หิญาบของมุอฺมินาต 2

Submitted by dp6admin on Tue, 01/12/2009 - 15:45

.

.

สิ่งที่เราจะนำมาประดับประดาชีวิตให้สมบูรณ์มีอยู่ ๒ ประการคือ 

๑) มารยาทและมนุษยสัมพันธ์

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า

اتَّقِ اللهَ حَيْثُمَا كُنْتَ وَأَتْبِعِ السَّيِّئَةَ الحَسَنَةَ تَمْحُهَا وَخَالِقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ

 “พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺในทุกสถานที่ที่เจ้าปรากฏตัวอยู่ เจ้าจงปฏิบัติความดีภายหลังจากที่เจ้าได้ปฏิบัติความชั่วเพื่อความดีจะได้ลบ ล้างความชั่วไป และเจ้าจงให้มีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับมนุษย์คนอื่น(เช่นที่ต้องการให้คนอื่น มีความดีกับตัวเรา”

 
นี่คือหลักฐานที่จะบ่ง ชี้ว่า มนุษยสัมพันธ์และมารยาทของเรากับคนอื่นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องประดับประดา(ทำ ให้มีขึ้นในตัวเรา) นบีได้ตั้งมาตรฐานที่สำคัญไว้ว่า เราต้องมีมารยาทอันดีกับมนุษย์คนอื่น โดยไม่คำนึงว่าคนอื่นจะดีกับเราหรือไม่ แต่เราต้องดีตามมาตรฐานของอิสลาม  นี่คือบุคลิกภาพประการหนึ่งของมุสลิมะฮฺที่ต้องพยายามปรับปรุงและประดับ ประดาอยู่ตลอดเวลา

๒) ความละเอียด ความสมบูรณ์ ความถูกต้องในการงานของเรา   มีอยู่ ๓ ข้อที่เราต้องขยันศึกษาและพยายามทำให้ดีเป็นความรู้ที่เราต้องสะสม ประการแรกคือ
 

(๑) ฟิกฮุลเอาละวียาต หรือการลำดับบทบาทและหน้าที่ 

ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับมุสลิมะฮฺ เพราะความล้มเหลวของมนุษย์ในสังคมเกิดจากการลำดับหน้าที่และบทบาทไม่สมดุล กัน  ลำดับหน้าที่และบทบาทของมุสลิมะฮฺต่อมนุษย์ตามหลักการศาสนาอิสลาม (มุสลิมะฮฺจะให้ความสำคัญที่สุดในชีวิตแก่ใคร) คือ

  ๑.๑) สามี (ถ้ามี) ๑.๒) บิดามารดา       ๑.๓) ญาติพี่น้อง    ๑.๔) บุคคลอื่นทั่วไป

 

ส่วนลำดับภารกิจในการปฏิบัติหน้าที่ของมุสลิมะฮฺ ได้แก่

๑) สิทธิต่ออัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลา ในเรื่องนี้สำคัญกว่าสามี  เช่น หากสามีกลับมาหิวข้าวแต่เรายังไม่ได้ละหมาดก็ให้ไปละหมาดก่อนแล้วค่อยมาเตรียมอาหาร
๒) สิทธต่อสามี (ถ้ามี)
๓) สิทธิของสังคม  มุสลิมะฮฺไม่ได้ตัดขาดออกจากสังคม ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับสังคมเลยหากมีสามี นี่เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะการที่มุสลิมะฮฺบางคนไม่สามารถเรียงลำดับความสำคัญในหน้าที่ของตนได้ทำ ให้มีมุสลิมะฮฺเก็บตัวไม่ทำงานอะไรเลยเพื่อสังคม สังคมจึงประสบปัญหามากมาย เพราะเมื่อมุสลิมะฮฺไม่ออกมาทำหน้าที่ต่อมุสลิมะฮฺด้วยกันเองจึงทำให้มีการ ปะปนกับผู้ชาย เช่น เมื่อมุสลิมะฮฺทำหน้าที่ต่อพ่อแม่ สามี ทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ยังสามารถมาศึกษาเป็นหมอเกี่ยวกับโรคของสตรี เนื่องจากไม่มีใครอาสาทำตรงนี้ทำให้มุสลิมะฮฺที่มีปัญหาต้องไปพบหมอผู้ชาย บางครั้งก็ต้องเปิดเอาเราะฮฺแก่หมอผู้ชายที่ไม่ใช่มุสลิม  นี่เป็นข้อผิดพลาดของการที่มุสลิมะฮฺไม่ออกมาทำหน้าที่ของตน ซึ่งในกรณีนี้ถือเป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺ   ไม่เรียงลำดับบทบาทและหน้าที่ในสังคม มีมุสลิมะฮฺหลายคนที่ทำอาหารเก่ง ทำขนมเก่ง แต่มุสลิมะฮฺที่มีความสามารถเป็นผู้รู้ให้ฟัตวาเรื่องที่สตรีสงสัยหรือเป็น เรื่องที่เกี่ยวกับสตรีโดยเฉพาะนั้นหาได้ยาก หากต้องปรึกษาหรือขอฟัตวาจากผู้รู้ที่เป็นชายก็มีความลำบากหลายประการ ทั้งในเรื่องการสื่อสารและความเข้าใจไม่ตรงกันในเรื่องที่มีความละเอียด มากอย่างเช่นเรื่องเลือดสตรี เป็นต้น

