ตัฟซีรซูเราะตุลมาอิดะฮฺ 33 (อายะฮฺ 46)

Submitted by admin on Wed, 06/08/2014 - 06:38
หัวข้อเรื่อง
นะศีหัตหลังเราะมะฎอน
นบีอีซา คัมภีร์อินญีล
การบิดเบือนคัมภีร์ของอะฮฺลุลกิตาบมีสองแบบ(ความหมาย,สำนวน), ตะดับบุรกุรอาน,
ช่วยหะมาสหรือไม่ช่วย ? เงื่อนไขในการช่วยเหลือพี่น้องมุสลิม
การบริหารความขัดแย้ง
ดุอาอฺที่ท่านนบีมักจะขอในกิยามุลลัยลฺ,
เงื่อนไขของการได้ประโยชน์จากอัลกุรอาน
สถานที่
มัสยิด มูลนิธิสันติชน
วันที่บรรยาย
8 เชาวาล 1435
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
18.90 mb
ความยาว
79.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

وَكَتَبْنَا عَلَيْهِمْ فِيهَا أَنَّ النَّفْسَ بِالنَّفْسِ وَالْعَيْنَ بِالْعَيْنِ وَالْأَنفَ بِالْأَنفِ وَالْأُذُنَ بِالْأُذُنِ وَالسِّنَّ بِالسِّنِّ وَالْجُرُوحَ قِصَاصٌ ۚ فَمَن تَصَدَّقَ بِهِ فَهُوَ كَفَّارَةٌ لَّهُ ۚ وَمَن لَّمْ يَحْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّـهُ فَأُولَـٰئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ ﴿٤٥﴾
45. และเราได้บัญญัติแก่พวกเขาไว้ในคัมภีร์นั้นว่า ชีวิตด้วยชีวิต และตาด้วยตา และจมูกด้วยจมูก และหูด้วยหู และฟันด้วยฟัน และบรรดาบาดแผลก็ให้มีการชดเชยเยี่ยงเดียวกัน และผู้ใดให้การชดเชยนั้นเป็นทาน มันก็เป็นสิ่งลบล้างบาปของเขา และผู้ใดมิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้แหละคือผู้อธรรม 
 
وَقَفَّيْنَا عَلَىٰ آثَارِهِم بِعِيسَى ابْنِ مَرْيَمَ مُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيْهِ مِنَ التَّوْرَاةِ ۖ وَآتَيْنَاهُ الْإِنجِيلَ فِيهِ هُدًى وَنُورٌ وَمُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيْهِ مِنَ التَّوْرَاةِ وَهُدًى وَمَوْعِظَةً لِّلْمُتَّقِينَ ﴿٤٦﴾
46. และเราได้ให้อีซาบุตรของมัรยัมตามหลังพวกเขามา ในฐานะผู้ยืนยันสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าเขาคือ อัต-เตารอต และเราได้ให้อัลอินญีลแก่เขา ซึ่งในนั้นมีคำแนะนำและแสงสว่าง และเป็นที่ยืนยันสิ่งที่อยู่เบื้องหน้ามัน คืออัตเตารอต และเป็นคำแนะนำ และคำตักเตือนแก่ผู้ยำเกรงทั้งหลาย
 
وَلْيَحْكُمْ أَهْلُ الْإِنجِيلِ بِمَا أَنزَلَ اللَّـهُ فِيهِ ۚ وَمَن لَّمْ يَحْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّـهُ فَأُولَـٰئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ ﴿٤٧﴾
47. และบรรดาผู้ที่ได้รับอัลอินญีลก็จงตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาในนั้น และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้คือผู้ที่ละเมิด 
 
ดุอาอฺที่ท่านนบีมักจะขอในกิยามุลลัยลฺ
 " اللَّهُمَّ رَبَّ جِبْرِيلَ , وَمِيكَائِيلَ , وَإِسْرَافِيلَ فَاطِرَ السَّمَوَاتِ وَالْأَرْضِ ,
 عَالِمَ الْغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ أَنْتَ تَحْكُمُ بَيْنَ عِبَادِكَ فِيمَا كَانُوا فِيهِ يَخْتَلِفُونَ ،
اهْدِنِي لِمَا اخْتُلِفَ فِيهِ مِنَ الْحَقِّ بإذنك , إِنَّكَ تَهْدِي مَنْ تَشَاءُ إِلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ " .
 
“โอ้อัลลอฮฺ พระเจ้าแห่งญิบรีล มีกาอีล และอิสรอฟีล องค์พระผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน ผู้ทรงรู้ในสิ่งเร้นลับและสิ่งที่เปิดเผย พระองค์ท่านเท่านั้นที่จะพิพากษาระหว่างบ่าวของพระองค์ที่ขัดแย้งกันอยู่ ได้โปรดให้ทางนำแก่ข้าพเจ้าในสิ่งที่มีการขัดแย้งในเรื่องความจริง(สัจธรรม) แท้จริงพระองค์ทรงให้ทางนำแก่บุคคลที่พระองค์ประสงค์สู่แนวทางที่เที่ยงตรง ”
การบริหารความขัดแย้ง - อิมามชาฟิอี เราะหิมะฮุลลอฮฺ "ทัศนะของข้าพเจ้าถูกต้อง แต่อาจจะผิด, ทัศนะของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้าพเจ้านั้นผิด แต่อาจจะถูก"
 
إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَذِكْرَىٰ لِمَن كَانَ لَهُ قَلْبٌ أَوْ أَلْقَى السَّمْعَ وَهُوَ شَهِيدٌ ﴿٣٧﴾ سورة ق
50:37 แท้จริงในการนั้น แน่นอนย่อมเป็นข้อตักเตือนแก่ผู้มีหัวใจ หรือรับฟังโดยที่เขามีความตั้งใจจริง
เงื่อนไขของการได้ประโยชน์จากอัลกุรอาน 
1. หัวใจต้องอยู่
2. หูต้องฟัง
3. รู้สึกตัวว่ากำลังรับสาส์นจากอัลลอฮฺอยู่
 

 

icon4
WCimage
ตัฟซีรซูเราะตุลมาอิดะฮฺ 33 (อายะฮฺ 46)