เราต้องปฏิบัติการงานและมอบหมายต่ออัลลอฮฺด้วย,
الحديث التاسع والأربعون
عَنْ عُمرَ بن الخطَّابِ رضي الله عنه عَنِ النَّبيِّ صلى الله عليه وسلم قَالَ : (( لَو أَنَّكُم تَوكَّلُون على اللهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ لَرَزَقَكُمْ كَما يَرزُقُ الطَّيرَ ، تَغدُو خِماصاً ، وتَروحُ بِطاناً ))
رواهُ الإمام أحمدُ والتِّرمذيُّ والنَّسائيُّ وابنُ ماجه وابنُ حبَّان في " صحيحه " والحاكِمُ ، وقال التِّرمذيُّ : حَسَنٌ صَحيحٌ .
รายงานจากอุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"หากพวกเจ้ามอบหมายต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง โดยแน่นอนแล้ว อัลลอฮฺนั้นจะให้ปัจจัยยังชีพ(ริสกี)แก่พวกท่าน เฉกเช่นที่อัลลอฮฺได้ให้ริสกีแก่นกทั้งหลาย, มันออกจากรังของมันช่วงเช้ามืดโดยที่ท้องมันว่าง (ไม่มีอาหาร) แต่ตอนมันกลับบ้านช่วงบ่าย(เย็น)ท้องเต็ม"
วีดีโอ
การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ (อัตตะวักกุล) มี 2 ปัจจัย
1. ทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่
2. มอบหมายต่ออัลลอฮฺ
การงานของบ่าวของอัลลอฮฺมี 3 ประเภท
1- อิบาดะฮฺ (ฏออะฮฺ)ต่างๆ การงานที่อัลลอฮฺสั่งใช้ไว้ อันเป็นสาเหตุให้เข้าสวรรค์ พ้นจากนรก เป็ฯการงานที่ต้องปฏิบัติและมอบหมาย และขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ อันที่จริงไม่มีอำนาจใดๆให้เรามีการงานนอกจากอัลลอฮฺ เพราะสิ่งที่อัลลอฮฺประสงค์มันก็เป็น สิ่งที่พระองค์ไม่ประสงค์ก็ไม่เป็น ใครที่บกพร่องในการงานนี้จะถูกลงโทษ
. قال يوسف بنُ أسباط : كان يُقال : اعمل عمل رجل لا يُنجيه إلا عملُه ، وتوكَّلْ توكُّلَ رجلٍ لا يُصيبه إلا ما كُتِبَ له
สลัฟท่านหนึ่งบอกว่า "จงทำงานให้มีผลงาน เปรียบเสมือนเชื่อว่า หากไม่มีงานแล้วเราก็ไม่รอด และจงมอบหมายโดยที่เชื่อว่าเราจะไม่ประสบอะไรนอกจากที่อัลลอฮฺกำหนด" (อัลลอฮฺต่างหากที่จะให้เรารอด แม้เราจะไม่มีการงานก็ตาม)
ดุรรียะฮ (ชาวธรรมชาติ)
2- การงานทางธรรมชาติ (ไม่ใช่อิบาดะฮฺ) - กฎธรรมชาติที่อัลลอฮฺกำหนดไว้ และสั่งให้เราขวนขวาย ใครที่สามารถแสวงหาปัจจัยนี้และปฏิบัติมันเพื่อบรรลุเป้าหมาย แต่ไม่ทำ และจะนำมาซึ่งความเสียหาย ถือว่าทำบาป
- บางคนมีศักยภาพเหนือกว่าคนอื่น เช่น ไม่กิน แต่ไม่เพลีย และเขาจะละหมาด ก็ไม่ถือว่าบกพร่อง ตัวอย่างเช่น ท่านนบีเคยถือศีลอดติดต่อกัน(วิศอล) 2-3 วัน ไม่ละศีลอดเลย
- ทางไปหาอัลลอฮฺ
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 129 views