ซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ 146 (283-284)

Submitted by dp6admin on Tue, 03/11/2009 - 11:14
หัวข้อเรื่อง
การให้ยืม, สิทธิของเจ้าหนี้
สถานที่
บ้านพงษ์พรรฦก บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
12.00 mb
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

วีดีโอ



ตัฟซีรุซูเราะติลบะเกาะเราะฮฺ

อายะฮฺ 284-283  

   วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2550

ณ บ้านพงษ์พรรฦก

ภายหลังที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงหลักการศาสนาในการยืมที่เรียกร้องให้มีสักขีพยานยืนยันเพื่อรักษาสิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้ และให้การยืมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ป้องกันความขัดแย้งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ อายะฮฺต่อไปนี้อัลลอฮฺกล่าวถึงการรักษาสิทธิของเจ้าหนี้คือการให้มีสิ่งค้ำประกัน ซึ่งเป็นอายะฮฺที่อุละมาอฺได้อ้างในเรื่องการยืมหรือการค้ำประกัน อิสลามไม่เห็นด้วยที่จะให้การให้ยืมเงินเป็นวิถีทางในการแสวงหากำไรหรือทำมาหากินบนความเดือดร้อนของผู้อื่น เพราะการที่คนๆหนึ่งจะกู้ยืมนั้นก็เนื่องจากความเดือดร้อนหรือมีความต้องการ แต่สนับสนุนให้การกู้ยืมเป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือ หรือบริจาคทาน การรักษาสิทธิของเจ้าหนี้โดยให้มีสิ่งค้ำประกันนั้นเพื่อส่งเสริมให้เจ้าหนี้ได้มีจิตสำนึกและมีความปรารถนาที่จะช่วยคนอื่น เพราะถ้าไม่มีกติการองรับสิทธิของเจ้าหนี้เลย เขาก็จะไม่ประสงค์หรือกระตือรือร้นที่จะให้คนอื่นยืม ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า 

وَإِنْ كُنْتُمْ عَلَى سَفَرٍ وَلَمْ تَجِدُوا كَاتِبًا فَرِهَانٌ مَقْبُوضَةٌ فَإِنْ أَمِنَ بَعْضُكُمْ بَعْضًا فَلْيُؤَدِّ الَّذِي اؤْتُمِنَ أَمَانَتَهُ وَلْيَتَّقِ اللَّهَ رَبَّهُ وَلَا تَكْتُمُوا الشَّهَادَةَ وَمَنْ يَكْتُمْهَا فَإِنَّهُ آَثِمٌ قَلْبُهُ وَاللَّهُ بِمَا تَعْمَلُونَ عَلِيمٌ  

283. และถ้าพวกเจ้าอยู่ในระหว่างเดินทางและไม่พบผู้เขียนคนใด ก็ให้มีสิ่งค้ำประกันยึดถือไว้ แต่ถ้าบางคนในพวกเจ้าไว้ใจอีกบางคน(ลูกหนี้) ผู้ที่ได้รับความไว้ใจ (ลูกหนี้) ก็จงคืนสิ่งที่ถูกไว้ใจ(หนี้) ของเขาเสีย และเขาจงกลัวเกรงอัลลอฮฺผู้เป็นพระเจ้าของเขาเถิด และพวกเจ้าจงอย่าปกปิดพยานหลักฐาน และผู้ใดปกปิดมันไว้ แน่นอนหัวใจของเขาก็มีบาป และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ

  

" فَإِنْ أَمِنَ بَعْضُكُمْ بَعْضًا فَلْيُؤَدِّ الَّذِينَ اؤْتُمِنَ أَمَانَتَهُ "

رَوَى اِبْن أَبِي حَاتِم بِإِسْنَادٍ جَيِّد عَنْ أَبِي سَعِيد الْخُدْرِيّ أَنَّهُ قَالَ : هَذِهِ نَسَخَتْ مَا قَبْلهَا وَقَالَ الشَّعْبِيّ : إِذَا اِئْتَمَنَ بَعْضكُمْ بَعْضًا فَلَا بَأْس أَنْ لَا تَكْتُبُوا أَوْ لَا تُشْهِدُوا وَقَوْله " وَلْيَتَّقِ اللَّه رَبّه " يُعْنَى الْمُؤْتَمَن كَمَا جَاءَ فِي الْحَدِيث الَّذِي رَوَاهُ الْإِمَام أَحْمَد وَأَهْل السُّنَن مِنْ رِوَايَة قَتَادَة عَنْ الْحَسَن عَنْ سَمُرَة أَنَّ رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - قَالَ " عَلَى الْيَد مَا أَخَذَتْ حَتَّى تُؤَدِّيَهُ " . وَقَوْله " وَلَا تَكْتُمُوا الشَّهَادَة " أَيْ لَا تُخْفُوهَا وَتُغْلُوهَا وَلَا تُظْهِرُوهَا قَالَ اِبْن عَبَّاس وَغَيْره : شَهَادَة الزُّور مِنْ أَكْبَر الْكَبَائِر وَكِتْمَانهَا كَذَلِكَ وَلِهَذَا قَالَ " وَمَنْ يَكْتُمْهَا فَإِنَّهُ آثِمٌ قَلْبُهُ" قَالَ السُّدِّيّ يَعْنِي فَاجِر قَلْبه وَهَذِهِ كَقَوْلِهِ تَعَالَى" وَلَا نَكْتُمُ شَهَادَةَ اللَّهِ إِنَّا إِذًا لَمِنْ الْآثِمِينَ"

