หะดีษที่ 34/1 ให้เปลี่ยนแปลงสิ่งมุงกัร(น่ารังเกียจ)

Submitted by admin on Fri, 29/08/2014 - 14:03
หัวข้อเรื่อง
“ผู้ใดก็ตาม ได้เห็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มุงกัร คือสิ่งที่หะรอมและมักรูหฺ) ก็จงเปลี่ยนมันด้วยมือ หากไม่สามารถก็(เปลี่ยนแปลง)ด้วยหัวใจ นั่นคืออีมานที่ต่ำที่สุด”
- หะดีษสำคัญสำหรับเตรียมบุคลากรเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก
- ผู้นำ - ถูกก็ตาม ผิดก็เตือน
สถานที่
มัสยิด มูลนิธิสันติชน
วันที่บรรยาย
3 ซุลเก๊าะดะฮฺ 1435
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
17.20 mb
ความยาว
72.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

 
الحديثُ الرَّابِع وَالثَّلاَ ثُونَ 
عن أبي سَعِيْدٍ الْخُدْرِيِّ رضي الله عنه قَالَ : 
سَمِعْتُ رسولَ الله صلى الله عليه وسلم  يَقُوُلُ :  (( مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَراً فَلْـيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ ، وَذَلِكَ أضْعَفُ اْلإِيمَانِ )).   رواه مسلم.
หะดีษที่ 34
 
จากอบูสะอี๊ด อัลคุดรี   กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูล   ได้กล่าวว่า
“ผู้ใดก็ตาม ได้เห็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มุงกัร คือสิ่งที่หะรอมและมักรูหฺ) ก็จงเปลี่ยนมันด้วยมือ, หากไม่สามารถ ก็ด้วยลิ้น, หากไม่สามารถก็(เปลี่ยนแปลง)ด้วยหัวใจ นั่นคืออีมานที่ต่ำที่สุด”
หะดีษนี้บันทึกโดยมุสลิม

 

هذا الحديث خرَّجه مسلمٌ ( ) من رواية قيس بن مسلم ، عن طارق بنِ شهاب ، عن أبي سعيد ، ومن رواية إسماعيل بن رجاءٍ ( ) ، عن أبيه ، عن أبي سعيد ، وعنده في حديث طارق قال : أوَّلُ مَنْ بدأ بالخطبة يومَ العيد قبلَ الصَّلاة مروانُ ، فقام إليه رجلٌ ، فقال : الصَّلاةُ قبل الخطبة ، فقال : قد تُرِكَ ما هُنالك ، فقال أبو سعيد : أمَّا هذا ، فقد قضى ما عليه ، ثمَّ روى هذا الحديث .
 
มัรวาน อิบนุหะกัม ได้เริ่มคุฏบะฮฺก่อนละหมาดอีดเป็นคนแรก  (มัรวานเป็นเคาะลีฟะฮฺ เป็นต้นตระกูลของบนีอุมัยยะฮฺ อยู่ในยุคตาบิอีน แต่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่ออะหฺลุลบัยตฺ(วงศ์วานนบี) จึงถูกเรียกว่านาสิบะฮฺ และได้ทำสงครามกับลูกหลานนบีหลายครั้ง, เป็นผู้ปกครองซอเล่ม) เขามานำละหมาดอีด โดยคุฏบะฮฺก่อนละหมาดอีด (เป็นบิดอะฮฺ)
 มีชายคนหนึ่งลุกขึ้นพูดว่า “ละหมาดก่อนคุฏบะฮฺ” 
มัรวานบอกว่า “นั่น(ละหมาดอีดก่อนคุฏบะฮฺ)เป็นสิ่งที่ถูกทิ้งไปแล้ว”
อบูสะอี๊ดอัลคุดรียฺ(เศาะฮาบะฮฺ) ไม่กล้าพูด เขาได้บอกว่า ชายคนนี้ได้ทำหน้าที่แล้ว และท่านได้เล่าหะดีษบทนี้ต่อหน้ามัรวาน
สรุปแล้วคือ เขาเตือน แต่ผู้นำไม่เอา เขาก็ละหมาดตามผู้นำ
 
