ความสำคัญของวันอาชูรออฺ

Submitted by dp6admin on Tue, 01/12/2009 - 08:59
หัวข้อเรื่อง
การวางแผนงานของมุสลิม, วันสำคัญและการฉลองของมุสลิม, ความประเสริฐของวันและเดือนต่างๆ
สถานที่
โรงเรียนศาสนูปถัมภ์
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
8.30 mb
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

 

2. การถือศีลอดวันที่ 10 มุฮัรรอม ที่เราเรียกกันว่า อาชูรออฺ
 
ซึ่งเป็นวันที่มีเกียรติในศาสนาอื่นด้วย เช่น ศาสนายิว เพราะเป็นวันที่ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ได้รับความปลอดภัยจากฟิรเอานฺ จึงเป็นวันแห่งการขอบคุณของบนีอิสรออีล และเป็นที่รู้กันดีว่าท่านนบีมูซาได้ถือศีลอดในวันนี้ เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และท่านได้ทราบว่าชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺกำลังถือศีลในวันนั้น ท่านนบีจึงประกาศให้เป็นวันถือศีลอดของชาวมุสลิมด้วย โดยกล่าวว่า
 
أَنَا أَحَقُّ بِمُوْسَى مِنْكُمْ فَصَامَهُ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ
 
“ฉันมีข้อเกี่ยวพันกับมูซามากกว่าพวกท่าน(โอ้ชาวยิว)” ท่านนบีจึงถือศีลอดวันนั้นและใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดด้วย” (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)
 
บรรดานักปราชญ์อิสลามชี้แจงว่า ในช่วงแรกการถือศีลอดวันอาชูรออฺ(สิบมุฮัรรอม)เป็นวาญิบ(จำเป็นต้องปฏิบัติ) เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่มีการใช้ให้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน จึงถือเป็นการถือศีลอดฟัรฎูของมุสลิม แต่หลังจากที่มีบทบัญญัติใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นฟัรฎู แล้วท่านนบีก็ไม่ได้บังคับให้ถือศีลอดในวันนี้ แต่ยืนยันในความประเสริฐด้วยถ้อยคำอันชัดเจน เช่น
 
سُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَاشُوْرَاءَ فَقَالَ يُكَفِّرُ السَّنَةَ المَاضِيَةَ
ท่านนบีถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านตอบว่า “ลบล้างความผิดตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา” (บันทึกโดยมุสลิม)
 
ดังนั้น บรรดาอุละมาอฺจึงมีความเห็นตรงกันถึงความประเสริฐของการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ แต่อุละมาอฺส่วนมากมีความเห็นชอบให้ถือศีลอดวันตาซูอาอฺไปด้วย คือวันที่ 9 ของเดือนมุฮัรรอม (ตาซูอาอฺ) ซึ่งท่านนบี  ได้กล่าวว่า
 
لَئِنْ بَقِيْتُ إِلَى قَابِلٍ َلأَصُوْمَنَّ التَّاسِعَ وَالعَاشِرَ
“หากฉันมีชีวิตถึงปีหน้า แน่นอน ฉันจะถือศีลอดวันที่เก้าและวันที่สิบ” (บันทึกโดยอิมามอะหมัด)
 
และอุละมาอฺบางท่านมีความเห็นชอบให้ถือศีลอดวันที่ 11 รวมไปด้วย เพราะมีหะดีษบทหนึ่งบ่งชี้ถึงการถือศีลอดวันก่อนอาชูรออฺและวันหลังอาชูรออฺ แต่เนื่องจากหะดีษนี้มีสายสืบอ่อนมาก(ฎออีฟญิดดัน) จึงไม่ควรนำมาใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