ฉะนั้น เราต้องปรับลำดับบทบาทหน้าที่ในชีวิตมุสลิมะฮฺ ต้องมีตารางในการทำงานในชีวิตของเรา เรื่องนี้จะส่งผลต่อคุณภาพของหิญาบ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราไปโรงพยาบาลเห็นพี่น้องมุสลิมะฮฺเราเป็นพยาบาลคลุมหิญาบ เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ และยังทำให้คนเข้าใจว่ามุสลิมะฮฺเราอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ ถ้าเป็นงานที่เหมาะสมแก่สตรี มันจะยิ่งเพิ่มพูนคุณค่าหิญาบของมุสลิมะฮฺ  หากมุสลิมะฮฺนั้นเก็บตัวไปทำเรื่องที่ไร้สาระ ไม่เกิดประโยชน์ต่อสังคม สังคมก็จะเดือดร้อน พวกเราก็จะเดือดร้อน

ปัจจุบันชมรมนักศึกษามุสลิมและกลุ่มคนที่ทำงานศาสนามีมากมาย ควรจะช่วยกันรณรงค์ให้มุสลิมะฮฺที่ปฏิบัติตนเคร่งครัด คลุมหิญาบเรียบร้อยมีบทบาทมากขึ้นในสังคม พี่น้องมุสลิมะฮฺที่เป็นหมอหรือพยาบาลมีไม่น้อย แต่ที่คลุมหิญาบแทบไม่มี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามุสลิมะฮฺยังไม่สามารถต่อสู้เพื่อการคลุมหิญาบของตัวเอง  ทั้งๆที่ในบ้านเมืองเราการที่มุสลิมะฮฺคลุมหิญาบยังไม่มีปัญหาหรือมีน้อยมาก ในขณะที่มุสลิมะฮฺในหลายประเทศทางอาหรับและยุโรปถูกต่อต้านและต้องพยายาม ต่อสู้เพื่อการคลุมหิญาบ

การลำดับบทบาทและหน้าที่ของมุสลิมะฮฺนั้นหากเราลำดับไม่ถูกจะเกิดปัญหา มากมาย สำหรับคนที่ยังไม่ได้แต่งงานอาจจะทำงานสะดวกกว่า แต่ถ้ามีครอบครัว มีสามี มีลูกแล้วจะทำอย่างไร อันนี้ต้องให้ชัดเจน ต้องมานั่งคุยกันในครอบครัว เราจะเป็นครอบครัวที่เก็บตัว ไม่ทำงานอะไรเพื่อสังคมเลยนั่นเป็นชีวิตที่ไร้คุณภาพ เพราะมุสลิมเราไม่ได้อยู่เพื่อตัวเอง แต่อยู่เพื่อศาสนา เพื่อสังคม เพื่อประชาชาติอิสลาม

(๒) ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์รอบตัว 

จะทำให้มุสลิมะฮฺที่คลุมหิญาบที่เคร่งครัดนั้นมีคุณภาพในการบริหารชีวิต  การที่มีคนกล่าวหาว่า มุสลิมะฮฺนั้นควรอยู่บ้านทำอาหารอย่างเดียว นั่นเพราะมุสลิมะฮฺเราทำให้คนอื่นเข้าใจเช่นนั้น แต่ที่จริงเป้าหมายในการทำหน้าที่ของมุสลิมะฮฺมีมากกว่านั้น  นักปราชญ์ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า “มุสลิมะฮฺนั้นมือหนึ่งกล่อมลูก อีกมือหนึ่งเขย่าบัลลังก์ของศัตรู” คือ เปรียบมุสลิมะฮฺเป็นผู้ปฏิวัติ ซึ่งเป็นคนผลิตผู้ที่จะปฏิวัติสังคม หากมุสลิมะฮฺอยู่ในบ้านไม่มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์แล้วจะเลี้ยงดูลูกให้ มีคุณสมบัติเช่นนี้ได้อย่างไร

