ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 161 (หะดีษที่ 31/10)

Submitted by admin on Fri, 29/11/2013 - 13:22
หัวข้อเรื่อง
"...จงดูถูกสิ่งที่อยู่ในมือผู้คน แล้วผู้คนจะรักเจ้า"
สถานที่
บ้านทองทา บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
25 มุฮัรรอม 1435
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
15.00 mb
ความยาว
63.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

วีดีโอ

الحديث الحادي والثلاثون

عَنْ سهلِ بنِ سعْدٍ السَّاعِديِّ قال : جاءَ رجُلٌ إلى النَّبيِّ صلى الله عليه وسلم  فقالَ :  يا رَسولَ الله دُلَّني عَلى عَمَلٍ إذا عَمِلْتُهُ أَحَبَّنِي الله ، وأحَبَّنِي النَّاسُ ، فقال  : (( ازهَدْ فِي الدُّنيا يُحِبَّكَ الله ، وازهَدْ فيمَا في أيدي النَّاسِ يُحبَّكَ النَّاسُ )) .  حديثٌ حسنٌ رَواهُ ابنُ ماجه ( ) وغيرُهُ بأسانِيدَ حَسَنةٍ .
จากอบูอับบาส (สะฮลุบนุสะอดฺ อัสสาอิดี) กล่าวว่า มีชายคนหนึ่งไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วถามว่า “โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ! ขอได้โปรดบอกฉันถึงการงานอย่างหนึ่งเมื่อฉันทำแล้วจะทำให้อัลลอฮฺทรงรักฉัน และการงานที่จะทำให้ผู้คนรักฉันด้วย” ท่านตอบว่า “จงดูถูกดุนยา(สมถะต่อดุนยา) แล้วอัลลอฮฺจะทรงรักท่าน และจงดูถูกสิ่งที่มีอยู่ในครอบครองของมนุษย์ แล้วมนุษย์จะรักท่าน”
 
อัลลอฮฺตำหนิดุนยาและผู้ที่รักดุนยามากกว่าอาคิเราะฮฺ
 كَلاَّ بَلْ تُحِبُّونَ الْعَاجِلَةَ وَتَذَرُونَ الآخِرَةَ 
เปล่าเลย ! แต่ว่าพวกเจ้ารักการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้(สิ่งที่เร่งด่วน) และพวกเจ้าละทิ้งอาคิเราะฮฺ (ซูเราะฮฺ อัลกิยามะฮฺ)
 وَتُحِبُّونَ الْمَالَ حُبّاً جَمّاً 
และพวกเจ้ารักสมบัติกันอย่างมากมาย (ซูเราะฮฺ อัลฟัจรฺ)
 وَإِنَّهُ لِحُبِّ الْخَيْرِ لَشَدِيدٌ 
และแท้จริงเขามีความหวงแหน เพราะรักในทรัพย์สมบัติ (ซูเราะฮฺ อัลอาดิยาต)
 
ดุนยา - ต่ำต้อย, ใกล้ชิด(ใกล้ตัว) / อาคิเราะฮฺ - ปลาย, สุดท้าย
 
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
(( من أحبَّ دُنياه أضرَّ بآخرته  - ผู้ใดรักดุนยาของเขา ก็จะต้องทำลายอาคิเราะฮฺของเขา
 ومن أحبَّ آخرتَه ، أضرَّ بدُنياه ،  - และผู้ใดรักอาคิเราะฮฺของเขา ก็จะต้องเสียหายดุนยาของเขาอย่างแน่นอน
فآثروا ما يبقى على ما يفنى ))  - พวกท่านทั้งหลายจงให้ความสำคัญแก่สิ่งที่ยั่งยืน(อาคิเราะฮฺ) มากกว่าสิ่งที่ไม่ยั่งยืน(ดุนยา)
 
