หิญาบของมุอฺมินาต 3

Submitted by dp6admin on Tue, 01/12/2009 - 15:59

 

มุสลิมะฮฺทั้งหลาย เคยถามตัวเองว่าพอใจในหิญาบของตนเองแล้วใช่ไหม?? หากเธอเดินไปกับญาติพี่น้องที่ยังไม่คลุมหิญาบ จะเห็นข้อแตกต่าง การปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเราสบายใจแล้วหรือ? วิธีการแก้ปัญหาคือแนะนำให้เขาปฏิบัติตามหลักการ ซึ่งการจะให้ความรู้แก่เขาก็ต้องมีการวางแผน ซึ่งเป็นศักยภาพของมุสลิมะฮฺที่จะลำดับความสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์ การวางแผนและติดตามผล

ตัวอย่างในการลำดับบทบาท  
 
ตัวอย่างแรก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวกับท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า ท่านนบีปรารถนาที่จะรื้อกะบะฮฺและสร้างใหม่ให้เหมือนสมัยของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม แต่ฉันจะไม่ทำ เพราะหากรื้อแล้วสร้างใหม่ในตอนนี้ชาวกุเรชที่เพิ่งเข้ารับอิสลามจะเกิดการ ต่อต้าน นี่เป็นตัวอย่างของการลำดับโครงการที่จะทำตามความเหมาะสม ความรู้ในเรื่องนี้ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะมาลดทอนพลังในการทำ งานของเรา เช่น เมื่อเราต้องปะทะกับคนที่ต่อต้านเรื่องหิญาบ การที่เราจะเถียงกลับไปไม่เกิดประโยชน์ เพราะคนพวกนี้ชำนาญในการยุแหย่ คนจำพวกนี้ไม่หวังในความรู้อันเป็นสัจธรรม มันไม่เกิดประโยชน์ในการเรียกร้องเชิญชวนสู่อิสลาม บางคนได้รับคำตักเตือนไม่กี่ครั้งก็นำมาปฏิบัติ แต่บางคนจะให้เตือนซ้ำแล้วซ้ำอีก มันก็เป็นการเสียเวลาไม่เกิดประโยชน์ แต่หากเก็บแรงเอาเวลาไปใช้กับคนอื่นๆ น่าจะดีกว่า จึงต้องอาศัยการลำดับหน้าที่และบทบาทมาช่วย

เราจะลำดับความสำคัญของแต่ละเรื่องที่สำคัญๆ อย่างไรนั้น  ก่อนอื่นต้องรู้เป้าหมายของศาสนาว่าคืออะไร   มี ๓ เรื่องที่ต้องศึกษา

๑) ฎอรูรียาตหรือฎอรูเราะฮฺ คือเรื่องสำคัญที่ละทิ้งไม่ได้เลย
๒)  ฮาญิยาต คือเรื่องที่มีความสำคัญแต่ไม่ถึงขั้นฎอรูเราะฮฺ หากละทิ้งจะลำบากแต่ไม่ถึงขั้นหายนะ
๓)  ตะหฺตีนียาต เรื่องที่ประดับประดา

ทั้งสามเรื่องนี้ต้องเรียงลำดับให้ดี
 
ตัวอย่างที่ ๒  กำลัง จะละหมาดซุนนะฮฺหลังละหมาดซุหริ มีคนโทรมาขอสูตรทำอาหาร แต่การละหมาดสำคัญกว่า อย่างนี้เราควรไปละหมาดให้เสร็จเรียบร้อยก่อนแล้วค่อยว่ากัน หรืออีกกรณีมุสลิมะฮฺโทรมาปรึกษาปัญหาครอบครัวหากไม่ได้รับคำปรึกษาครอบครัว อาจจะแตกแยกได้ เช่นนี้ให้ไปช่วยเหลือพี่น้องก่อน ส่วนละหมาดซุนนะฮฺล่าช้าได้หรือละหมาดใช้ได้ เพราะหากไม่ช่วยเขาอาจจะถึงขั้นหายนะ แต่ สำหรับฟัรฎูทิ้งไม่ได้นอกจากบางกรณี เช่น กำลังอะซาน เราก็เตรียมตัวจะละหมาด แต่ข้างบ้านเกิดไฟไหม้ อย่างนี้ต้องรีบไปช่วยชีวิตเพื่อนบ้านก่อนเพราะอาจจะมีคนเสียชีวิต ชีวิต สำคัญมากไม่อาจชดเชยได้ แต่การละหมาดฟัรฎูสามารถล่าช้าหรือชดเชยได้, หรือกรณีปกติเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วหรือเนื้อหมูทานไม่ได้ แต่หากอยู่ในสภาวะที่ลำบาก ถ้าไม่ทานจะถึงแต่ชีวิตก็อนุโลมให้ทานได้เพื่อรักษาชีวิต
 

ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับความจำเป็นในศาสนา ซึ่งเรียงลำดับดังนี้ ๑) รักษาชีวิต ๒) รักษาศาสนา ๓) สติปัญญา ๔) ทรัพย์สิน ๕) รักษาเกียรติยศ  ทั้งหมดต้องพยายามลำดับในชีวิตของเราเพื่อเป็นบรรทัดฐาน เช่นเดียวกันในเรื่องของศาสนามีหุกุ่มแตกต่างกันตั้งแต่ฟัรฎู วาญิบ มุซตะฮับ มุบาหฺ หะรอม มักรูหฺ ก็ต้องเรียงลำดับตามความสำคัญ
 
การที่จะมีความรู้เรื่องสถานการณ์ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้สอนไว้ในซูเราะฮฺอันนิสาอฺ อายะฮฺ 83 ซึ่งมีความหมายว่า

 وَإِذَا جَاءَهُمْ أَمْرٌ مِّنَ الْأَمْنِ أَوِ الْخَوْفِ أَذَاعُوا بِهِ ۖ وَلَوْ رَدُّوهُ إِلَى الرَّسُولِ وَإِلَىٰ أُولِي الْأَمْرِ مِنْهُمْ لَعَلِمَهُ الَّذِينَ يَسْتَنبِطُونَهُ مِنْهُمْ ۗ وَلَوْلَا فَضْلُ اللَّـهِ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَتُهُ لَاتَّبَعْتُمُ الشَّيْطَانَ إِلَّا قَلِيلًا ﴿٨٣﴾

“และเมื่อมีเรื่องหนึ่งเรื่องใดมายังพวกเขา จะเป็นความปลอดภัยก็ดีหรือความกลัวก็ดี พวกเขาก็จะแพร่มันออกไป และหากว่าพวกเขาให้มันกลับไปยังรอซูลและยังผู้ปกครองการงานในหมู่พวกเขาแล้ว แน่นอนบรรดาผู้ที่วินิจฉัยมันในหมู่พวกเขาก็ย่อมรู้มันได้ และหากมิใช่ความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเจ้าแล้ว แน่นอนพวกเจ้าก็คงปฏิบัติตามชัยฏอนไปแล้ว นอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น”

          อัลลอฮฺทรงตำหนิกลุ่มหนึ่งเมื่อมีเรื่องขณะมีสงครามหรือขณะปลอดภัย พวกเขาเอาเรื่องไปวิพากษ์วิจารณ์ คือการเอาเรื่องสาธารณะเรื่องใหญ่ในสังคมไปพูดโดยปราศจากความรู้ เช่น เรื่องแอ๊ดคาราบาวเข้ารับอิสลาม วิจารณ์กันไปต่างๆนานา เข้ารับจริงหรือเปล่า? เข้ารับอิสลามเพราะกลัวหรือเปล่า? ฯลฯ นั่นเป็นการวิจารณ์แบบชาวบ้านๆ ไม่มีความรู้เรื่องหลักการศาสนา แต่สิ่งที่ต้องติดตามดูคือความประพฤติหลังจากเขาเข้ารับอิสลามแล้วเพื่อเป็น การแนะนำตักเตือนต่อไป นี่เป็นตัวอย่างการตำหนิพวกที่วิจารณ์โดยที่ไม่ให้ผู้รู้เกี่ยวกับสถานการณ์ นั้นๆเป็นผู้วิเคราะห์ และหากเรามีข้อที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคม เราต้องศึกษาสถานการณ์  การมีบทบาทในสังคมโดยปราศจากความรู้นั้นไม่ได้ โดยเฉพาะมุสลิมะฮฺที่คลุมหิญาบและวาญิบที่ต้องเพิ่มพูนความรู้ของตนเองอยู่ตลอด  หาก มุสลิมะฮฺที่ทำงานเคลื่อนไหวในสังคมคุยกันผู้คนเรื่องศาสนาแต่พอถูกถาม เรื่องสถานการณ์แต่กลับไม่รู้เรื่องอะไรเลย ไม่สมควรอย่างยิ่ง
         
