ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 214 (หะดีษที่ 40/3)

Submitted by admin on Fri, 13/11/2015 - 15:26
หัวข้อเรื่อง
"จงอยู่ในโลกดุนยานี้ประหนึ่งว่าท่านเป็นคนเดินทาง", ตัวอย่างจากสะลัฟ,
สถานที่
มุศ็อลลา White Channel
วันที่บรรยาย
1 เศาะฟัร 1437
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
22.50 mb
ความยาว
94.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

الحديث الأربعون 
عَنِ ابنِ عُمَرَ رضي الله عنهما قالَ : أَخَذَ رَسولُ الله صلى الله عليه وسلم بِمَنكِبي ، فقال : (( كُنْ فِي الدُّنيا كأَنَّكَ غَريبٌ ، أو عَابِرُ سَبيلٍ ))
وكانَ ابنُ عَمَر يَقولُ : إذا أَمسيتَ ، فَلا تَنتَطِر الصَّباح ، وإذا أَصْبَحْتَ فلا تَنتَظِرِ المساءَ ، وخُذْ مِنْ صِحَّتِك لِمَرضِكَ ، ومنْ حَياتِكَ لِمَوتِكَ . رواهُ البُخاريُّ .
 
หะดีษที่ 40
จากอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา  กล่าวว่า
ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้จับบ่าฉัน(ทั้งสองข้าง*) แล้วกล่าวว่า
"โอัอับดุลลอฮฺ จงอยู่ในโลกดุนยานี้ประหนึ่งว่าท่านเป็นคนแปลกหน้า หรือเป็นผู้เดินทาง(ผ่านมา,ไม่ได้พำนักในที่นั้นอย่างถาวร) 
 
อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ได้กล่าวว่า "ถ้าชีวิตของท่านถึงยามกลางคืนแล้ว ก็อย่ารอที่จะถึงตอนเช้า (หมายถึงอย่าหวังว่าจะอยู่ถึงเช้าอีกวันหนึ่ง ให้คิดว่ากลางคืนนั้นคือเวลาสุดท้ายของท่าน) และถ้าชีวิตของท่านอยู่ถึงตอนเช้ารุ่งอีกวันหนึ่ง ก็อย่ามีความหวังว่าจะอยู่ถึงกลางคืน
(เมื่อมีสุขภาพดี) ท่านก็จงใช้เวลาที่สุขภาพ(ดี)ของท่านทำความดี เพื่อเวลาที่ท่านป่วย(อ่อนแอ ไม่สามารถสะสมความดี) ท่านจะได้มีการงานที่สะสมไว้แล้ว
และเวลาว่างในชีวิตของท่าน (เอาไว้สะสมความดี) ก่อนที่จะถึงความตาย (ซึ่งไม่มีโอกาสทำความดีอีกแล้ว)
 
*ที่มะดีนะฮฺ อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ยังเป็นวัยรุ่นอยู่

Sakda Saneha
 
- 'ผมเคยเจอเชคบินบาซ ครั้งนึงในชีวิต'
สิ่งที่ผมสังเกตุเป็นความพิเศษมากอย่างหนึ่งคือ ท่านเป็นคนที่ซิรุลลอฮไม่หยุด ไม่หยุดเลยจริงๆเรื่องซิกรุลลอฮฺ
เวลาท่านสอนหะดีษก็จะมีคนนึงอ่านหะดีษให้คนที่มาเรียนฟัง ระหว่างที่มีคนอ่านอยู่ท่านก็จะซิกรุลลอฮฺไปตลอดเวลา พอถึงตอนที่จะต้องอธิบาย ท่านก็จะอธิบายหะดีษ
อธิบายเสร็จก็ซิกรุลลอฮฺต่อไปเรื่อยๆแบบไม่หยุด พอทำการสอนเสร็จ ก็จะมีบรรดาลูกศิษย์เข้าไปสลามท่าน ท่านสลามไป พลางซิกรุลลอฮฺไป
ผมเคยเห็นอุลามาอฺหลายท่านที่มีความพิเศษเรื่องซิกรุลลอฮฺ แต่ไม่มีใครพิเศษเหมือนบินบาซ(ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน) ผมเลยเข้าไปตั้งกระทู้ในเว็บอาหรับเกี่ยวกับเรื่องนี้
ปรากฎว่าไปเจอหลายๆคนหลายกระทู้ ที่สังเกตุและพบเจอเรื่องดังกล่าวเหมือนกัน บางท่านบอกว่า เชคบินบาซ ดำรงการซิกรุลลอฮฺเช่นนี้เรื่อยมาตั้งแต่วัยหนุ่มจนกระทั่งท่านกลับไปคืนสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺ

- หากเรากล่าวอิสติฆฟารตลอดเวลา หากไปโดนเวลามุสตะญาบพอดี ก็จะได้รับการอภัยโทษ เพราะเราไม่รู้ว่าเวลาที่อัลลอฮฺจะยกโทษให้บ่าวเมื่อไหร่(อาจจะรู้ช่วงเวลาไหน แต่ไม่รู้ว่านาทีใดที่พระองค์จะตอบรับ)

- สูตรในการทำอีบาดะห์
สูตรที่ 1 เน้นคุณภาพ
สูตรที่ 2 เน้นความสม่ำเสมอ เน้นปริมาณ

ดูความเหมาะสม บางครั้งต้องเน้นปริมาณ บางครั้งต้องเน้นคุณภาพ แต่น่าจะต้องหนักไปทางเน้นคุณภาพ เพราะชีวิตเรานั้นสั้น เวลาที่มีนั้นน้อย การจะสะสมความดีเพื่อให้เหมาะสมคู่ควรกับสวรรค์นั้นจึงจะต้องเป็นความดีที่มีคุณภาพและผลตอบแทนสูง

- ตัวอย่างของความดีที่มีคุณภาพและผลตอบแทนสูง
ครั้งหนึ่งท่านนบีเห็นท่านหญิงญุวัยรียะห์ภรรยาของท่าน อยู่ในสภาพซิกรุลลอฮฺอย่างมากมายตั้งแต่ตอนเช้า พอท่านเข้าไปเจอตอนสายก็พบว่านางยังอยู่ในสภาพนั้น ไปพบอีกทีตอนเที่ยงวันก็พบว่ายังอยู่สภาพนั้นอีก ท่านจึงกล่าวแก่ภรรยาของท่านคนนี้ว่า ฉันได้อ่านมันจำนวนสามครั้ง ถ้าเธอนำมันมาชั่งกับสิ่งที่เธอได้อ่านมาตั้งแต่เช้าเธอจะพบว่ามันมีค่าเท่ากัน คำกล่าวนั้นคือ

"سبحان الله وبحمده عدد خلقه ورضا نفسه وزنة عرشه ومداد كلماته"
(คำอ่าน: ซุบฮานัลลอฮิวะบิฮัมดิฮ์ อาดะดะคอลกิฮ์ วะรีฎอนัฟซิฮ์ วะซินาตะอัรชิฮ์ วะมีดาดะกะลิมาติฮ์)
คำแปล: มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ และด้วยการสรรเสริญสดุดีแด่พระองค์(ที่มากมาย) ตามจำนวนสรรพสิ่งทั้งหลายที่พระองค์ได้สร้างมา ตามความพึงพอใจของพระองค์ ตามน้ำหนักของอรัชของพระองค์ และตามจำนวนน้ำหมึกของพจนารถของพระองค์

- ท่านบัยฮะกีย์กล่าวว่า "อัตลักษณ์ ของศาสนาอิสลามคือ อัล-อิสนาด 'สายรายงาน' (เรียนแบบตะลักกีย์)
- หิกมะฮฺ คือ การวางทุกสิ่งทุกอย่างตามความเหมาะสมในที่ของมัน
- หิกมะฮฺ คือ สิ่งที่อัลลอฮฺให้โดยตรงกับคนใดคนนึง โดยไม่ต้องศึกษาหรือเรียนรู้ด้วยตัวเอง ใครได้รับแล้ว คือ ความยิ่งใหญ่มหาศาล นั่นคือเหตุผลที่บางคนเข้าใจในบางเรื่องมากกว่าบางคน
บางคนถ่ายทอดให้คนอื่นได้ดีกว่าบางคน
...................................................................

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
icon4
WCimage
ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 214 (หะดีษที่ 40/3)