บรรดามุสลิมะฮฺในยุคของสะละฟุศศอลิหฺ จะดึงเสื้อสามีก่อนออกจากบ้านและตักเตือนว่าให้นำเงินหรือทรัพย์ที่หะลา ลเข้าบ้านเท่านั้น ภรรยาและลูกๆยอมอดทนต่อความหิวกระหายได้ แต่หากเอาเงินหะรอมมานั้นเ สมือนการเอานรกมาให้ซึ่งเรื่องนี้ทนไม่ได้  เพราะเมื่อสามีออกไปทำงานก็เครียดกับการหาเงินมาเลี้ยงดูที่บ้าน อาจจะทำให้ยอมรับเงินหะรอมก็เป็นได้ แต่การที่ภรรยาพูดลักษณะนี้ช่วยให้สามีรู้สึกผ่อนคลาย และสบายใจขึ้นในการแสวงหาปัจจัยที่หะลาลอย่างเดียว

ดังนั้น มุสลิมะฮฺต้องมีความมั่นคงและรอบรู้ปัญหา เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆก็ตามมุสลิมะฮฺต้องตื่นตัว พยายามหาข้อมูลเรื่องราวของศาสนาอิสลาม และไม่เฉพาะเรื่องศาสนาเท่านั้น เรื่องสถานการณ์อื่นๆ ด้วย นี่เป็นคุณสมบัติประการหนึ่งของบรรดาอุละมาอฺด้วย   เช่น เมื่อถูกถามถึงการประกันภัยตะกาฟุล หากอุละมาอฺไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ไม่รู้สถานการณ์ ไม่ได้ศึกษาที่มาที่ไป แล้วจะให้ฟัตวาได้อย่างไร  เช่นเดียวกันมุสลิมะฮฺจะทำงาน เลี้ยงดูลูกหลาน หรือทำงานเพื่อสังคมก็ต้องศึกษาเรื่องนี้ด้วย

(๓) ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและติดตามผล

มุสลิมะฮฺที่คลุมหิญาบเรียบร้อยแล้วคิดว่าชีวิตในด้านศาสนาของเธอจบสิ้น แค่ตรงนี้หรือ?? บรรดานักปราชญ์อิสลามได้บอกว่า “บรรดามุสลิมเมื่อยึดมั่นในหลักการ นั่นคือการริเริ่มสงครามกับความชั่ว” เมื่อเรายึดในความดี แน่นอนความชั่วจะระดมกำลังเพื่อทำลายความดีของเรา  สงครามจะถูกประกาศขึ้นระหว่างมุสลิมะฮฺกับสังคมที่ไม่ยอมรับในสภาพชีวิตของ มุสลิมะฮฺ  ปัจจุบันหลายประเทศทางยุโรป หรือแม้แต่แถบประเทศตะวันออกกลางได้สั่งห้ามการคลุมหิญาบ ก็มีมุสลิมะฮฺออกมาประท้วง หรือบางแห่งมุสลิมะฮฺคลุมหิญาบถูกจับไปขังและถูกข่มขืน ฯลฯ แม้ปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นในสังคมที่อื่น แต่ก็จะเป็นตัวอย่างให้แก่เราที่ต้องเริ่มศึกษาสถานภาพในการยึดมั่นอิสลาม ว่าในปัจจุบันเป็นอย่างไรและอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้น อย่าคิดว่าเราจะพบกับความสะดวกสบายหรือสภาพที่ไม่เกิดปัญหาอย่างในขณะนี้ ตลอดไป มันอาจมีปัญหาตามมา  เพราะใครก็ตามที่ยึดมั่นในหลักการเพื่อไปสู่หนทางสวรรค์นั้นไม่มีความสะดวก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยบอกไว้ว่า  “ทางสวรรค์นั้นมีแต่หนาม แต่ทางนรกมีแต่เรื่องราวที่สนุกสนาน”  หากตั้งใจจะเข้าสวรรค์ก็ต้องเข้าใจว่าท่านนบีเจอกับอุปสรรคอะไรบ้าง เป็นความยากลำบากที่เราต้องเตรียมพร้อมและเตรียมศักยภาพในการวางแผนชีวิต เพื่อต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา