเข้ามาสู่โลกมุสลิม อุละมาอฺจึงต้องวินิจฉัย

ข้อเสียหรือข้อผิดหลักการของสัญญาประกันภัยสากล  

บริษัทฟินันซาได้ยอมรับในเอกสารของเขา ว่า ระบอบประกันภัยสากลมีข้อเสียหรือข้อผิดหลักการ   3 ประการที่เป็นปัญหา ดังนี้

1. ความคลุมเครือหรือความเสี่ยง (????? ) คือ  ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกันภัยว่า สิ่งที่จ่ายไปแล้วกับสิ่งที่จะได้มันแค่ไหน ในขณะที่ตามหลักการศาสนาสัญญาอะไรก็ตาม ต้องมีความชัดเจน จำนวนที่เราแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันต้องมีความชัดเจน และสิ่งที่เราแลกเปลี่ยนจะต้องแน่นอนว่าจะให้อย่างไร เมื่อไหร่ เงื่อนไขของสัญญาต้องชัดเจน  อิสลามต้องการให้สัญญาที่แลกเปลี่ยนระหว่างกันไม่สร้างความขัดแย้งในโลกหน้าหรือในอนาคต ในสัญญาซื้อขายประกัน สินค้าและราคาของประกันชีวิตนั้นถือว่าไม่ชัดเจน ผู้ซื้อและผู้ขายประกันชีวิตไม่สามารถรับรู้ได้ทั้งสองฝ่ายว่าจะได้รับและส่งมอบประกันชีวิตได้เมื่อใด เพราะผู้ซื้อหรือผู้รับประโยชน์และผู้ขายประกันไม่สามารถหยั่งรู้ได้ว่าเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด เป็นการซื้อขายที่วางอยู่บนเงื่อนไขของเวลาและเหตุการณ์ในอนาคต นอกจากนี้จำนวนของหลักประกันที่บริษัทฯจะทำการชดเชยให้ และที่มาของเงินชดเชยที่มีมูลค่ามหาศาลยังอาจจะก่อให้เกิดปัจจัยของความคลุมเครือได้อีกด้วย   

2. การพนันหรือเกมส์แห่งโอกาส (??????? ) ตามทัศนะของนักวิชาการถือว่าการประกันภัยสากลมีองค์ประกอบของการพนันหรือเกมแห่งโอกาสที่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม ธุรกิจที่ผลกำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับโชค โอกาส หรือความน่าจะเป็น ถือได้ว่าเป็นธุรกิจการพนัน (นักวิชาการอิสลามมีความเห็นว่าเงินชดเชยที่ได้รับจากการทำธุรกรรมทางการเงินที่มีองค์ประกอบของความคลุมเครือจะนำไปสู่การเกี่ยวข้องกับการพนัน)
 
3.ดอกเบี้ย (?????????) และรายได้จากการลงทุนในธุรกิจที่ขัดกับหลักศาสนา ได้แก่การที่บริษัทประกันมีรายได้จากการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และรายได้จากการลงทุนในธุรกิจที่ขัดกับหลักการและศีลธรรมทางศาสนา เช่น ธุรกิจผลิตสุรายาเมา ธุรกิจอาบอบนวด ธุรกิจผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกร ธุรกิจการพนัน ฯลฯ

จากการประชุมของคณะอุละมาอฺระดับโลกของรอบิเฏาะฮฺที่มักกะฮฺเมื่อปี ฮ.ศ.1398  ได้ออกฟัตวาว่า สาเหตุที่ระบอบสัญญาประกันภัยหะรอมคือ 3 ประการข้างต้นและเหตุอื่นด้วย และในปี ฮ.ศ.1406 คณะอุละมาอฺของรอบิเฏาะฮฺได้ประชุมอีกครั้งที่ญิดดะฮฺ และได้ออกมาย้ำในฟัตวาว่า สัญญาประกันภัยสากลหะรอม แต่เรียกร้องให้ทำประกันภัยชะรีอะฮฺ ซึ่งอุละมาอฺส่วนมากไม่ระบุรายละเอียด แต่ภายหลังอุละมาอฺที่ประเทศซาอุดิอาระเบียอนุโลมให้มีการทำบริษัทประกันภัยชะรีอะฮฺ โดยอ้างหลักฐานจากอัลกุรอานที่อัลลอฮฺ   สนับสนุนให้มีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ในอายะฮฺที่มีความหมายว่า “ จงสามัคคีช่วยเหลือกันในด้านคุณธรรมและตักวา และอย่าสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านความผิดและการละเมิด” และหะดีษของท่านนบี   บทหนึ่งที่ท่านนบีได้กล่าวไว้ว่า  “ อัลลอฮฺจะช่วยเหลือบ่าวของพระองค์ ต่อเมื่อบ่าวของพระองค์ช่วยเหลือพี่น้องของเขาด้วย”และมีหะดีษบทหนึ่งโดยการบันทึกของอิหม่ามบุคอรี ซึ่งอุละมาอฺได้ถือว่าเป็นรูปแบบของการประกันภัยชะรีอะฮฺที่เคยเกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี 

