หะดีษที่ 49/6 การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ (237)

Submitted by admin on Fri, 04/11/2016 - 22:11
หัวข้อเรื่อง
จบหะดีษ 49, การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ(ตะวักกุ้ล), ริสกี, ระดับขั้นของการตะวักกุ้ล (อดทน, พอใจ,ยินดี),...
สถานที่
มุศ็อลลา White Channel
วันที่บรรยาย
4 เศาะฟัร 1438
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
16.00 mb
ความยาว
67.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

الحديث التاسع والأربعون



عَنْ عُمرَ بن الخطَّابِ رضي الله عنه عَنِ النَّبيِّ صلى الله عليه وسلم قَالَ : (( لَو أَنَّكُم تَوكَّلُون على اللهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ لَرَزَقَكُمْ كَما يَرزُقُ الطَّيرَ ، تَغدُو خِماصاً ، وتَروحُ بِطاناً ))

 رواهُ الإمام أحمدُ  والتِّرمذيُّ  والنَّسائيُّ  وابنُ ماجه وابنُ حبَّان في " صحيحه "  والحاكِمُ  ، وقال التِّرمذيُّ : حَسَنٌ صَحيحٌ .

รายงานจากอุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

"หากพวกเจ้ามอบหมายต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง โดยแน่นอนแล้ว อัลลอฮฺนั้นจะให้ปัจจัยยังชีพ(ริสกี)แก่พวกท่าน เฉกเช่นที่อัลลอฮฺได้ให้ริสกีแก่นกทั้งหลาย, มันออกจากรังของมันช่วงเช้ามืดโดยที่ท้องมันว่าง (ไม่มีอาหาร) แต่ตอนมันกลับบ้านช่วงบ่าย(เย็น)ท้องเต็ม"

วีดีโอ


    -ข้อสรุป​ของการมอบหมาย(ตะ​วัก​กุล) ไม่ขัดต่อการ ใช้กฎตามชาติ ต่อการใช้ปัจจัย เพราะ​อัลลอฮฺ​นั้นเป็นผู้สร้างปัจจัย.

    -อัลบิชรฺ(อุลามาอฺสลัฟซุนนะห์ท่านนึง ในแนวซูฟีย์ ให้ความหมายของการตะวักกุล ว่า "มีความหวั่นไหวโดยไม่มีความสงบนิ่ง มีความสงบนิ่งโดยไม่มีความหวั่นไหว"

    -กล่าวคือ การที่อวัยวะหวั่นไหวและไม่นิ่ง(ออกไปหาปัจจัย) แต่หัวใจนิ่งต่ออัลลอฮฺและไม่หวั่นไหวต่อปัจจัยที่หามา

    -อิบนุรอญับ ให้ความเห็นว่า ใครที่ไม่สามารถบรรลุถึงขั้นหมอบหมายขั้นสูงสุด ก็ต้องดิ้นรนด้วยปัจจัย โดยเฉพาะ​ผู้ที่มีบุคคลที่ต้องดูแล

    -เมื่อประสบสิ่งที่ลำบาก จงกล่าวว่า "นั้นคือสิ่งที่อัลลอฮฺกำหนดแล้ว" จงอย่ากล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้" เพราะ​นั้นจะเป็นการเปิดการงานของชัยตอน.

(งานของชัยตอนในที่นี้คือการสร้างความเกลียดชังกัน)

    -อัลลอฮฺ​จะติเตียนคนที่อ่อนแอ มีความสามารถแต่ละเลย ดังนั้น ท่านจงยึดมั่นซึ่งความสามารถจัดการ และทำหน้าที่ แล้วปล่อยดูผลลัพธ์ ส่วนสิ่งใดๆที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้น ก็​จงกล่าว"อัลลอฮฺ​เพียงพอ​แล้วสำหรับฉัน"(ฮัสบุนัลลอฮฺ วะเนียะมัลวากีล)

     -คนหมอบหมายที่แท้จริง คือคนที่ทิ้งเมล็ดในดิน ใส่ปุ๋ย​ แล้วหมอบหมายต่ออัลลอฮฺ -​ อุมัรอิบนุลค๊อตต๊อบ

     -ตะวักกุลที่แท้จริง คือ การที่รู้สึกเพียงพอ​ด้วย​อัลลอฮฺ ไม่ว่าอัลลอฮฺจะให้อะไรแก่เขาก็ตาม รู้สึก​สัจจริงว่าอัลลอฮฺจะให้ริสกี โดยไม่ใช่แค่การใช้การหมอบหมายเป็นเครื่องมือของการหาริสกี

     -ใครก็ตามหมอบหมายเพื่อหาริสกี ก็เสมือนใช้การหมอบหมายเพื่อหาริสกี แต่การหมอบหมายที่แท้จริง คือการที่ไม่หวังอะไรต่อการหมอบหมายนั้น โดยหวังต่ออัลลอฮฺเพียงอย่างเดียว

     -อย่าใส่ใจต่อริสกี แต่จงใส่ใจผู้ที่รับรองริสกี เพราะพอได้รับริสกีแล้ว(แต่น้อย) เราอาจจะตำหนิอัลลอฮฺ

     -จงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺเลือกให้ แม้เราจะมองสิ่งที่ได้รับว่าไม่ดี เพราะอีกทางที่อัลลอฮฺไม่เลือกให้นั้นย่อมเลวร้ายกว่า ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เร้นลับ และนี่คือบททดสอบอย่างนึง และประโยชน์สูงสุดของการทดสอบนี้ คือ การพิสูจน์​ว่าความพอใจต่ออัลลอฮฺนั้น เรามีแค่ไหน

     -ระดับขั้นของการตะวักกุล คือ

1.ไม่บ่น ตำแหน่ง​ คือ ผู้อดทน

2.ความพอใจ(ด้วยหัวใจ) ตำแหน่ง​ คือ ผู้สัจจริง

3.ยินดีกับสิ่งที่รับ ตำแหน่ง​ สำหรับ​นบีและรอซูล

 - Ibnu Kuhussean -



قولُ النَّبيِّ  : (( المؤمن القوي خيرٌ وأحبُّ إلى الله من المؤمن الضَّعيف ، وفي كُلٍّ خير ، احرص على ما ينْفَعُك ، واستعن بالله ولا تَعْجز ، فإنْ أصابك شيءٌ ، فلا تقولنَّ : لو أنِّي فعلتُ كان كذا وكذا ، ولكن قُلْ : قَدَرُ الله وما شاء فعل ، فإنَّ الَّلو تفتحُ عمل الشيطان )) خرَّجه مسلم ( ) بمعناه من حديث أبي هريرة .

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ผู้ศรัทธาที่แข็งแรงประเสริฐกว่าและอัลลอฮฺโปรดปรานกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ, แม้ทั้งสองคนจะมีความดี,

จงรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับเจ้า ขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ และอย่าอ่อนแอ

ถ้าประสบความยากลำบาก อย่ากล่าวว่า หากฉันทำอย่างนี้ มันจะไม่เกิดอย่างนี้ แต่จงกล่าวว่า "เกาะดะรุลลอฮฺ วะมาชาอฺฟะอัล -- แท้จริงอัลลอฮฺกำหนดแล้ว และพระองค์จะทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์” เพราะคำว่า “หาก....” มันจะเปิดการงานของชัยฏอน” (ทำให้คนเกลียดชังกัน มองกันในแง่ที่ไม่ดี)