وفي " المسند " ( ) و" سنن ابن ماجه " ( ) عن زيد بن ثابت ، عن النَّبيِّ   ، قال : (( من كانت الدُّنيا همه ، فرَّق الله عليه أمره ، وجعل فقرَه بين عينيه ، ولم 
يأته من الدُّنيا إلا ما كُتب له ، ومن كانت الآخرة نيَّتَه ، جمعَ الله له أمره ، وجعل غناه في قلبه ، وأتته الدُّنيا وهي راغمةٌ )) . وخرَّجه الترمذي ( ) من حديث أنس  مرفوعاً بمعناه .
หะดีษเฎาะอีฟ – ผู้ใดที่ดุนยาเป็นจุดมุ่งหมายของเขา อัลลอฮฺจะให้กิจการของเขาจะแตกกระจายไม่มีชิ้นดี และจะให้ความยากจนปรากฏที่หน้าผาก ระหว่างดวงตาทั้งสอง และจะไม่ได้อะไรจากดุนยา นอกจากที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้ให้เขาแล้ว และผู้ใดที่ให้อาคิเราะฮฺอยู่ในเจ9นารมณ์ของเขา อัลลอฮฺจะรวบรวมกิจการของเขาให้มีความเรียบร้อยสงบสุข และจะให้หัวใจมีความมั่งคั่งร่ำรวย และถ้าเขาหนีดุนยา ดุนยาก็จะคลานมากราบเขา
 
ومن كلام جندب بن عبد الله الصَّحابي : حبُّ الدُّنيا رأسُ كلِّ خطيئةٍ ( ) ، وروي مرفوعاً ، ورُوي عن الحسن مرسلاً ( ) .
ญุนดุบ อิบนิอับดิลลาฮฺ (เศาะฮาบะฮฺ) "ความรักต่อดุนยาเป็นหัวหน้าของบาป(ความผิด)ทุกประการ สำนวนนี้มีรายจากจากหะดีษของท่านนบี และมีรายงานในสภาพมุรซัลً"
قال الحسن : من أحبَّ الدُّنيا وسرَّته ، خرج حبُّ الآخرة من قلبه ( ) .
หะซัน อัลบัศรี “ผู้ใดที่รักดุนยา และดีใจกับสิ่งที่ได้จากดุนยา ความรักต่ออาคิเราะฮฺก็จะออกจากหัวใจของเขา”  
 
وقال عونُ بن عبد الله : الدُّنيا والآخرةُ في القلب ككفَّتي الميزان بِقَدْرِ ما ترجحُ إحداهُما تخِفُّ الأخرى ( ) .
ดุนากับอาคิเราะฮฺเปรียบเสมือนตราชั่งสองตรา อันไหนที่หนักกว่า อีกอันก็จะเบาลง (รักดุนยามากกว่า อาคิเราะฮฺก็จะเบา(ไม่มีน้ำหนัก) แต่ถ้ารับอาคิเราะฮิมากกว่า ดุนยาก็จะไม่มีน้ำหนัก)
وقال وهب : إنَّما الدُّنيا والآخرة كرجلٍ له امرأتانِ : إنْ أرضى إحداهما أسخط الأخرى ( ) .
วะฮบฺ อิบนุมุนับบิหฺ “ดุนยากับอาคิเราะฮฺ เปรียบเสมือนชายคนหนึ่งที่มีภรรยา 2 คน เมื่อทำให้คนหนึ่งพอใจ อีกคนก็จะโกรธ” เป็นไปไม่ได้ทำเราจะทำให้ดุนยาและอาคิเราะฮฺพอใจทั้งคู่
 
الوصية الثانية : الزهدُ فيما في أيدي الناس، وأنَّه موجبٌ لمحبَّة الناس. وروي عن النَّبيِّ صلى الله عليه وسلم أنَّه وصَّى رجلاً ، فقالَ: (( ايأَسْ ممَّا في أيدي النَّاس تكُن غنياً )) خرَّجه الطبراني ( ) وغيره.
หะดีษเฎาะอีฟ – ท่านนบีสั่งเสียชายคนหนึ่งว่า จงให้เกิดซึ่งความสิ้นหวังในทรัพย์สินในมือผู้คน แล้วเจ้าจะร่ำรวย
ويروى من حديث سهل بن سعد مرفوعاً : (( شرف المؤمن قيامُه بالليل ، وعزُّه استغناؤُه عن الناسِ )) ( ) .
หะดีษเฎาะอีฟ – เกียรติยศของมุอฺมินคือการละหมาดกลางคืน (คนที่ละหมาดกลางคืนคือคนที่อัลลอฮฺคัดเลือก ให้มีสิทธิเข้าเฝ้าอัลลอฮฺในยามที่ยากลำบาก), อำนาจของมุอฺมินคือการที่เขารู้สึกมั่งคั่ง(เพียงพอ)จากทรัพย์สินของผู้คน, 
 
หะดีษเหล่านี้เฎาะอีฟ แต่เนื้อหาใกล้เคียงกันและพอจะนำมาอ้างอิงได้ และเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการขัดเกลาจิตใจ ไม่ใช่อะหฺกาม
 