เรื่องสถานการณ์ มี ๓ ประการสำคัญที่ต้องเรียนรู้

๑) ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ ซึ่งมีผลเกี่ยวโยงกับการวางแผน

๒) ยุคสมัย เวลา

๓) องค์ประกอบของสถานการณ์

เช่น เราจะเรียกร้องสตรีมุสลิมคนหนึ่งให้คลุมหิญาบ เราก็ต้องศึกษาว่าทำไมเขาถึงไม่คลุม บางครั้งการแนะนำตักเตือนว่าเป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ เรื่องนี้เขาทราบแล้ว แต่ปัญหาที่ต้องแก้ไขคือโรคทางจิตใจเป็นโรคที่ชอบอวดความสวยงาม ซึ่งเป็นโรคที่กำลังระบาดในปัจจุบัน อีกกรณีเป็นเพื่อนบ้านกันคนหนึ่งคลุมหิญาบอีกคนไม่คลุม คนที่ไม่คลุมไม่เคยรู้เลยว่าหิญาบเป็นเรื่องวาญิบ แต่กลับเข้าใจว่าเฉพาะคนที่ไปทำฮัจญฺแล้ว เราก็ต้องศึกษาและวางแผนว่าเราจะเข้าหาหัวใจเขาอย่างไรโดยดูองค์ประกอบข้าง เคียงด้วย เช่น สภาพแวดล้อมหรือคนรอบๆตัวเขา บางครั้งเราแนะนำเรื่องศาสนากับคนหนึ่งแต่คนรอบข้างเขากลับมากระซิบในทางตรง กันข้าม เราต้องสร้างความมั่นคงในจิตใจเขาโดยบอกก่อนว่า อย่าเชื่อนะคนพวกนี้ชอบยุแหย่ พยายามทำลายอีมานของเรา พวกนี้ชอบทำให้ตนอยู่เหนืออัลลอฮฺและร่อซูล ทั้งๆ ที่ความจริงอัลลอฮฺและร่อซูลอยู่เหนือกว่าทุกคนอยู่เหนือทุกอย่าง  โดยเฉพาะคนที่ทำงานศาสนา[1] นี่เป็นข้อที่เราต้องศึกษาเพื่อเพิ่มคุณภาพแก่ตัวเราเอง

 

ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์  มี 3 ประการที่ต้องศึกษา

ด้เแก่ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม  เพราะมุสลิมเราต้องรอบคอบไม่ใช่อยู่ที่มัสญิดเท่านั้น การจะดะอฺวะฮฺคนอื่นหากเราสามารถช่วยเขาได้ทุกๆ เรื่องนั้นเป็นการดีกว่า บทบาทมุสลิมะฮฺในสังคมมิได้มีแค่ชักชวนให้คลุมหิญาบเท่านั้น 

  • ด้านการเมือง มีตัวอย่างมุสลิมะฮฺในปาเลสไตน์ (beit hanoun) คลุมหิญาบเรียบร้อย นัดกันชุมนุมเดินขบวนโดยไร้อาวุธเพื่อไปปิดกั้นทหารอิสราเอลที่กำลังล้อม มัสยิดซึ่งมีกลุ่มมุญาฮิดีนอยู่ เพราะหากไม่เช่นนั้นมัสญิดจะโดนถล่มโดนระเบิดแน่ การล้อมของมุสลิมะฮฺเพื่อไปเบี่ยงเบนความสนใจให้พวกทหารหันมาสู้กับมุสลิมะ ฮฺ ขณะที่เหล่ามุญาฮิดีนกำลังหนีออกจากมัสญิด นี่ไม่ใช่เรื่องการคลุมหิญาบ แต่เป็นเรื่องญิฮาด (อุละมาอฺบอกว่า การญิฮาดเพื่อป้องกันแผ่นดิน ป้องกันชีวิตนั้นไม่จำกัดเพศในการออกมาทำหน้าที่)  ผู้นำของมุสลิมะฮฺกลุ่มนี้เป็นถึงดอกเตอร์สาขาเคมีที่คลุมหิญาบเรียบร้อย ต่อมาเมื่ออิสราเอลรู้ว่าผู้นำกลุ่มนี้เป็นใคร ก็ใช้ระเบิดน้ำหนักถึง ๕,๐๐๐ กิโลกรัมถล่มบ้าน เป็นเหตุให้ผู้นำกลุ่มนี้เสียชีวิตลง รวมถึงมุสลิมะฮฺที่ร่วมเดินขบวนด้วยอีก ๒ คนและบาดเจ็บอีกหลายสิบคน

