ซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ 12 (อายะฮฺที่ 47-50 นบีมูซาและบนีอิสรออีล)

Submitted by dp6admin on Tue, 02/08/2016 - 12:27
สถานที่
บ้านพงษ์พรรฦก บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ความยาว
100.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

วีดีโอ

สไลด์ : 47 48 49 50  สายตระกูลบนีอิสรออีล, เส้นทางการอพยพ 1, เส้นทางการอพยพ 2, อาณาจักรของฟิรอาวน์(รามเสส), สิ่งก่อสร้างของฟิรอาวน์ 1, สิ่งกอสร้างฟิรอาวน์ 2

สไลด์ : albaqarah047.pdf

من هو فرعون موسى ؟ ฟิรอาวนฺ มูซา คนไหน
หลังจากเซติที่ 1 เสียชีวิต บุตรชายคนโต (รามเสสที่ 2) ขึ้นรับตำแหน่งและปกครองเมืองอียิปต์ 67 ปี และนบีมูซาเกิดในสมัยของกษัตริย์คนนี้ ในต้นศตวรรษที่ 16 ก่อน ค.ศ. 
อาณาจักรอียิปต์ในยุครามเสสที่ 2 เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในยุคที่ 3 ของอารยธรรมอียิปต์โบราณ เมืองศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่ฏ็อยบะฮฺ ทางใต้ของอียิปต์ และเมืองหลวงอยู่ที่ "บัรรามสีส" ปัจจุบันเมืองก็อนตีร จังหวัดชัรกียะฮฺ ประเทศอียิปต์
 
من هو موسى؟  มูซาเป็นใคร ?
ท่านนบีมูซาเป็นนบีจากวงศ์วานอิสรออีล ซึ่งดำรงชีวิตในอียิปต์ตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยนบียะอฺกู๊บ(อิสรออีล)อพยพจากฟิลิสฏีนมายังอียิปต์สมัยนบียูซุฟ
บิดาของท่านชื่อ อิมรอน
มารดาของท่านชื่อ “อายารคา” หรือ “อายารคัต” (ตามสุไฮลี) หรือ “ลูฮา” (ตามสะอฺละบี)
ท่านกำเนิดในสมัยรามเสสที่ 2 ซึ่งได้ฝันว่าอาณาจักรของเขาจะล่มสลายด้วยน้ำมือของบนูอิสรออีล จึงสั่งให้ประหารชีวิตเด็กชายทุกคนที่เกิดในตระกูลบนูอิสรออีล เมื่อมารดาของมูซารู้ ก็นำลูกใส่ในหีบและโยนลงแม่น้ำไนล์ แต่ภรรยาของฟิรเอานฺได้พบและนำไปเลี้ยงในวัง โดยฟิรเอานฺไม่รู้
 
ประวัติวงศ์วานอิสรออีลโดยสังเขป
บนูอิสรออีลอาศัยอยู่ในเมืองอียิปต์ รักษาเชื้อสายอย่างเข้มงวด และอนุรักษ์หลักศรัทธาในการให้เอกภาพแด่พระผู้เป็นเจ้า ทำให้ชาวอียิปต์ซึ่งบูชาเจว็ดไม่พอใจ และถูกอธรรมข่มเหงจากฟิรเอานฺและวงศ์วานของเขา
อัลลอฮฺทรงส่งนบีมูซาเพื่อเชิญชวนฟิรเอานฺให้ศรัทธาต่อพระองค์ และปล่อยวงศ์วานอิสรออีลให้เป็นชาติอิสระ แต่ฟิรเอานฺปฏิเสธและไม่อนุญาตให้วงศ์วานอิสรออีลอพยพจากอียิปต์
อัลลอฮฺทรงบัญชาให้นบีมูซานำบนูอิสรออีลอพยพจากอียิปต์ไปยังฟิลิสฏีน
 
فرقنا بكم البحر การแยกทะเล
ท่านนบีมูซาตีทะเลด้วยไม้เท้าของท่าน
ทะเลแยกเป็นสองซีก แต่ละซีกเสมือนภูเขาลูกใหญ่
มีรายงานว่าเส้นทางที่อัลลอฮฺทรงเตรียมให้วงศ์วานอิสรออีลมี 12 ทาง พอดีกับจำนวนเผ่าวงศ์วานอิสรออีล 12 เผ่า แต่เป็นรายงานที่ไม่น่าเชื่อถือนักและไม่มีปรากฏจำนวนเส้นทางในอัลกุรอาน แต่มีปรากฏในคัมภีร์เตารอฮฺ จึงเป็นเรื่องที่ศาสนาอิสลามไม่ได้ใช้ให้เชื่อหรือปฏิเสธ
 
البحر  ทะเลที่มูซากับบนูอิสรออีลข้ามอยู่ที่ไหน?
ทัศนะอุละมาอฺอิสลามส่วนมากเห็นว่า ทะเลที่นบีมูซาข้ามคือ ทะเลแดง มีชื่อโบราณว่า ทะเลกุลซุม ซึ่งปลายทะเลแดงนี้มีอ่าวแยกเป็นสองอ่าว อ่าวอะกอบะฮฺ มุ่งเข้าไปสู่ดินแดนชาม และ อ่าวสุเวซ (เดิมเรียก อ่าวกุลซุม) อยู่ระหว่างดินแดนอียิปต์และเกาะซีนัยนฺ ตอนปลายของอ่าวสุเวซเป็นสถานที่ที่ท่านนบีมูซาข้ามทะเล ซึ่งระยะทางไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตร เพราะสำหรับอ่าวสุเวซ ระยะกว้างที่สุด 70-80 กม. 
เส้นทางที่ท่านนบีมูซาอาศัยข้ามทะเลนั้นอัลลอฮฺทรงให้เป็นเส้นทางที่แห้งและสะดวกในการเดินทาง ถ้ากองทัพของวงศ์วานอิสรออีลอยู่ในหลักแสน จำเป็นต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ชม. 
 
