ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 248 (หะดีษที่ 43/2)

Submitted by admin on Fri, 24/02/2017 - 09:21
หัวข้อเรื่อง
การแบ่งมรดกให้ลูก กรณีลูกเป็นชายและหญิง, ชายล้วน, หญิงล้วน, ผู้มีสิทธิได้ส่วนเหลือ, การรับมรดกของพ่อแม่มัยยิต
สถานที่
มุศ็อลลา White Channel
วันที่บรรยาย
27 ญุมาดาอัลอูลา 1438
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
12.60 mb
ความยาว
52.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

วีดีโอ

الحديث الثالث والأربعون 
عَنِ ابن عبَّاسَ رضي الله عنهما قالَ : قَال رسولُ الله صلى الله عليه وسلم : (( ألحِقُوا الفَرائِضَ بأَهلِها ، فَمَا أَبقتِ الفَرائِضُ ، فَلأوْلَى رَجُلٍ ذَكَرٍ )) . خرَّجه البُخاريُّ ( ) ومُسلمٌ 
 
ท่านนบีกล่าวว่า "ให้มรดกแก่เจ้าของเขา ตามสิทธิที่กำหนด (กล่าวคือ เจ้าของที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้ในอัลกุรอาน ผู้มีสิทธิรับมรดกมีสองประเภท อัศฮาบุลฟะรออิด(เจ้าของมรดก ที่อัลลอฮฺระบุในอัลกุรอาน เช่น ลูก ภรรยา สามี) และ อะศอบะฮฺ (คือเครือญาติใกล้ตัว แต่่สิทธิไม่ได้ถูกระบุ จะได้ส่วนที่เหลือ ส่วนมากได้มากกว่า แต่บาطทีก็น้อยกว่า) , เมื่อแจกสิทธิตามกำหนดแล้ว(ฟะรออิด) ส่วนที่เหลือ ก็เป็นสิทธิของชายคนแรก(ที่ใกล้ชิดที่สุด"
 
หะดีษนี้จะพูดถึงบุคคลที่ไม่ได้ถูกระบุในอัลกุรอาน ซึ่งจะได้รับส่วนเหลือจากฟะรออิด

 

4:11 อัลลอฮฺได้ทรงสั่งพวกเจ้าไว้ในลูก ๆของพวกเจ้าว่า สำหรับเพศชายนั้นจะได้รับ เท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน แต่ถ้าลูกๆ เป็นหญิงเกินกว่าสองคน พวกนางก็จะได้สองในสามของสิ่งที่เขา ได้ทิ้งไว้ และถ้าลูกเป็นหญิงคนเดียว นางก็จะได้ครึ่งหนึ่ง และสำหรับบิดาและมารดาของเขานั้น แต่ละคนในทั้งสองนั้นจะได้หนึ่งในหกจากสิ่งที่เขา ได้ทิ้งไว้หากเขามีบุตร แต่ถ้าเขาไม่มีบุตรและมีบิดามารดาของเขาเท่านั้นที่รับมรดกของเขาแล้ว มารดาของเขาก็ได้รับหนึ่งในสาม ถ้าเขามีพี่น้องหลายคน มารดาของเขาก็ได้รับหนึ่งในหกทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่เขาได้สั่งเสียมันไว้หรือหลังจากหนี้สิน บรรดาบิดาของพวกเจ้าและลูก ๆ ของพวกเจ้านั้น พวกเจ้าไม่รู้ดอกว่าฝ่ายไหนในพวกเขานั้นเป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์แก่พวกเจ้าใกล้กว่ากัน ทั้งนี้เป็นบัญญัติที่มาจากอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ

4:176 เขาเหล่านั้นจะขอให้เจ้าชี้ขาดปัญหา จงกล่าวเถิดว่า อัลลอฮฺ จะทรงชี้ขาดให้แก่พวกเจ้าในเรื่องของผู้เสียชีวิตที่ไม่มีบิดาและบุตร คือถ้าชายคนหนึ่งตาย โดยที่เขาไม่มีบุตรแต่มีพี่สาวหรือน้องสาวคนหนึ่งแล้ว นางจะได้รับครึ่งหนึ่งของมรดกที่เขาได้ทิ้งไว้ และขณะเดียวกันเขาก็จะได้รับมรดาของนาง หากนางไม่มีบุตร แต่ถ้าปรากฏว่าพี่สาวหรือน้องสาวของเขามีด้วยกันสองคน ทั้งสองนั้นจะได้รับสองในสามจากมรดกที่เขาได้ทั้งไว้ แต่ถ้าพวกเขาเป็นพี่น้องหลายคนทั้งชายและหญิง สำหรับชายจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของหญิงสองคน ที่อัลลอฮฺทรงแจกแจงแก่พวกเจ้านั้น เนื่องจากการที่พวกเจ้าหลงฟิด และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง

การแบ่งมรดกให้ลูก กรณีลูกเป็นชายและหญิง, ชายล้วน, หญิงล้วน

1. หญิงล้วน 1 คน ได้ 1/2

وَإِن كَانَتْ وَاحِدَةً فَلَهَا النِّصْفُ  4:11 และถ้าลูกเป็นหญิงคนเดียว นางก็จะได้ครึ่งหนึ่ง

- ลูก ญ 1 คน และหลานสาว ได้ 1/2 + 1/6



2. กรณีหญิงล้วน 2 คน อุละมาอฺมีทัศนะต่างกัน ว่าควรได้ 1/2 หรือ 2/3, อุละมาอฺส่วนมากเห็นว่าควรได้ 2/3

فَإِن كُنَّ نِسَاءً فَوْقَ اثْنَتَيْنِ فَلَهُنَّ ثُلُثَا مَا تَرَكَ

4:11 แต่ถ้าลูกๆ เป็นหญิงเกินกว่าสองคน พวกนางก็จะได้สองในสามของสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้



3. มากกว่า 2 คน ได้ 2/3



ผู้มีสิทธิได้ส่วนเหลือ

การแบ่งมรดก กรณีมีแต่ลูกชาย เช่น

- ผู้ตายมี แม่ 1 ภรรยา 1 ลูกชาย 1 --> แม่ 1/6, ภรรยา 1/8 (ถ้าไม่มีลูกได้ 1/4, ถ้าภรรยาหลายคน ให้แบ่งกันใน 1/8 นี้)

ส่วนเหลือ ให้ญาติชายใกล้ชิดที่สุด ถ้าผู้ตายมี ลุง ลูกพี่ลูกน้อง ลูกชาย -- ใกล้ที่สุดคือ ลูกชาย ก็จะอัจญฺ(บัง)คนอื่นๆ ไม่ให้รับมรดก ตัวเขาจะได้รับส่วนเหลือ

- ถ้ามีลูกชาย หลานชาย ทรัพย์สินทั้งหมดจะได้แก่ลูกชาย หลานชายไม่ได้

- ถ้าลูกชายตายหมดแล้ว มีลูกชายของลูกชาย(หลานแท้) และมีลูกชายของลูกชายของลูกชาย(เหลน) -- ทรัพย์สินทั้งหมดจะได้แก่หลาน เหลนไม่ได้



การรับมรดกของพ่อแม่

- ถ้าผู้ตายมีลูก พ่อแม่ได้คนละ 1/6 (ไม่มีผู้รับมรดกคนอื่นนอกจา พ่อแม่ และลูก)

وَلِأَبَوَيْهِ لِكُلِّ وَاحِدٍ مِّنْهُمَا السُّدُسُ مِمَّا تَرَكَ  إِن كَانَ لَهُ وَلَدٌ ۚ

4:11 และสำหรับบิดาและมารดาของเขานั้น แต่ละคนในทั้งสองนั้นจะได้หนึ่งในหกจากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้ หากเขามีบุตร



- ถ้าผู้เสียชีวิตมีลูก ช หรือ ญ ก็ตาม, ลูกแท้ รุ่นลูกหรือหลานก็ตาม, พ่อแม่ได้คนละ 1/6 ใครได้ส่วนเหลือ ?

- ถ้ามีลูกชาย ได้ส่วนเหลือ คือ 2/3