ดังนั้นการที่มีผู้ทำบิดอะฮฺในมัสยิดหรือในที่หนึ่งที่ใดไม่ใช่เหตุผลที่จะแยกสุเหร่า บิดอะฮฺของมัรวานนี้ร้ายกว่าหลายๆ บิดอะฮฺในบ้านเรา 
การแยกมัสยิดมีความผิดคือ  ไม่เตือน และเป็นสร้างความแตกแยกในสังคม เพราะบิดอะฮฺนี้ไม่ถึงกับกุฟร(หรือชิริกใหญ่) ยุคฮัจญาจผู้นำเมา เศาะฮาบะฮฺก็ยังละหมาดตาม
 
فدلَّت هذه الأحاديثُ كلُّها على وُجُوبِ إنكارِ المنكر بحسب القُدرة عليه ، وأنَّ إنكارَه بالقلب لابدَّ منه ، فمن لم يُنْكِرْ قلبُه المنكرَ ، دلَّ على ذَهابِ الإيمانِ مِنْ قلبِه .
وقد رُوي عن أبي جُحيفة ، قال : قال عليٌّ : إنَّ أول ما تُغلبونَ عليه مِنَ الجِهادِ : الجهادُ بأيديكم ، ثم الجهادُ بألسنتكم ، ثم الجهادُ بقلوبكم ، فمن لم يعرف قَلبهُ المعروفَ ، ويُنكرُ قلبهُ المنكرَ ، نُكِسَ فجُعِل أعلاه أسفلَه ( ) .
وسمع ابن مسعود رجلاً يقول : هَلَكَ مَنْ لم يأمر بالمعروف ولم ينه عن المنكر ، فقال ابنُ مسعود : هلك من لم يعرف بقلبه المعروف والمنكر ( ) ، يشير إلى أنَّ معرفة  المعروفِ والمنكرِ بالقلب فرضٌ لا يسقط عن أحد ، فمن لم يعرفه هَلَكَ .
มีรายงานจากเศาะฮาบะฮฺอีกหลายท่านด้วยสำนวนใกล้เคียงกัน  อิบนุเราะญับ - หะดีษทั้งหมดมีใจความว่า “วาญิบต้องเปลี่ยนแปลงมุงกัรตามลำดับความสามารถ แต่การเปลี่ยนแปลงด้วยหัวใจนั้นเป็นวาญิบ ผู้ใดที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงด้วยหัวใจนั่นคือหลักฐานว่าอีมานได้หายไปจากหัวใจเขา”
 
ท่านอะลี กล่าวว่า “ญิฮาดประการแรกที่พวกท่านจะถูกกีดกั้น คือการญิฮาดด้วยมือ, จากนั้นคือญิฮาดด้วยลิ้น, จากนั้นคือญิฮาดด้วยหัวใจ ผู้ใดก็ตามที่หัวใจเขาไม่รู้จักความถูกต้องเลย และหัวใจไม่ประณาม(รังเกียจ)สิ่งต้องห้าม(มุงกัร)เลย คนเหล่านี้หัวใจจะถูกคว่ำ”

อับดุลลอฮฺ อิบนิมัสอู๊ดได้ยินชายคนหนึ่งกล่าวว่า หายนะแล้วคนที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมุงกัร ไม่เรียกร้องสู่ความดี ไม่ได้ปราบปรามความชั่ว  อิบนุมัสอู๊ดกล่าวว่า “ที่หายนะจริง คือคนที่หัวใจเขาไม่รู้ความดี ไม่รู้ความชั่ว” --  อิบนุเราะญับตีความว่า ที่จำเป็นที่สุดสำหรับทุกคนคือให้หัวใจรู้จักความดีรู้จักความชั่วเสียก่อน (ตัวอย่างจากสถานการณ์กาซ่า 

 
وأمَّا الإنكارُ باللسان واليد ، فإنَّما يجبُ بحسب الطاقةِ ، وقال ابنُ مسعود : يوشك مَنْ عاش منكم أن يري منكراً لا يستطيعُ له غيرَ أن يعلمَ اللهُ من قلبه أنَّه له كارهٌ ( ) .
การญิฮาดด้วยลิ้นด้วยมือก็ตามความสามารถ
อับดุลลอฮฺ อิบนิมัสอู๊ด “มันใกล้ชิดแล้ว ยุคที่คนหนึ่งในหมู่พวกท่านจะมีชีวิต เห็นความชั่วและไม่มีความสามารถที่ทำได้ นอกจากให้อัลลอฮฺทรงรู้และเห็นว่าหัวใจของเขากำลังรังเกียจความชั่วนี้”
การปราบปรามผู้นำด้วยมือและลิ้น ถ้าเอาอาวุธไปปราบปรามผู้นำมุสลิมนั้นหะรอม อิบนุเราะญับกล่าวว่า แต่ถ้าไม่ใช้อาวุธทำได้ เช่น ผู้นำกินเหล้า แล้วไปเอาเหล้าทิ้ง
 