นี่เป็นตัวอย่างที่นำมาพิจารณาในบ้านเมืองเรา มุสลิมะฮฺในบ้านเรามีปัญหาอะไรบ้าง เช่น การคลุมหิญาบในหน่วยงานราชการ เอกชน หรือสถานที่ละหมาด พยาบาลคลุมหิญาบไม่ได้ เป็นต้น โดยให้มีกลุ่มหนึ่งรวบรวมปัญหาเหล่านี้และเสนอต่อสภานิติบัญญัติเพื่อให้ รัฐบาลคำนึงถึงเป็นพิเศษในเรื่องนี้ เพราะหากเราไม่บอก พวกเขาก็ไม่รู้  ถ้า วันหนึ่งมีรัฐมนตรีสั่งห้ามมุสลิมะฮฺคลุมหิญาบเช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสจะ ทำอย่างไร เรื่องหิญาบในยุโรปเกิดจากคนส่วนมากไม่มีความรู้ไม่รู้จักหิญาบ เพราะมุสลิมะฮฺรุ่นแรกๆ ไม่ให้ความสำคัญกับหิญาบ ปล่อยปละละเลย เมื่อมุสลิมะฮฺรุ่นหลังๆมีความกระตือรือร้นในเรื่องศาสนา อยากจะคลุมหิญาบ ชาวยุโรปส่วนมากที่ไม่มีความรู้ก็ต่อต้าน มุสลิมะฮฺจึงรวมตัวกันตั้งองค์กรรณรงค์เพื่อการคลุมหิญาบโดยเฉพาะและให้ความ รู้กับคนทั่วไปรวมถึงองค์กรต่างๆในเรื่องบทบัญญัติการคลุมหิญาบของมุสลิมะฮฺ นี่เป็นเรื่องการเมืองที่มุสลิมะฮฺควรจะเรียกร้องสิทธิ
 

  • ด้านเศรษฐกิจ  เรื่องนี้มุสลิมะฮฺห่างไกลไม่ได้ มุสลิมะฮฺสามารถมีบทบาทในการทำให้อิสลามมีเศรษฐกิจที่มั่นคงเริ่มตั้งแต่ใน ครอบครัว เราต้องเรียนรู้ในการบริหารการเงินแบบประหยัด รู้จักความพอเพียง ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเรื่องต่างๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะเมื่อรวมตัวกันไปกลุ่มกันวางแผนเพื่อให้สังคมประหยัดเงินและเวลาในการดำเนินโครงการต่างๆ
     

เรื่องการวางแผนและติดตามผล
 

ในอัลกุรอานอัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความหมายว่า “พวกเจ้าจงเตรียมพร้อมไว้ ซึ่งความสามารถทุกประการด้านพลังในการต่อสู้ กับเพื่อต่อสู้กับศัตรูของอิสลาม” การจะทำอะไรเพื่อศาสนาอิสลาม เราต้องมีการเตรียมพร้อม การวางแผนขึ้นอยู่กับ ๓ ประการสำคัญ ได้แก่ การประเมินผล เช่น การประเมินว่าโครงนี้ทำแล้วจะได้ผลไหม อย่างไร ศึกษาให้รอบคอบก่อนจะทำ หากไม่ได้ผลดีก็ไม่ควรทำ

  • โดยวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน
  • คาดหวังในการทำงาน เช่น ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
  • ติดตามผล เช่น ข้อเสีย-ข้อดีในการทำงาน แนวทางการแก้ไข