การประกันภัยชรีอะฮฺ(ตะกาฟุล) ตอนที่ 5

Submitted by dp6admin on Mon, 02/11/2009 - 07:19

 

ที่มา : เรียบเรียงจากการบรรยายของ เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
เรื่อง การประกันภัยชรีอะฮฺ(ตะกาฟุล)คืออะไร

 

ตอนที่ 5 (จบ)

 

ภาพพจน์ของประกันภัยชะรีอะฮฺตะกาฟุ้ลที่แท้จริง คือ ความเสี่ยง ค่าใช้จ่าย และผู้รับประโยชน์ ประชาชนทั้งหมดจะเป็นผู้รับผิดชอบเหมือนกัน  ซึ่งบริษัทประกันภัยหาได้มีรูปแบบอย่างนี้ไม่ เพราะความเสี่ยง ผู้ประกันต้องรับผิดชอบชำระเงินต้นทุน แต่กำไรส่วนมากกลับเป็นของเจ้าของหุ้นหรือเจ้าของบริษัท ประชาชนได้รับผลประโยชน์เพียงอัตราที่เขาตั้งไว้ บางครั้งประสบอุบัติหายนะแต่ไม่ได้รับเงินเลย เช่น ที่อิยิปต์มีการประกันภัยเกือบทุกอย่างแต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ เพราะในสัญญาไม่ได้ระบุเรื่องแผ่นดินไหว เมื่อมีความเสี่ยงสูงสุด แล้วจะต้องชำระเงินชดเชย บริษัทก็จะอยู่ไม่ได้ แสดงว่าบริษัทประกันภัยไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักของความช่วยเหลือ

 

หลักการบริจาคและการสะสมทรัพย์

เป็นวิธีขจัดข้อโต้แย้งของคนที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบประกันภัยสากล  โดยจะแก้ไขปัญหาดอกเบี้ย ปัญหาความไม่แน่นอน และปัญหาการพนันที่มีในระบอบประกันสากล ได้ 2 วิธี คือ

1.    หลักการการบริจาค  (ตะบัรรุอฺฺ) หมายถึง เงินที่จะชำระให้บริษัทประกันภัยชะรีอะฮฺ ส่วนหนึ่งจะบริจาคให้เลย
2.    หลักการสะสมทรัพย์ (มุฎอเราะบะฮฺ)

ในรายละเอียดระบุว่าบริษัทประกันภัยโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นผู้คำนวณจำนวนเงินสมทบตะกาฟุ้ล โดยใช้หลักสถิติเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงสูงและให้บริษัทอยู่ได้ โดยใช้หลักสถิติของการเฉลี่ยการเสี่ยงภัยหรือที่เรียกว่าตารางมรณะ เป็นตัวเลี่ยงคือ กรณีที่จะมีตารางมรณะสูง มีความเสี่ยงสูงมาก เขาจะไม่ทำประกันภัยให้  เช่น คนที่มีโรคมะเร็งขั้นสุดท้ายจะมาทำประกันภัย  เขาจะไม่ทำให้  หรือกรณีมีโรคระบาด ก็จะไม่ทำให้เพราะมีตารางมรณะสูง   แสดงว่าเรื่องการบริจาค (ตะบัรรุอฺ) ไม่ได้ผล 

ตะกาฟุ้ลไม่ได้ให้รายละเอียดที่จะบ่งถึงความบริสุทธิ์ใจ, จุดยืน หรืออุดมการณ์ของบริษัทตะกาฟุ้ลทางหลักการอิสลาม ซึ่งนักวิชาการที่ได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องนี้ เมื่อพิจารณารายละเอียดของตะกาฟุ้ลแล้วก็จะมีคำถาม  เช่น  

1. การคำนวณโดยใช้หลักสถิตินั้นคำนวณอย่างไร
2. ตะบัรรุอฺ  จำนวนที่เขาจะหักเพื่อการสงเคราะห์เท่าไหร่
3. มุฎอเราะบะฮฺ คือ การฝากเงินแล้วมอบหมายให้ทำธุรกิจ จะไม่พ้นเรื่องดอกเบี้ย  เพราะระบอบประกันภัยสากลจะนำเงินฝากไปเล่นหุ้น ไปฝากหุ้นได้ดอกเบี้ย ส่วนแบบชะรีอะฮฺจะนำเงินฝากส่วนหนึ่งไปทำธุรกิจ แสดงว่าเงินที่ชำระส่วนหนึ่งจะเป็นมุฎอเราะบะฮฺ ซึ่งไม่ผิดหลักการศาสนา แต่ความไม่ชัดเจนในเรื่องมุฎอเราะบะฮฺของประกันภัยชะรีอะฮฺคือ ส่วนเท่าไหร่ที่จะเป็นมุฎอเราะบะฮฺ  อุละมาอฺได้บอกว่า ถ้าเราจะมอบหมายให้มุดอระบะฮฺ ส่วนกำไรที่จะได้จากส่วนที่เขาจะหักมาเป็นค่าชำระชัดเจนนั้น ไม่มีความแน่นอน แต่เขาจะมีตารางของเขาว่า ชำระแค่นี้ได้แค่นั้น อยากจะได้แค่นี้ ก็ต้องชำระแค่นั้น ซึ่งสวนทางกับกระบวนการการแบ่งต้นทุน แบ่งกระเป๋า ส่วนมุฎอเราะบะฮฺเท่าไหร่ ที่จะได้มา ส่วนตะบัรรุหฺเท่าไหร่ แล้วสุดท้ายถ้าชำระเดือนละ 100 บาท เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ได้ 1 แสนบาท ส่วนที่เป็นตะบัรรุหฺจากสมาชิกทั้งหมดกี่% ส่วนที่มาจากมุฎอเราะบะฮฺกี่% และส่วนที่มาจากการช่วยของต้นทุนของผู้มีหุ้นของบริษัทนั้นมีกี่%  เท่าที่ดูแล้วไม่มีรายละเอียดทั้งสิ้น

ฉะนั้น ดร.สุไลมาน จึงได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับบริษัทประกันภัยชะรีอะฮฺหรือที่เขาเรียกว่า ตะกาฟุ้ล หรือ ตะอาวุนียฺ ว่า ไม่มีข้อแตกต่างใดๆ เลยกับระบอบประกันภัยสากลในด้านรูปแบบการบริหาร  ท่านจึงมีทัศนะว่า บริษัทประกันภัยตากาฟุ้ลหรือชะรีอะฮฺทั่วโลกไม่ถือว่า เป็นไปตามหลักการศาสนา

สำหรับมุมมองของข้าพเจ้า ไม่อยากให้ข้อสรุปว่าบริษัทตะกาฟุ้ลฟินันซ่ามีข้อห้ามที่ไม่อนุญาตให้ร่วมกิจกรรมของเขาโดยเด็ดขาด  แต่ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับหลักการศาสนา เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของบริษัทนี้เพื่อที่พี่น้องจะได้นำไปพิจารณา 

ทางบริษัทหรือนักวิชาการบางท่านพยายามเปิดโอกาสให้มีระบอบชะรีอะฮฺ ใครมีความเดือดร้อนจริง และเชื่อถือในตัวนักวิชาการที่รองรับบริษัทก็เพียงพอสำหรับเขาที่จะร่วมกิจกรรมกับบริษัทนี้ได้  แต่สำหรับผู้ที่ต้องการความถูกต้องแน่นอน ก็ต้องศึกษาให้มากกว่าข้อมูลที่มีอยู่ในคู่มือที่บริษัทแจกให้ประชาชน  ซึ่งในมุมมองของข้าพเจ้าถือว่า การให้ข้อมูลแบบนี้เป็นเพียงภาพลวง ตามที่ ดร. สุไลมานได้บอกไว้ เพราะเขาตั้งใจปิดบังข้อมูล เพราะหากไม่ปิดบังประชาชนจะรู้ได้ทันทีว่า มันไม่แตกต่างจากระบอบประกันภัยสากลเลย ตัวอย่างข้อมูลที่เขาแจก เช่น สิ่งที่เกี่ยวกับการจำแนกการเสี่ยงภัย เขาได้จำแนกไว้ 3 ระดับ

1.    ภัยมาตรฐาน เนื่องจากระบอบประกันภัยจะมีมาตรฐานความเสี่ยงสากล แม้กระทั้งบริษัทประกันภัยชะรีอะฮฺก็ต้องนำมาใช้ เป็นทฤษฏีชาวโลก ภัยมาตรฐาน คือ ถ้าถึงขั้นนี้บริษัทฯ สามารถรับเป็นสมาชิกประกันภัยได้ แต่ถ้าเสี่ยงมากกว่านี้ บริษัทฯอยู่ไม่ได้ 
2.    ภัยสูงกว่าปกติ  หมายถึง ผู้ที่มีอัตรามรณะเฉลี่ยสูงกว่ามาตรฐานโดยที่บริษัทฯ ยังสามารถรับประกันได้ที่อัตราเงินสมทบตะกาฟุ้ลสูงกว่ามาตรฐาน ซึ่งเงินสมทบตะกาฟุ้ลส่วนเพิ่มจะมี 2 ประเภท คือ เพิ่มเนื่องจากอาชีพและเพิ่มเนื่องจากสุขภาพ หมายถึง ยังรับได้แต่ต้องจ่ายมากกว่าคนปกติ
3.    ภัยที่ไม่สามารถรับประกันได้  หมายถึงผู้ที่มีอัตรามรณะเฉลี่ยสูงเกินกว่าที่บริษัทประกันภัยสามารถจะรับประกันได้ เช่น ใกล้ตาย หรือ ยังไม่สามารถรับประกันภัยได้ในขณะนี้ เช่นปัญหาด้านสุขภาพ ด้านศีลธรรม หรืออาชีพที่มีความเสี่ยงสูงมากๆ เป็นต้น

การประกันภัยสามารถทำได้หลายอย่าง  เช่น มรณะทั่วไปถือว่าเป็นปกติ สึนามิไม่ปกติ  ฝนตกน้ำท่วมปกติ วินาศกรรมไม่ถือว่าปกติ จึงมีประกันภัยเฉพาะประเภท เพราะมีความเสี่ยงมากกว่า ชำระมากกว่า นักบอลประกันขา นักร้องประกันเสียง ต้องจ่ายมากกว่า  แต่เมื่อคำนวณความเสี่ยงแล้วกว่าเขาจะชำระเงินชดเชย ก็นำเงินไปทำกำไรได้มหาศาลแล้ว นี่คือรูปแบบของประกันภัย

ใครที่คิดว่าระบอบประกันภัยจะสร้างความอบอุ่น ความมั่นคงในชีวิตของตน ก็ขอให้ศึกษาให้ดี เพราะรูปแบบของอิสลามมีดีกว่านี้ มีสิ่งที่ทดแทนได้ ปัจจุบันมีกลุ่มออมทรัพย์สหกรณ์ และกลุ่มอื่นๆ ที่สามารถเข้ามาทำงานตรงนี้โดยใช้หลักการศาสนาอย่างยุติธรรม กลุ่มเล็กๆ ยิ่งมีความเสี่ยงน้อย และยิ่งเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันมากกว่าบริษัทใหญ่ เพราะกลุ่มเล็กจะใกล้ชิดกันเห็นใจกัน ฉะนั้นบริษัทเล็กๆ จึงมักจะมีความสามารถในการให้ความช่วยเหลือมากกว่า หากเราตระหนักในหลักการศาสนาตรงนี้และรณรงค์กระจายข้อมูลทางวิชาการเช่นนี้  เราสามารถจะตั้งบริษัทประกันภัยชะรีอะฮฺตะกาฟุ้ลอย่างแท้จริงได้ ตัวอย่างเช่น ในกรุงเทพมีประชากรมุสลิมเกือบ 1 ล้านคน โดยที่ทุก 1 แสนคนสามารถทำประกันโดยชำระเดือนละ 100 บาท ก็จะมีรายได้รวมเดือนละ 10 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายมีแค่ไหนก็แค่นั้น การประกันชะรีอะฮฺเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่มีใครได้เปรียบใคร ตรงกันข้ามกับประกันภัยสากลที่ส่วนมากอยู่ในมือยิว

 


เรื่องที่เกี่ยวข้อง