 وفي " سنن أبي داود " ( ) عن العُرس بن عَميرة ، عن النَّبيِّ  ، قال  : (( إذا عُمِلَت الخطيئةُ في الأرض ، كان من شَهدَها ، فكرهها كمن غاب عنها ، ومَنْ غابَ عنها ، فرَضِيها ، كان كمن شهدها )) ، فمن شَهِدَ الخطيئةَ ، فكرهها بقلبه ، كان كمن لم يشهدها إذا عَجَز عن إنكارها بلسانه ويده ، ومن غاب عنها فرضيها كان كمن شهدها وقدر على إنكارها ولم ينكرها ؛ لأنَّ الرِّضا بالخطايا من أقبح المحرَّمات ، ويفوت به إنكارُ  لخطيئة بالقلب ، وهو فرضٌ على كلِّ مسلم ، لا يسقطُ عن أحدٍ في حالٍ من أحوال .
ท่านนบีกล่าวว่า “ถ้ามีคนทำความผิดบนผืนแผ่นดิน คนที่เห็นเหตุการณ์นั้นเขารังเกียจ เปรียบเสมือนเขาไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่คนที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้นแต่ได้ยิน(เรื่องราวของเหตุการณ์นั้น) แล้วเขาพอใจ เปรียบเสมือนเขาได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น”
อิบนุเราะญับอธิบายว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงด้วยมือด้วยลิ้น ก็ปราบปรามความชั่วด้วยหัวใจ แต่คนที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้นแต่พอใจกับความชั่วนั้น ก้เปรียบเสมือนอยู่ในเหตุการณ์และความสามารถปราบปรามแต่ไม่ปราบปราม ก็ได้รับความผิดด้วย 
ความพอใจต่อสิ่งหะรอมเป็นสิ่งที่ต้องห้ามที่น่ารังเกียจมากที่สุด
 
وخرَّج ابنُ أبي الدنيا من حديث أبي هريرة ، عن النَّبيِّ  ، قال : (( من حضر معصيةً فكرهها ، فكأنَّه غاب عنها ، ومن غاب عنها ، فأحبها ، فكأنَّه  حضرها )) ( ) وهذا مثلُ الذي قبله . 
ความหมายใกล้เคียงกันแต่เป็นหะดีษเฎาะอีฟ
 
فتبيَّن بهذا أنَّ الإنكارَ بالقلب فرضٌ على كلِّ مسلمٍ في كلِّ حالٍ ، وأمَّا الإنكارُ باليدِ واللِّسانِ فبحسب القُدرة ، كما في حديث أبي بكرٍ الصديق  ، عن  النَّبيِّ  ، قال : (( ما من قومٍ يُعمَلُ فيهم بالمعاصي ، ثم يقدرون على أنْ  يغيِّروا ، فلا يغيِّروا ، إلا يُوشِكُ أنْ يعمَّهم الله بعقابٍ )) خرّجه أبو داود بهذا  اللفظ ( ) ، وقال : قال شعبةُ فيه : (( ما من قومٍ يُعملُ فيهم بالمعاصي هم أكثرُ ممن يعمله )) .
“ประจักษ์ชัดว่าการปราบปรามด้วยหัวใจเป็นขั้นต่ำที่สุดของมุสลิมทุกคน แต่สำหรับลิ้นกับมือ(อำนาจ) ก็แล้วแต่ความสามารถ”
 
ท่านอบูบักร อัศศิดดี๊ก รายงานจากท่านนบี กล่าวว่า “กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดที่มีคนทำความชั่วในกลุ่มชนนั้น และเขาสามารถปราบปรามความชั่วนั้น แต่ไม่ทำ เกรงว่าอัลลอฮฺจะลงโทษอย่างกว้าง(ทั้งกลุ่มชนนั้น เพราะไม่ได้ปราบปรามความชั่ว)”
 
