ฮะยาตี ญันนะตี | ชีวิตของฉัน สวรรค์ของฉัน

Submitted by admin on Mon, 18/09/2017 - 20:12
หัวข้อเรื่อง
จัดโดย กลุ่มต้นกล้าแห่งทางนำ
สถานที่
โรงเรียนหัวหมากวิทยานุสรณ์
วันที่บรรยาย
27 ซุลฮิจญะฮฺ 1438
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
90.00 mb
ความยาว
100.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

ความทุกข์เกิดจากเราไม่สามารถตอบคำถาม ความหมายของชีวิตได้
ท่านนบีได้กล่าวไว้ว่า “น่าแปลกจริงๆ สำหรับกิจการของผู้ศรัทธา แท้จริงกิจกาของเขาทั้งหมดล้วนเป็นความดีสำหรับเขา...”
ในฮะดิษนี้เน้นว่ามุอฺมิน ผู้ศรัทธา เพราะไม่ว่าเขาจะเจออะไร เขาก็จะยังมีความสุขแม้กระทั่งบาปของเขา เพราะการกระทำบาปในครั้งนั้น อาจทำให้เขาทบทวนและกลับมาทำความดี

นบีแจงความแปลกของมุอฺมินด้วย ๒ กรณียกิจ
ซึ่งชีวิตของเราก็มักจะแบ่งกันเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. เรื่องความดีงาม ความสุข (ซัรรออฺ มาจาก มะซัรรอฮฺ แปลว่าความดีใจ)
๒. เรื่องความเสียหาย คือ สิ่งที่ทำให้เราไม่ดีใจ (ฎอรฺรอฮฺ)

พอพิจารณาลึกๆ แล้ว จะพบว่าความดีใจของเรา อาจจะไม่ใช่ความดีใจล้วนๆ
เราพยายามที่จะมองข้ามความทุกข์ เพื่อให้ได้พบกับความสุข
เรามีเทคนิคที่จะพยายามข้ามความทุกข์เพื่อไปหาความสุข
แต่ท่านนบีให้เครื่องมือที่มันยอดเยี่ยมมา ให้เราได้ประกอบกับเครื่องมือที่เรามีอยู่แล้ว ประกอบด้วยศักยภาพทางอีมาน มันก็จะเปลี่ยนสภาพความทุกข์ หรือความเสียหายให้เป็นเรื่องดี แล้วอันนี้ก็คือโจทย์ที่จะทำให้ชีวิตของเราเป็นความสุข แล้วชีวิตที่มีความสุข ก็คือชีวิตที่เป็นสวนสวรรค์อย่างแน่นอน

เครื่องมือที่ท่านนบีให้เรานั้นมีอยู่ ๒ เรื่องง่ายๆ
คือ เมื่อเราประสบกับความดี ให้เราขอบคุณ
เมื่อประสบกับความเสียหาย ให้เราอดทน
 
ฮะดิษอีกบทหนึ่งท่านนบีบอกไว้ว่า “มุอฺมินที่แข็งแรง อัลลอฮฺโปรดปรานรักมากกว่ามุอฺมินที่อ่อนแอ”

มุอฺมินที่แข็งแรงคือมุอฺมินที่อดทนมากกว่า มุอฺมินที่มีศักยภาพต่อสู้ดิ้นรนมากกว่าเพราะความแข้งแรงไม่ได้ขึ้นอยู่ที่กล้ามเนื้อ ความแข็งแรงไม่ได้ขึ้นอยู่กับออกกำลังกาย ๗-๘ ชม. แต่บางคนเจอโรคมะเร็งแต่สามารถสู้ได้
ความแข็งแรงขึ้นอยู่ที่จิตใจ

จึงเป็นเรื่องแปลกที่ว่าเรื่องขอบคุณ และอดทน ไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรมากมาย แต่มันขึ้นอยู่ที่หัวใจ
ในอิสลามมีความเสมอภาค ทุกความรู้มีประโยชน์สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจน
การที่เราได้เปรียบมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะทำความดี เรามีเวลา เรามีทรัพย์สิน เรามีอาหาร เรามีลูก คำถาม เราใช้สิ่งเหล่านี้ยังไง เราบริหารใช้ทรัพยากรเหล่านี้ยังไง
ปัจจุบันเราก็เห็นคนที่เห็นผู้ปกครอง นักบริหาร บางทีเขาทำความชั่ว แท้ๆเลย แต่เขาก็ยังมีเหตุผลให้กับตัวเอง
คนบางคนอัลลอฮฺทดสอบให้เขาทำบาป แล้วบาปทำให้เขาเสียใจ แล้วความเสียใจนี้ก็เป็นเหตุทำให้เขาขยันทำความดี

อัลลอฮฺได้กล่าวไว้ในซูเราะฮฺอันนะฮฺลฺ
“ผู้ใดก็ตามที่ประกอบคุณงามความดี แม้ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตามโดยอยู่บนบรรทัดฐานที่มั่นคง เราจะให้เขามีชีวิตที่ดีงาม”

ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่ผูกพันกับอัลลอฮฺ ชีวิตทีรู้ว่าอะไรหายไปอัลลอฮฺจะตอบแทนสิ่งที่ดีกว่า

อดทน ในกุรอานอัลลอฮฺบอกว่า “จงอดทนอย่างสวยงาม”
อุลามาอฺได้บอกบอกว่าอดทนโดยไม่บ่น
เงื่อนไขของความอดทนมี ๓
๑. หัวใจต้องสงบนิ่ง
๒. ลิ้น ต้องไม่บ่น (ที่ดีที่สุด คือ ลิ้นจะต้องสรรเสริญอัลลอฮฺ)
๓. อวัยวะอย่าได้ให้ละเมิด เช่น อยู่ดีๆ ทุ่ม ทุบโต๊ะ เพื่อระบาย

ความอดทนและการขอบคุณเป็นคู่ขนานกัน

อิมามอิบนุก็อยยิมได้มาสรุปตอนท้าย
อิบนุตัยมียะฮฺบอกว่าคนที่อดทน กับคนที่ขอบคุณ ไม่มีใครประเสริฐกว่าใคร แต่คนที่ประเสริฐกว่าก็คือคนที่มีตักวามากกว่า

" แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮ์นั้น คือ ผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า"  (ซูเราะฮ์ อัล-หุญุรอต  โองการที่  13)

แท้จริงทุกคนที่ขอบคุณย่อมต้องอดทนไปด้วย และทุกคนที่อดทนย่อมต้องขอบคุณไปด้วย
เพราะขอบคุณต้องขอบคุณเสมอ และคนที่อดทนเขาย่อมต้องขอบคุณไปด้วย

ผู้หญิงคนหนึ่งลูกชายเสียชีวิต ทุกข์มาก นั่งร้องไห้ ท่านบีก็มาปลอบ หญิงคนนั้นก็ก้มหน้าร้องไห้ ไล่ท่านนบีไป หลังจากนั้นเศาะฮาบะฮฺก็บอกหญิงคนนั้นว่ารู้ไหมว่านี่นบี จากนั้นหญิงคนนั้นก็วิ่งไปหานบี
ท่านนบีก็กล่าวว่า “แท้จริงนั้นความอดทนนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงแรกของปัญหา”

ตาบีอีนคนหนึ่งวันเดียวถูกทดสอบด้วยกับ ๓ เรื่องด้วยกัน
๑. ลูกเสียชีวิต
๒. ทำธุรกิจค้าขายขาดทุน (เรื่องทรัพย์สิน)
๓. ลูกโดนเหล็กเป็นสนิมทิ่มเข้าไปในขา ต้องตัดขา

เขากล่าวว่าอัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ อัลลอฮฺให้ลูกมา ๔ คน แล้วก็เรียกไปคนหนึ่ง
ให้อวัยวะมาแล้วก็เรียกไปข้างหนึ่ง ให้ทรัพย์สินมาแล้วก็เรียกไปส่วนหนึ่ง

สรุปช่วงท้าย
มันอยู่ที่ใจเรา การควบคุมจิตใจของเรามันมีส่วนประกอบที่สำคัญ อีมานความศรัทธา ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ ส่วนประกอบสำคัญที่เราจะต้องเสริมความรู้วิชา เติมอาหารวิญญาณ

คำถาม
๑.สิ่งที่ทำให้เราต้องอดทนมาจากการถูกกระทำจากการก่อสร้าง เรามีสิทธิที่จะ.......เรื่องความเสียหายหรือไม่ค่ะ?
๒. ทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมาเรารู้สึกอยากเป็นคนดี แต่พอกลับมาตอนเย็นเราก็กลับทำบาป แบบนี้คือมุนาฟิกหรือเปล่า?
๓. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอดทนไหว และอัลลอฮฺตอบรับดุอาอฺของเราแล้ว?
๔. เมื่อต้องอดทนกับปัญหา เราควรจะนิ่ง แก้ปัญหาเอง ปรึกษาอัลลอฮฺ หรือสามารถที่จะปรึกษาคุยกับเพื่อน หรือผู้รู้ได้ไหม สมควรหรือเปล่า?
๕. เวลาเรามีปัญหาเราปรึกษากับเพื่อนจะได้ไหม เราจะเสียความอดทนไหม?
๖. เมื่อมีความรู้สึกหัวใจด้านชา มืดบอด อ่านอัลกุรอานแล้ว ซิกรุลลอฮฺแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรดีขึ้น วิธีที่ทำให้ปลดความรู้สึกนั้นควรทำอย่างไรดี?
๗. ผู้ที่เข้าสวรรค์โดยไม่ถูกสอบสวน ที่นบีบอกว่าเจ็ดหมื่นคน และทุกๆ หนึ่งพันจะมีคนตามไป ๑ คน รบกวนอธิบายค่ะ ไม่ค่อยเข้าใจ?
๘. อยากให้เชคฝากนะซีฮัตถึงกลุ่มทำงานศาสนา