 

لِلَّهِ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ وَإِنْ تُبْدُوا مَا فِي أَنْفُسِكُمْ أَوْ تُخْفُوهُ يُحَاسِبْكُمْ بِهِ اللَّهُ فَيَغْفِرُ لِمَنْ يَشَاءُ وَيُعَذِّبُ مَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ 

284. สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้า และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้น เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และถ้าหากพวกเจ้าเปิดเผยสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเจ้าหรือปกปิดมันไว้ก็ตาม อัลลอฮฺจะทรงนำสิ่งนั้นมาชำระสอบสวนแก่พวกเจ้า แล้วพระองค์จะทรงอภัยโทษแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะทรงลงโทษแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง

อายะฮฺนี้พูดถึงการสอบสวนในสิ่งที่เรากระทำไม่ว่าจะเปิดเผยหรือปกปิดก็ตาม อายะฮฺต่อไปอัลลอฮฺสอนให้เราขออภัยโทษในสิ่งที่เราปกปิด จึงมีทัศนะว่าอายะฮฺที่ 284 นี้ถูกยกเลิก (คือการสอบสวนสิ่งที่เราคิดในใจ เช่น คิดจะดื่มเหล้าแต่ไม่ได้บอกใคร)

مَنْ قَالَ إِنَّ الآيَةَ مَنْسُوْخَة 

روى مسلم في صحيحه عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ لَمَّا نَزَلَتْ عَلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { لِلَّهِ مَا فِي السَّمَوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ وَإِنْ تُبْدُوا مَا فِي أَنْفُسِكُمْ أَوْ تُخْفُوهُ يُحَاسِبْكُمْ بِهِ اللَّهُ فَيَغْفِرُ لِمَنْ يَشَاءُ وَيُعَذِّبُ مَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ } قَالَ فَاشْتَدَّ ذَلِكَ عَلَى أَصْحَابِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَأَتَوْا رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثُمَّ بَرَكُوا عَلَى الرُّكَبِ فَقَالُوا أَيْ رَسُولَ اللَّهِ كُلِّفْنَا مِنْ الْأَعْمَالِ مَا نُطِيقُ الصَّلَاةَ وَالصِّيَامَ وَالْجِهَادَ وَالصَّدَقَةَ وَقَدْ أُنْزِلَتْ عَلَيْكَ هَذِهِ الْآيَةُ وَلَا نُطِيقُهَا قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَتُرِيدُونَ أَنْ تَقُولُوا كَمَا قَالَ أَهْلُ الْكِتَابَيْنِ مِنْ قَبْلِكُمْ سَمِعْنَا وَعَصَيْنَا بَلْ قُولُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيرُ قَالُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيرُ فَلَمَّا اقْتَرَأَهَا الْقَوْمُ ذَلَّتْ بِهَا أَلْسِنَتُهُمْ فَأَنْزَلَ اللَّهُ فِي إِثْرِهَا { آمَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنْزِلَ إِلَيْهِ مِنْ رَبِّهِ وَالْمُؤْمِنُونَ كُلٌّ آمَنَ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لَا نُفَرِّقُ بَيْنَ أَحَدٍ مِنْ رُسُلِهِ وَقَالُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيرُ } فَلَمَّا فَعَلُوا ذَلِكَ نَسَخَهَا اللَّهُ تَعَالَى فَأَنْزَلَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ { لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا لَهَا مَا كَسَبَتْ وَعَلَيْهَا مَا اكْتَسَبَتْ رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذْنَا إِنْ نَسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا } قَالَ نَعَمْ { رَبَّنَا وَلَا تَحْمِلْ عَلَيْنَا إِصْرًا كَمَا حَمَلْتَهُ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِنَا } قَالَ نَعَمْ { رَبَّنَا وَلَا تُحَمِّلْنَا مَا لَا طَاقَةَ لَنَا بِهِ } قَالَ نَعَمْ { وَاعْفُ عَنَّا وَاغْفِرْ لَنَا وَارْحَمْنَا أَنْتَ مَوْلَانَا فَانْصُرْنَا عَلَى الْقَوْمِ الْكَافِرِينَ } قَالَ نَعَمْ