 
ท่านนบี   กล่าวว่า

قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : إن الأشعريين إذا أرملوا في الغزو ، أو قل طعام عيالهم بالمدينة ، جمعوا ما كان عندهم في ثوب واحد ، ثم اقتسموه بينهم في إناء واحد بالسوية ، فهم مني وأنا منهم الراوي: أبو موسى الأشعري  -  خلاصة الدرجة: صحيح  -  المحدث: البخاري  -  المصدر: الجامع الصحيح  -  الصفحة أو الرقم: 2486 

ความว่า “ชาวอัชอะรียฺ (เผ่าที่มาจากเยเมนเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองมะดีนะฮฺ ) เมื่อออกไปทำสงคราม และเสบียงหรืออาหารของครอบครัวเขาในเมืองมะดีนะฮฺน้อยลง สมาชิกของเผ่าจะรวบรวมอาหารและทรัพย์สินของพวกเขาทั้งหมดมากน้อยต่างกันมารวมเป็นกองเดียวกัน แล้วนำส่วนที่รวบรวมมาแบ่งกันอย่างเสมอภาค” นี่คือประกันภัยที่อิสลามอนุโลมให้ทำได้ ท่านนบี   ยกย่องชนเหล่านี้ ว่า “ชนเหล่านี้แหละเป็นพรรคพวกของฉัน และฉันก็เป็นพรรคพวกของเขา” นี่คือรูปแบบของประกันภัยชะรีอะฮฺ ซึ่งอุละมาอฺได้สรุปว่า มี 3 ประการสำคัญที่เราต้องพิจารณา คือ

1.    ต้องมีข้อตกลงระหว่างกลุ่มที่ต้องการทำประกันภัย

2.    ต้องไม่มีการกำหนดอัตราชำระตายตัวสำหรับสมาชิกที่จะร่วมในการประกันภัยชะรีอะฮฺ  ในขณะที่รูปแบบสากลจะบังคับค่างวดตายตัวในการชำระ  ถ้าไม่มีชำระก็ไม่สามารถทำประกันได้  ถ้ามีความเสี่ยงสูงมากก็จะไม่รับทำประกัน  ถ้ามีความเสี่ยงปานกลาง สามารถทำประกันได้แต่จะต้องชำระเงินสูงกว่าปกติ ซึ่งไม่ใช่ตะกาฟุ้ล แต่มีระบุอยู่ในเงื่อนไขตะกาฟุ้ล ทั้งๆ ที่ตะกาฟุ้ลแปลว่าช่วยเหลือ แต่ยังตามรูปแบบของตะวันตก  สำหรับรูปแบบประกันภัยของอิสลามจะมีเอกลักษณ์ที่รวมไว้ซึ่งความศรัทธา การช่วยเหลือ การบริจาค ( ตะบัรรุหฺ) การเอื้อเฟื้อ  การอนุเคราะห์  มีการมอบหมาย ( ตะวักกุ้ล) และมีความยุติธรรม 

3.    ต้องไม่แสวงกำไร   

ตะกาฟุ้ล แปลว่า “ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”   อุละมาอฺหมายถึง สังคมทั้งหมด ที่มีทั้งคนรวยซึ่งไม่ต้องการความช่วยเหลืออยู่แล้ว แต่มีการบริจาคให้ความช่วยเหลือ และมีคนที่เดือดร้อนจริงๆ ไม่มีเงินชำระ มีประกันภัยชะรีอะฮฺไม่ต้องแสวงกำไร  คนที่จะเข้าไปร่วมไม่ได้หวังที่จะได้ แต่เขานำเงินไปบริจาค โดยหวังว่าวันหนึ่งเมื่อเขาเดือดร้อนเขาก็จะมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือเท่าที่มี  ซึ่งจะได้รับมากน้อยขึ้นอยู่กับเงินที่มีอยู่มากน้อยตามจำนวนสมาชิก