وقال الحسن : لا تزالُ كريماً على الناس ، أو لا يزالُ الناسُ يكرمُونَك ما لم تَعاطَ ما في أيديهم ، فإذا فعلتَ ذلك ، استخفُّوا بكَ ، وكرهوا حديثك ، وأبغضوك ( ) .
เจ้าจะเป็นคนที่มีเกียรติกับผู้คนทั้งหลาย และผู้คนจะให้เกียรติท่านเสมอ  ในเมื่อท่านไม่มอง(ปรารถนาที่จะเอา)ทรัพย์สินของผู้คน, แต่เมื่อเอ่ยหรือพูดถึงทรัพย์สินของเขา เขาก็จะดูถูกท่าน และโกรธท่าน
وقال أيوب السَّختياني : لا يَنْبُلُ الرجلُ حتى تكونَ فيه خصلتان : العفَّةُ عمَّا في أيدي الناس ، والتجاوزُ عمّا يكون منهم ( ) .
คนๆหนึ่งจะไม่ถือว่าเป็นคนที่สุขุมเรียบร้อยมีเกียรติในสายตาของผู้คน เว้นแต่จะต้องมีสองลักษณะ คือ 1-มีความเพียงพอ ไม่ปรารถนาทรัพย์สินในมือผู้อื่น 2- ให้อภัยในความผิดของผู้อื่น
وكان عمر يقول في خطبته على المنبر : إنَّ الطمع فقر ، وإنَّ اليأس غنى ، وإنَّ الإنسانَ إذا أَيِسَ من الشيء استغنى عنه ( ) .
ท่านอุมัรคุฏบะฮฺ “ความหวงคือความยากจน และความสิ้นหวังก็คือความร่ำรวย มนุษย์เมื่อมีความสิ้นหวังในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็จะรู้สึกมั่งคั่งต่อสิ่งนั้น”
وروي أنَّ عبد الله بن سلام لقيَ كعب الأحبار عند عمر ، فقال : يا كعب ، مَنْ أربابُ العلم ؟ قال : الذين يعملون به ، قال : فما يذهب بالعلم من قلوب العلماء بعد إذ حفظوه وعقلوه ؟ قال : يُذهبه الطمعُ ، وشرَهُ النفس ، وتطلبُ الحاجات إلى النَّاس ، قال : صدقت ( ) .
อับดุลลอฮฺ อิบนุสสลาม (ยิวที่รับอิสลาม เป็นเศาะฮาบะฮฺ) กะอบฺ อัลอะหฺบาร (ยิวที่เข้ารับอิสลาม แต่ไม่ได้เป็นเศาะฮาบะฮฺ เพราะไม่ได้พบท่านนบี) ได้ไปพบกันต่อหน้าท่านอุมัร
อับดุลลอฮฺถามว่า “โอ้กะอบฺ ใครที่เป็นหัวหน้า(เป็นเจ้าของ)ของความรู้
กะอบฺตอบว่า “คนที่เป็นเจ้าของความรู้คือผู้รู้”
อับดุลลอฮฺถามว่า “อะไรที่ทำให้ความรู้หลุดไปจากหัวใจของผู้รู้หลังจากที่เขาได้ท่องจำแล้วเข้าใจแล้ว”
กะอบฺ “สิ่งที่ทำให้ความรู้หลุดจากหัวใจ(สมอง) คือ ความหวงแหน ความอยากที่สูง (กิเลส) และการขอจากผู้คน”
อับดุลลอฮฺ “ท่านพูดจริง”
 
-- คำกล่าวของสะลัฟ --
وما هِيَ إلاَّ جِيفةٌ مستحيلةٌ  عليها كلابٌ هَمُّهُنَّ اجتذابُها
فإنْ تَجْتَنبها كنتَ سِلْماً لأهلها  وإنْ تجتذبها نازعتك كِلابُها
ดุนยาเปรียบเสมือนซากศพสัตว์ คนที่กำลังแย่งดุนยากันอยู่นั้นล้วนเป็นสัตว์ดุที่กำลังแย่งซากศพสัตว์
หากท่านหลีกให้ห่างไกลจากมัน(ดุนยา) เจ้าก็จะเป็นคนที่สง่างามสำหรับเจ้าของมัน(ชาวดุนยา)
แต่ถ้าท่านไปแย่ง(ดุนยา) สุนัขต่างๆ ก็จะมาแย่งท่าน