หัวข้อเรื่อง
ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 173 (หะดีษที่ 47/2)
- มุมมองของบรรดาสะลัฟในเรื่องความหิว-อิ่ม, ความอ้วน,
- อัลลอฮฺจะให้ความหิวเฉพาะคนที่พระองค์รัก,
- ผู้ใดที่อาหารน้อยจะเข้าใจและสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ, และจะเบาบาง(คือจะสดใส), อ่อนโยน,
- และการรับประทานอาหารมากเกินไปจะทำให้ความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ลดลง
- มุมมองของบรรดาสะลัฟในเรื่องความหิว-อิ่ม, ความอ้วน,
- อัลลอฮฺจะให้ความหิวเฉพาะคนที่พระองค์รัก,
- ผู้ใดที่อาหารน้อยจะเข้าใจและสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ, และจะเบาบาง(คือจะสดใส), อ่อนโยน,
- และการรับประทานอาหารมากเกินไปจะทำให้ความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ลดลง
สถานที่
มัสญิดบ้านตึกดิน ราชดำเนิน
วันที่บรรยาย
21 ชะอฺบาน 1435
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
17.30 mb
ความยาว
72.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
คลิ้กเพื่อรับฟัง/ดาวน์โหลด (คลิ้กขวา บันทึกเป็น.../Save as...)
วีดีโอ
รายละเอียด
วีดีโอ
الحديث السابع والأربعون
หะดีษที่ 47
عَنِ المِقدامِ بنِ مَعدِ يكرِبَ قالَ : سَمِعْتُ رَسولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم يَقولُ
ความว่า : จากมิกดาม บินมะอฺดีกะริบ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
ما مَلأ آدميٌّ وِعاءً شَرّاً مِنْ بَطْنٍ ،
"ลูกหลานอาดัมจะมีบรรจุภาชนะด้วยอาหารเลวร้ายไปกว่าท้องหรือกระเพาะของตนเอง
بِحَسْبِ ابنِ آدمَ أَكَلاتٌ يُقِمْنَ صُلْبَهُ ،
เพียงพอแล้วสำหรับลูกหลานอาดัมที่จะกินอาหารบางคำบางมื้อให้อยู่ได้
فإنْ كَانَ لا مَحالَةَ ، فَثُلُثٌ لِطعامِهِ ، وثُلُثٌ لِشَرابِهِ ، وثُلُثٌ لِنَفسه ))
แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องกิจมากกว่านั้น(มากกว่าหลายคำ) ก็ให้มีหนึ่งในสามสำหรับอาหาร และหนึ่งในสามสำรหับเครื่องดื่ม และหนึ่งในสามสำหรับไว้หายใจ"
رواهُ الإمامُ أحمَدُ والتِّرمِذيُّ والنَّسائيُّ وابنُ ماجَهْ ، وقَالَ التِّرمِذيُّ : حَدِيثٌ حَسَنٌ .
وروى المروذي عن أبي عبد الله قول ابن عمر هذا من وجوه ، فروى بإسناده عن ابن سيرين ، قال : قال رجل لابن عمر : ألا أجيئك بجوارش ؟ قال : وأيُّ شيء هو ؟ قال : شيءٌ يَهضِمُ الطعامَ إذا أكلته ، قال : ما شبعتُ منذ أربعةِ أشهر ، وليس ذاك أني لا أقدر عليه ، ولكن أدركت أقواماً يجوعون أكثرَ مما يشبعون ( ) .
4.16 อบีอับดิลลาฮฺ (อิมามอะหมัด) กล่าวว่า อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ถูกถามว่าคนที่กินอาหารอิ่มตลอด(บ่อยครั้ง) เขาจะรู้สึกหัวใจอ่อนโยนมั้ย ท่านตอบว่า ไม่น่าจะ
ชายคนหนึ่งมาบอกกับอิบนิอุมัรว่า ท่านอยากทานญะวาริชมั้ย ?
