ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 250 (หะดีษที่ 43/4)

Submitted by admin on Sat, 11/03/2017 - 21:00
หัวข้อเรื่อง
การแบ่งมรดกให้ปู่-ย่า, การเปลี่ยนทัศนะทางวิชาการและมารยาทในการเห็นต่างทางวิชาการ
สถานที่
มุศ็อลลา White Channel
วันที่บรรยาย
11 ญุมาดัลอาคิเราะฮฺ 1438
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
17.80 mb
ความยาว
75.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

วีดีโอ

الحديث الثالث والأربعون 
عَنِ ابن عبَّاسَ رضي الله عنهما قالَ : قَال رسولُ الله صلى الله عليه وسلم : (( ألحِقُوا الفَرائِضَ بأَهلِها ، فَمَا أَبقتِ الفَرائِضُ ، فَلأوْلَى رَجُلٍ ذَكَرٍ )) . خرَّجه البُخاريُّ ( ) ومُسلمٌ 
 
ท่านนบีกล่าวว่า "ให้มรดกแก่เจ้าของเขา ตามสิทธิที่กำหนด (กล่าวคือ เจ้าของที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้ในอัลกุรอาน ผู้มีสิทธิรับมรดกมีสองประเภท อัศฮาบุลฟะรออิด(เจ้าของมรดก ที่อัลลอฮฺระบุในอัลกุรอาน เช่น ลูก ภรรยา สามี) และ อะศอบะฮฺ (คือเครือญาติใกล้ตัว แต่่สิทธิไม่ได้ถูกระบุ จะได้ส่วนที่เหลือ ส่วนมากได้มากกว่า แต่บาطทีก็น้อยกว่า) , เมื่อแจกสิทธิตามกำหนดแล้ว(ฟะรออิด) ส่วนที่เหลือ ก็เป็นสิทธิของชายคนแรก(ที่ใกล้ชิดที่สุด"
 
หะดีษนี้จะพูดถึงบุคคลที่ไม่ได้ถูกระบุในอัลกุรอาน ซึ่งจะได้รับส่วนเหลือจากฟะรออิด

 

ผู้มีสิทธิรับมรดก มี 2 ประเภท

1. อัศฮาบุลฟุรูฎ أصحاب الفروض คือ เจ้าของสิทธิที่ถูกระบุในอัลกุรอาน

2. อะศอบะฮฺ (อะศอบาต)  - العصبات

อะศอบะฮฺ (ญาติใกล้ชิดที่สุด เป็นชายเท่านั้น) มีหลักการเดียวกับวลี คือ เป็นชาย, เริ่มจากใกล้ที่สุดก่อนคือ พ่อ ปู่ ลูก พี่น้อง ลุง(อา)



การรับมรดกของปู่ย่า (ตากับยายไม่มี ยกเว้นบางกรณีเท่านั้น)

ในกุรอานไม่ได้ระบุสิทธิ์ของปู่กับย่า

- อุละมาอฺบางท่านบอกว่า เป็นอิจมาอฺว่า ย่าไม่มีสิทธิ์ในมรดก ที่มีรายงานนั้นเป็นหะดีษไม่ใช่กุรอาน

- ชี้แจงหะดีษที่ระบุว่านบีเคยแบ่งให้ย่าของผู้เสียชีวิต(มัยยิต)ส่วนหนึ่ง(ไม่มาก) ไม่ใช่สัดส่วนชัดเจน รายงานจากอิบนุมัสอู๊ด

- อีกทัศนะเห็นว่า ย่ามีสิทธิ์เหมือนแม่(ของมัยยิต)



- ส่วนได้ มากจากส่วนให้ คือ ผู้ชายได้(มรดก)มาก เพราะต้องให้มาก (คือมีหน้าที่ให้การดูแลผู้หญิง)



ตัวอย่าง

- มัยยิตมีลูกสาว 1 คน (ได้ 1/2) มีลูกพี่ลูกน้องคนนึง จะได้ส่วนเหลือ (เป็นอะศอบะฮฺ)

แต่ถ้าไม่มีเครือญาติเลย ไม่มีอะศอบะฮฺเลย ลูกสาวได้แล้ว 1/2 ที่เหลืออีก 1/2 ใครจะได้รับ มี 2 ทัศนะ

1- เข้าบัยตุลมาล

2- กลับไปให้เจ้าของสิทธิ คือลูกสาว เพราะเป็นเครือญาติใกล้ชิดที่สุด



การเปลี่ยนทัศนะทางวิชาการและมารยาทในการเห็นต่างทางวิชาการ



- ทัศนะของอิบนิมัสอู๊ด กรณีมี ปู่ แม่ สามี -- สามี 1/2, เหลือ 1/2 แบ่งให้ ปู่กับแม่คนละครึ่งของที่เหลือ

- กรณีมี ภรรยา แม่ ปู่ (เป็นทัศนะที่แปลก ไม่น่าจะเป็นของอิบนุมัสอู๊ด) -- ภรรยาได้ 1/4 , แม่ได้ 1/3 ของส่วนเหลือ, ปู่ได้ส่วนเหลือ

- อุละมาอฺส่วนมากมีทัศนะว่า สามีได้ 1/2 (ภรรยา 1/4), แม่ได้ 1/3 เต็ม (ไม่ใช่จากส่วนเหลือ), ปู่ได้ส่วนเหลือ

- แม่กับพ่อ เรียกรวมกันว่า อะบะวัยฮฺ, อัลอะบะวาน ความใกล้ชิดกับมัยยิตเป็นตำแหน่งเดียวกัน ใกล้ชิดกว่าปู่ แม่กับปู่ ฐานะไม่เท่ากันในเรื่องสิทธิรับมรดก

- กรณีมีแต่ปู่และพี่น้อง (ทางพ่อ/ทางแม่) -- ปู่ได้แน่นอน, ส่วนพี่น้องมีรายละเอียด

ปู่มีสถานะเหมือนพ่อ แต่จะบังสิทธิรับมรดกของพี่น้องหรือไม่ อุละมาอฺเห็นต่างกัน ที่มีน้ำหนักคือไม่บัง แต่มีรายละเอียดเยอะมากในส่วนมรดกที่ได้รับ