وأغرقنا آل فرعون  การจมน้ำของฟิรอาวนฺ
 นักประวัติศาสตร์ไม่ขัดแย้งกันในเหตุการณ์นี้ แต่มีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับตัวฟิรอาวนฺที่จมน้ำไป 
บางทัศนะเชื่อว่า เป็น มะรันบิตาหฺ (บุตรของรามเสสที่ 2) ซึ่งศพของเขาเพิ่งถูกพบในอาคารฝังเป็นมัมมี่และถูกนำไปวิจัยทางประวัติศาสตร์ในประเทศฝรั่งเศส ปรากฏว่าพบเกลือทะเลในลำคอของศพ จึงมีการวิเคราะห์ว่าอาจเกิดจากการจมน้ำ 
แต่มีอีกทัศนะหนึ่งเชื่อว่าฟิรอาวนฺที่จมไปคือ รามเสสที่ 2 เอง
 
ลักษณะการจมน้ำของฟิรอาวนฺ
ถูกระบุในหลายซูเราะฮฺ แต่สรุปได้ว่า เมื่อท่านนบีมูซากับบนูอิสรออีลข้ามทะเลไปแล้ว ฟิรอาวนฺกับวงศ์วานของเขาได้ตามท่านนบีมูซา แต่เมื่อกองทัพทั้งหมดอยู่ในกลางทาง ท่านนบีมูซาได้ตีทะเลด้วยไม้เท้าอีกครั้งหนึ่ง ทำให้น้ำทะเลกลับสู่สภาพเดิม และฟิรเอานฺได้จมน้ำไป แต่ก่อนตายได้กล่าวว่า “ข้าศรัทธาว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระเจ้าที่บนูอิสรออีลได้ศรัทธา” แต่เป็นการศรัทธาที่ใช้ไม่ได้ เพราะอยู่ในขั้นตอนที่กำลังเสียชีวิต
 
วงศ์วานอิสรออีลอพยพจากอียิปต์เมื่อใด ?
ในสมัย ฟิรอูน (เราะอฺ โมเสส หรือ รามเสสที่ 2) และบุตรของเขา (มะรันบิตาหฺ) วงศ์วานอิสรออีลออกจากอียิปต์ในปี 1350 ก่อนคริสต์ศักราช
ในบางรายงานของคัมภีร์เตารอฮฺ และมีปรากฏเป็นการรายงานของนักมุฟัสสิรีนมุสลิมว่า จำนวนประชากรวงศ์วานอิสรออีลประมาณหกแสนคน แต่อิมามอิบนุกะษีรบอกว่า เป็นจำนวนที่ต้องวิเคราะห์ เพราะนบียะอฺกู๊บ(อิสรออีล) ซึ่งเป็นต้นตระกูลเข้าอียิปต์และมีบุตรหลานไม่ถึงร้อยคน จึงต้องถามว่าจำนวนน้อยเท่านี้กลายเป็นหลายพันเท่าในเวลาไม่กี่สมัยได้อย่างไร?
 
فضيلة اليوم الذي نجى الله فيه موسى من فرعون 
ความประเสริฐของวันที่อัลลอฮฺทรงให้มูซาปลอดภัยจากฟิรฺเอานฺ
จากรายงานของอิบนิอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า 
ท่านนบี ถึงเมืองมะดีนะฮฺ(เมื่ออพยพจากมักกะฮฺแล้ว)ได้พบชาวยิวถือศีลอดวันอาชูรออฺ(วันที่สิบมุฮัรรอม) ท่านจึงถามว่า "วันนี้เป็นวันอะไรที่พวกท่านถือศีลอดอยู่" ชาวยิวตอบว่า "นี่คือวันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮฺทรงให้มูซาและกลุ่มชนของเขาปลอดภัยและทรงให้ฟิรอูนกับกลุ่มชนของเขาจมน้ำไป ดังนั้น มูซาจึงถือศีลอดในวันนี้เพื่อขอบพระคุณ เราจึงถือศีลอดในวันนี้ด้วย" ท่านร่อซูลุลลอฮฺ y กล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้น เรามีสิทธิและมีความสมควรต่อมูซามากกว่าพวกท่าน(ชาวยิว)" ท่านนบีจึงถือศีลอดวันนั้นและใช้ให้ถือศีลอด
 
الفوائد والعبر  บทเรียน 
أفضلية الأمة المحمدية منوط بمحافظتها على مواثيق الرب .
ความประเสริฐของประชาชาติอิสลามขึ้นอยู่กับการรักษาคำสัญญามั่นและหลักการศาสนาที่มาจากอัลลอฮฺ
الخوف من يوم القيامة والاستعداد ليوم الحساب .
ให้เกรงกลัววันกิยามะฮฺและเตรียมตัวเพื่อวันแห่งการตอบแทน
الابتلاء طريق التفضيل .
การทดสอบอีมานเป็นสัญลักษณ์แห่งความประเสริฐ
الثبات على الحق حتى مع فوات النفس وهلاك الأهل والمال والولد .
การยืนหยัดบนหนทางแห่งสัจธรรมถึงแม้ว่าจะสละชีวิตหรือครอบครัวหรือทรัพย์สินหรือลูกหลาน
معونة الله للواثقين والصابرين .
ความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺย่อมอยู่กับผู้เชื่อมั่นและอดทน