อิบนิอุมัรถามว่า ญะวาริชคืออะไร, มันเป็นพืชที่ช่วยย่อยอาหาร
อิบนิอุมัร - ฉันน่ะสี่เดือนไม่เคยกินอิ่มเลย จะกินพืชนี้ทำไม ไม่ใช่ว่าฉันไม่สามารถอิ่ม (ไม่ใช่ว่าจน) แต่ทว่า ข้าพเจ้าได้ร่วมสมัยกับบุคคลที่เขาหิวมากกว่าอิ่ม (หมายถึงท่านนบีและเศาะฮาบะฮฺ)
وبإسناده عن نافع ، قال : جاء رجل بجوارش إلى ابن عمر ، فقال : ما هذا ؟ قال : جوارش : شيءٌ يُهضَمُ به الطعامُ ، قال : ما أصنع به ؟ إنِّي ليأتي عليَّ الشهرُ ما أشبع فيه من الطعام ( ) .
وبإسناده عن رجلٍ قال : قلتُ لابنِ عمر : يا أبا عبد الرحمان رَقَّتْ مضغتك ، وكَبِرَ سِنُّكَ ، وجلساؤك لا يعرفون لك حَقَّك ولا شَرَفَك ، فلو أمرتَ أهلك أنْ يجعلوا لك شيئاً يلطفونك إذا رجعتَ إليهم ، قال : وَيْحَكَ ، واللهِ ما شبعتُ منذ إحدى عشرة سنة ، ولا اثنتي عشرة سنة ، ولا ثلاث عشرة سنة ، ولا أربع عشرة سنة مرَّة واحدة ، فكيف بي وإنَّما بقي مني كظِمْءِ الحمار ( ) .
وبإسناده عن عمرو بن الأسود العنسي أنَّه كان يدعُ كثيراً من الشبع مخافة الأشر ( ) .
อัมรฺ บินอัลอัสวัด จะละทิ้งความอิ่มเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตะกับบุร(ยโส, ความกล้าในการทำความชั่ว)
وروى ابن أبي الدنيا في كتاب " الجوع " ( ) بإسناده عن نافع ، عن ابنِ عمر ، قال : ما شبعتُ منذُ أسلمت .
อิบนุอบิดดุนยา (อุละมาอฺหะดีษสมัยศตวรรษที่ 4-5 ท่านได้รวบรวมหะดีษในหมวดเดียวกันเป็นเล่มๆ และท่านได้เขียนเล่มหนึ่งรวบรวมหะดีษเกียวกับความหิว – ท่านอับดุลลอฮฺอิบนุอุมัรกล่าวว่า ตั้งแต่เข้ารับอิสลาม ข้าพเจ้าไม่เคยอิ่ม
وروى بإسناده ( ) عن محمد بن واسع ، قال : مَنْ قلَّ طُعْمُه فهم ، وأفهم ، وصفا ، ورقَّ ، وإنَّ كَثرةَ الطَّعام ليُثقل صاحبه عن كثير مما يُريد .
อิบนุอะบิดดุนยา – มุฮัมมัด อิบนุวาสีอฺ “ผู้ใดที่อาหารน้อยจะเข้าใจและสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ, และจะเบาบาง(คือจะสดใส), อ่อนโยน, และการรับประทานอาหารมากเกินไปจะทำให้ความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ลดลง
وعن أبي عبيدة الخَوَّاص ، قال : حَتْفُكَ في شبعك ، وحَظُّك في جوعك ، إذا أنت شبعتَ ثقلتَ ، فنِمْتَ ، استمكن منك العدوُّ ، فجثم عليك ، وإذا أنت تجوَّعت كنت للعدو بمرصد ( ) .