وخرَّج أيضاً ( ) من حديث جرير : سَمِعتُ النَّبيَّ  يقول : (( ما مِنْ رجلٍ يكونُ في قومٍ يُعمَلُ فيهم بالمعاصي ، يقدِرونَ أنْ يُغيِّروا عليه ، فلا يُغيِّرون ، إلا أصابهُم الله بعقابٍ قبلَ أنْ يموتُوا )) . وخرَّجه الإمام أحمد ( ) ، ولفظه : (( ما من قومٍ يُعملُ فيهم بالمعاصي هم أعزُّ وأكثر ممَّن يعملُه ، فلم يغيِّروهُ ، إلاَّ عمهُم اللهُ بعقاب )) . وخرَّج أيضاً ( ) من حديث عديّ بن عَميرة ، قال : سمعتُ رسول الله  يقول : (( إنَّ الله لا يعذِّبُ العامَّةَ بعمل الخاصَّة حتَّى يروا المنكرَ بين ظهرانيهم وهم قادرون على أنْ يُنكروه فلا ينكرونه ، فإذا فعلوا ذلك ، عذَّبَ الله الخاصة والعامَّة )) . 
وخرَّج أيضاً هو ( ) وابنُ ماجه ( ) من حديث أبي سعيد الخدري ، قال : سمعت النَّبيَّ  يقول : (( إنَّ الله ليسألُ العبدَ يومَ القيامة ، حتَّى يقول : ما منعكَ إذا رأيتَ المنكر أن تُنكِرَه ، فإذا لَقَّنَ الله عبداً حجَّته ، قال : يا ربِّ  رجوتُك ، وفَرقْتُ النَّاسَ )) .
อบูสะอี๊ด อัลคุดรียฺ ได้ยินท่านนบีกล่าวว่า “แท้จริง อัลลอฮฺจะถามบ่าวของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ “เจ้าได้เห็นความผิดความชั่ว ทำไมไม่ปราบปราม?”*
ถ้าอัลลอฮฺทรงช่วยเหลือบ่าวของพระองค์ให้ตอบคำตอบที่ดีที่สุด เขาจะตอบว่า “โอ้อัลลอฮฺ ข้าพเจ้าได้มีความหวังต่อพระองค์ แต่ข้าพเจ้ากลัวมนุษย์” **
* มุสลิมต้องเป็นผุ้เปลี่ยนแปลงโลก
** คำตอบที่ดีที่สุดคือการสารภาพในความผิด
ตอบอย่างเที่ยงตรง และจะพบพระเจ้าที่ทรงเมตตา
 
فأما ما خرجه الترمذيُّ ( ) ، وابنُ ماجه ( ) من حديث أبي سعيد أيضاً ، عن النَّبيِّ  أنَّه قال في خطبته : (( ألا لا يَمنعَنَّ رجلاً هيبةُ النَّاس أنْ يقول بحقٍّ إذا  علمه )) ، وبكى أبو سعيد ، وقال : قد واللهِ رأينا أشياءَ فهِبنا . وخرَّجه الإمام  أحمد ( ) ، وزاد فيه : (( فإنَّه لا يُقرِّب من أجلٍ ، ولا يُباعِدُ من رزقٍ أنْ يُقال بحقٍّ أو يُذَكِّرَ بعظيمٍ )) .
หะดีษอีกบทหนึ่งในคุฏบะฮฺ ท่านนบีสอนว่า “พึงทราบเถิด คนหนึ่งคนใดอย่าให้การที่หวาดกลัวผู้คน(เกรงใจคนอื่น) ห้ามเขาไม่ให้พูดความจริงที่ตนเองรู้”
อบูสะอี๊ดรายงานหะดีษแล้วก็ร้องไห้ และกล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า เราเคยเห็นความผิดและเกรงกลัวคนอื่นจึงไม่ได้พูด”
อีกสำนวนหนึ่งในบันทึกของอิมามอะหมัด “(ให้พูดความจริง เพราะ) มันจะไม่ทำให้เราตายเร็วกว่าที่อัลลอฮฺกำหนด และจะไม่ทำให้เราห่างไกลจากริสกีที่อัลลอฮฺกำหนดแล้ว"
 

 

 
 
WCimage
177