อบีอุบัยยฺ อัลเคาวาซ “ความหายนะของท่านขึ้นอยู่กับความอิ่มของท่าน และโชคดีของท่านขึ้นอยู่กับความหิวของท่าน, หากท่านอิ่ม ท่านก็จะมีน้ำหนักเยอะ (ท่านจะไม่สดชื่น) จะง่วงและนอน ศัตรู(ชัยฏอน)ก็จะมาขี่คอ หากท่านหิว ท่านก็จะระวังศัตรูได้
وعن عمرو بن قيس ، قال : إيَّاكُمْ والبِطنة فإنَّها تُقسِّي القلب ( ) .
وعن سلمة بنِ سعيد قال : إنْ كان الرجلُ لَيُعيَّر بالبِطنة كما يُعير بالذنب يَعمَلُهُ ( ) .
พวกท่านจงระวังเรื่องความอ้วน (ความอิ่ม จุก) เพราะมันทำให้หัวใจกระด้าง
وعن بعض العلماء قال : إذا كنت بطيناً ، فاعدد نفسك زمناً حتى تخمص ( ) .
25.0 อุละมาอฺบางท่านบอกว่า หากท่านเป็นคนอ้วน ก็ให้ลดน้ำหนักระยะหนึ่งให้หุ่นดีหน่อย
وعن ابن الأعرابي قال : كانت العربُ تقول : ما بات رجلٌ بطيناً فتمَّ عزمُه ( ) .
อิบนุอะอฺรอบี – สุภาษิตอาหรับ “ไม่มีใครอ้วนๆ ที่นอนหลับทุกวันจะประสบความสำเร็จในชีวิต
وعن أبي سليمان الداراني قال : إذا أردتَ حاجةً من حَوائجِ الدُّنيا والآخرة ، فلا تأكل حتَّى تقضيها ، فإنَّ الأكلَ يُغير العقل ( ) .
หากท่านประสงค์อะไรสักอย่างจากดุนยา มีโครงการหรือสิ่งใดที่ต้องการจากอาคิเราะฮฺ ท่านอย่ากินจนกว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะการกินบ่อยจะเปลี่ยนสติปัญญา
وعن مالك بن دينار قال : ما ينبغي للمؤمن أنْ يكونَ بطنه أكبرَ همه ، وأنْ تكونَ شهوته هي الغالبة عليه ( ) .
มาลิก อิบนุดีนาร – ไม่สมควรสำหรับผู้ศรัทธาที่จะให้ท้องของเขาคือวัตถุประสงค์(เป้าหมาย)ใหญ่ในชีวิต
قال : وحدثني الحسنُ بن عبد الرحمان ، قال : قال الحسن أو غيره : كانت بلية أبيكم آدم أكلةً ، وهي بليتُكم إلى يوم القيامة ( ) .
อัลหะซันอัลบัศรีหรือท่านอื่น – โอ้มนุษย์ทั้งหลาย พึงทราบเถิดว่า ปัญหาของท่านนบีอาดัม (ที่ทำให้ออกจากสวรรค์) นั้นคืออาหาร ซึ่งอาหารคำนั้นก็จะเป็นปัญหาของพวกเจ้าจนกระทั่งวันกิยามะฮฺ
قال : وكان يُقال : من ملك بطنه ، ملك الأعمالَ الصالحة كلها ( ) ، وكان يُقال : لا تَسكُنُ الحِكمةُ معدة ملأى ( ) .
ภาษิตของคนรุ่นเก่า ผู้ใดที่สามารถควบคุมท้องตนเองได้ เขาก็สามารถควบคุมการงานทั้งหมดได้, ความรู้และปรัชญา จะไม่อยู่กับคนที่มีกระเพาเอิบอิ่ม(จนจุก)
وعن عبد العزيز بن أبي رواد قال : كان يُقال : قِلة الطعام عونٌ على التسرُّع إلى الخيرات ( ) .
คนโบราณกล่าวว่า อาหารน้อย(กินน้อย) ช่วยให้เรารีบเร่งในการทำความดี แต่ถ้ากินมากจะทำให้เราขี้เกียจ
وعن قثم العابد قال : كان يُقال : ما قلَّ طعمُ امرئٍ قطُّ إلا رقَّ قلبه ، ونديت عيناه ( ) .
คนรุ่นก่อนกล่าวว่า ผู้ใดอาหารน้อยหัวใจจะอ่อนโยน ดวงตาจะหลั่งไหลด้วยน้ำตา (ซาบซึ้งได้ง่าย)
وعن عبد الله بن مرزوق قال : لم نَرَ للأشر مثل دوام الجوع ، فقال له أبو
عبد الرحمان العمري الزاهد : وما دوامه عندك ؟ قالَ : دوامُه أنْ لا تشبع أبداً . قالَ : وكيف يقدر من كانَ في الدنيا على هذا ؟ قال : ما أيسرَ ذلك يا أبا عبد الرحمان على أهل ولايته ومن وفَّقه لطاعته ، لا يأكل إلا دونَ الشبع هو دوامُ الجوع ( ) .
ไม่มีอะไรที่รักษากิเลส (ตะกับบุร เย่อหยิ่ง กล้าหาญในการทำความชั่ว) นอกจากการให้หิวบ่อย
การถือศีลอดทำให้เราหิว หัวใจเราจะสงบอ่อนโยน
การรักษากิเลสโดยให้หิวบ่อยนั้นต้องให้หิวแค่ไหน ? อย่าให้อิ่มเลย
แล้วคนที่อยู่ในดุนยานี้เขาจะไหวเหรอ ? มันเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนใกล้ชิดกับอัลลอฮฺและผู้ที่อัลลอฮฺช่วยเหลือเขาในการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ
ويشبه هذا قول الحسن لما عرض الطعامَ على بعض أصحابه ، فقال له : أكلتُ حتى لا أستطيع أنْ آكل ، فقال الحسن : سبحان الله ويأكل المسلم حتى لا يستطيع أن يأكل ؟! ( ) .
37.4
อัลหะซัน – เลี้ยงอาหารเพื่อนๆ คนนึงบอกว่า อิ่มแล้ว กินจนกินไม่ได้แล้ว อัลหะซันบอกว่า “ซุบฮานัลลอฮฺ* มีด้วยเหรอมุสลิมที่กินจนจุกน่ะ”
(*ซุบฮานัลลอฮฺ – นบีและเศาะฮาบะฮฺมักจะใช้กับเรื่องแปลกๆ หรือเรื่องที่มีข้อตำหนิ คำว่า ซุบฮานัลลอฮฺ คือ มหาบริสุทธิ์แดอัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงไม่มีข้อตำหนิใดๆ)
وروى أيضاً بإسناده عن أبي عمران الجوني ، قال : كان يقال : من أحبّ أن يُنوَّرَ لهُ قلبُه ، فليُقِلَّ طُعمَه ( ) .
บรรพชนยุคแรกพูดว่า ผู้ใดอยากให้หัวใจสว่างให้กินน้อย
وعن عثمان بن زائدة قال : كتب إليَّ سفيان الثوري : إنْ أردت أنْ يصحَّ
جسمك ، ويَقِلَّ نومك ، فأقلَّ من الأكل ( ) .
ซุฟยาน อัษเษารี เขียนจดหมายถึงท่านอุษมานเพื่อนของท่านว่า ท่านอยากจะให้ร่างกายแข็งแรงและสามารถนอนน้อย (จะได้มีเวลาทำอิบาดะฮฺนาน อ่านหนังสือได้เยอะ) ให้กินน้อยๆ
وعن ابن السَّماك قال : خلا رجل بأخيه ، فقال : أي أخي ، نحن أهونُ على الله من أنْ يُجيعنا ، إنَّما يُجيع أولياءه .
มีชายคนหนึ่งเตือนพี่น้องเขาไปเตือนโดยลำพังว่า พี่จ๋า แท้จริงอัลลอฮฺไม่ต้องการหรอกที่จะให้เราหิว แต่อัลลอฮฺประสงค์จะให้ผู้ที่ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ อยู่ในสภาพที่ไม่อิ่ม(หิว) จะได้มีความสามารถทำอิบาดะฮฺเยอะ
-- หมายความว่ามนุษย์ทุกคนสามารถเลือกได้ ไม่ว่าจะร่ำรวยแค่ไหน แต่ก็เลือกที่จะอยู่อย่างยากจนได้ จุดเด่นของมนุษย์ที่ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น (เช่นมลาอิกะฮฺ) คือมนุษย์มีสิทธิ์เลือก สิ่งสำคัญอยู่ที่เราจะเลือกอะไร ความดีหรือความชั่ว
وعن عبد الله بن الفرج قال : قلت لأبي سعيد التميمي : الخائف يشبعُ ؟ قالَ : لا ، قلت : المشتاق يشبع ؟ قالَ : لا .
คนที่กลัวเขาจะกินจนอิ่มมั้ย ? คนที่คิดถึงคนอื่นเขาจะกินอิ่มมั้ย ? ไม่
คนที่กลัวอัลลอฮฺ กลัวนรก หรือคิดถึงอัลลอฮฺ ก็ไม่ควรที่จะอิ่ม
ริยาหฺ อัลก็อยซียฺ
وعن رياح القيسي أنه قُرِّبَ إليه طعامٌ ، فأكل منه ، فقيل لهُ : ازدد فما أراك شبعتَ ، فصاح صيحة وقال : كيف أَشبَعُ أيام الدنيا وشجرةُ الزقوم طعامُ الأثيم بين
يدي ؟ فرفع الرجلُ الطعام من بين يديه ، وقال : أنت في شيء ونحن في شيء ( ) .
قال المروذي : قال لي رجل : كيف ذاك المتنعمُ ؟ يعني : أحمد ، قلتُ له : وكيف هو متنعم ؟ قال : أليس يجد خبزاً يأكل ، وله امرأة يسكن إليه ويطؤها ، فذكرتُ ذلك لأبي عبد الله ، فقال : صدق ، وجعل يسترجِعُ ، وقال : إنا لنشبع .
อัลมัรรูซี (ลูกศิษย์อิมามอะหมัด)
المتنعمُ - เจ้าสำราญ -
وقال بشر بنُ الحارث : ما شبعت منذ خمسينَ سنة ، وقال : ما ينبغي للرجل أنْ يشبع اليوم من الحلال ؛ لأنَّه إذا شبع من الحلال ، دعته نفسُه إلى الحرام ، فكيف من هذه الأقذار ؟ ( )
وعن إبراهيم بن أدهم قال : من ضبط بطنه ، ضبط دينَه ، ومن ملك جُوعَه ، ملك الأخلاق الصالحة ، وإنَّ معصية الله بعيدةٌ من الجائع ، قريبةٌ من الشبعان ، والشبعُ يميت القلبَ ، ومنه يكونُ الفرحُ والمرح والضحك .
อิบรอฮีม อิบนุอัดฮัม – ผู้ใดที่ควบคุมท้อง, ควบคุมศาสนา, ผู้ใดที่บริหารความหิว ก็สามารถบริหารมารยาทอันดีงาม, การทำความผิดนี่ชั่งห่างไกลจากคนที่มีความหิวเสมอ การทำความผิดช่างใกล้ชิดกับคนที่อิ่มเสมอ, ความอิ่มสามารถทำให้หัวใจตาย (ไม่รับรู้สิ่งดีๆ จากวะฮยฺ คำสอนได้), การละเล่น(หัวเราะสนุกสนาน)มักจะเกิดจากอารมณ์คนอิ่ม
وقال ثابت البناني : بلغنا أنَّ إبليس ظهر ليحيى بن زكريا عليهما السّلام ، فرأى عليه معاليق من كلِّ شيءٍ ، فقال له يحيى : يا إبليس ، ما هذه المعاليقُ التي أرى عليك ؟ قال : هذه الشهواتُ التي أُصيبُ من بني آدم ، قال : فهل لي فيها شيءٌ ؟ قال : ربما شبعت ، فثقَّلناك عن الصَّلاة وعنِ الذِّكر ، قال : فهل غيرُ هذا ؟ قال :
لا ، قال : لله عليَّ أنْ لا أملأ بطني من طعام أبداً ، قال : فقال إبليس : ولله عليَّ أنْ لا أنصحَ مسلماً أبداً ( ) .
ษาบิต อัลบุนานี (ลูกศิษย์อนัส เป็นตาบิอีน) – อิบลีสปรากฏตัวต่อหน้าท่านนบียะหฺยา ท่านเห็นอิบลีสมีอะไรแยอะแยะที่ตัว จึงถามว่านี่อะไร
อิบลีส - นี่คือความอยาก(กิเลส)ต่างๆ ของลูกหลานอาดัม
นบียะหฺยา - แล้วที่แขวนนี่ มีอะไรของฉันมั้ย ?
อิบลีส – มี บางครั้งที่ท่านกินและอิ่ม เราก็ทำให้ท่านไม่มีอารมณ์ที่จะละหมาดหรือซิกรุลลอฮฺ
นบียะหฺยา – มีอย่างอื่นอีกมั้ย อิบลีสตอบว่าไม่มี
นบียะหฺยา – ข้าพเจ้าสาบานว่าต่อไปนี้จะไม่ให้กระเพาะฉันอิ่ม
อิบลีส – ข้าพเจ้าก็สาบานว่าต่อไปนี้จะไม่นะซีฮัตใครเลย
وقال أبو سليمان الداراني : إنَّ النفس إذا جاعت وعطشت ، صفا القلب ورقَّ ، وإذا شبعت ورويت ، عمي القلبُ ( ) ، وقال : مفتاحُ الدنيا الشبع ، ومفتاح الآخرة الجوع ، وأصلُ كلِّ خير في الدنيا والآخرة الخوف من الله ، وإنَّ الله ليُعطي الدنيا من يُحبُّ ومن لا يُحبُّ ، وإنَّ الجوع عنده في خزائن مُدَّخَرة ، فلا يُعطي إلا من أحبَّ خاصة ؛ ولأنْ أدعَ من عشائي لقمةً أحبُّ إليَّ من أن آكلها ثم أقوم من أوَّل الليل إلى آخره ( ) .
อบูสุลัยมาน – นัฟซูเมื่อหิวกระหาย หัวใจจะสดใสและอ่อนโยน แต่ถ้าอิ่มและหายกระหายแล้ว หัวใจจะบอด, กุญแจของดุนยาคือความอิ่ม กุญแจของอาคิเราะฮฺคือความหิว, รากฐาน (ที่กลับ,ที่มา)ของเรื่องดีๆ ในดุนยาและอาคิเราะฮฺ คือความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ
ดุนยานี้อัลลอฮฺให้ทั้งคนที่อัลลอฮฺรักและไม่รัก ความหิวของเราอัลลอฮฺจะจารึกไว้ ณ พระองค์ อัลลอฮฺจะให้ความหิวเฉพาะคนที่พระองค์รัก
ถ้าให้ฉันเลือกระหว่างอาหารคำนึง ฉันเลือกที่จะไม่กินดีกว่า เพื่อให้ละหมาดกิยามุลลัยลฺตั้งแต่ต้นจนท้าย(ละหมาดทั้งคืน)
มุมมองของสะลัฟในเรื่องการบริหารชีวิต เราควรนำมาปรับค่านิยมของเราในทุกๆเรื่อง ไม่มีใครบอกว่าอิสลามห้ามกินอาหารอร่อยหรือไม่ให้กินอิ่ม “อิ่มได้แต่อย่าบ่อย”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 215 views
WCimage