ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าถูกอิจฉาริษยา ?

Submitted by dp6admin on Wed, 25/09/2019 - 20:05

  كَيْفَ يَتَصَرَّفُ المَحْسُوْدُ

ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าถูกอิจฉาริษยา

    1. ให้กลับเนื้อกลับตัวและสำนึกว่าการที่ถูกอิจฉาอาจเกิดขึ้นจากความผิดประการใด ซึ่งอาจเป็นการทดสอบจากอัลลอฮฺก็ได้

    2. การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ(ตะวักกุล) และให้กล่าว

حَسْبُنَا اللهُ وَنِعْمَ الوَكِيْلُ (ฮัสบุนัลลอฮุวะเนียะมัลวะกีล)

หมายความว่า อัลลอฮฺทรงเพียงพอสำหรับพวกเรา และทรงดียิ่งในฐานะเป็นผู้ช่วยเหลือ

    3. ให้ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ อ่านกุรอานและกล่าวซิกรุลลอฮฺให้มาก

    4. วิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ป้องกันและช่วยเหลือให้พ้นจากอันตรายของศัตรูและผู้อิจฉาริษยา

    5. ให้ปฏิบัติซึ่งความยุติธรรมกับผู้อิจฉา และอย่าตอบแทนในสิ่งที่เป็นความผิด

    6. พยายามปกปิดความโปรดปรานจากผู้อิจฉาไม่ให้รู้ เพื่อลดความอิจฉาและระงับความแค้น

    7. อัลรุกยะ หมายถึง การอ่านดุอาอฺหรือบทป้องกันที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สอนไว้ เพื่อเป็นการหลีกพ้นจากอันตรายของผู้อิจฉาริษยา อาทิเช่น

•    ซูเราะฮฺอัลฟะลัก
قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ الْفَلَقِ ﴿۱﴾ مِن شَرِّ مَا خَلَقَ ﴿۲﴾ وَمِن شَرِّ غَاسِقٍ إِذَا وَقَبَ ﴿۳﴾ وَمِن شَرِّ النَّفَّاثَاتِ فِي الْعُقَدِ ﴿٤﴾ وَمِن شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ ﴿٥﴾
•    ซูเราะฮฺอันนาส
قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ النَّاسِ ﴿۱﴾ مَلِكِ النَّاسِ ﴿۲﴾ إِلَهِ النَّاسِ ﴿۳﴾ مِن شَرِّ الْوَسْوَاسِ الْخَنَّاسِ ﴿٤﴾ الَّذِي يُوَسْوِسُ فِي صُدُورِ النَّاسِ ﴿٥﴾

และสำหรับบทป้องกันที่ท่านนบี   สอนไว้ก็มีมากมาย เช่น

أَعُوْذُ بِكَلِمَاتِ اللهِ التَّامَّةِ مِنْ كُلِّ شَيْطَانٍ وَهَامَّة
 وَمِنْ كُلِّ عَيْنٍ لامَّة

อะอูซุบิกะลิมาติลลาฮิ อัตตามมะฮฺ มินกุลลิชัยฏอนิน วะฮามมะฮฺ วะมินกุลลิอัยนิน ลามมะฮฺ

ความว่า : “ขอความคุ้มครองด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ให้พ้นจากชัยฏอนมารร้าย เชื้อโรคทุกชนิด และให้พ้นจาก(อันตรายของ)ตาของผู้อิจฉาริษยา”

ดุอาอฺบทนี้ควรใช้กับลูกหลานที่เกรงว่าอาจถูกอิจฉาริษยา เพื่อเป็นการป้องกัน ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัด   มักจะใช้ป้องกันหลานของท่านทั้งสอง (อัลหะซันและอัลหุซัยนฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา)

สุดท้ายนี้ หากสังคมได้ศึกษาเรื่องอิจฉาริษยาด้วยคำแนะนำของอัลอิสลาม จะเกิดความปลอดภัยกับผู้อิจฉาและผู้ที่ถูกอิจฉา เพราะผู้อิจฉาจะเข้าใจในโทษแห่งการอิจฉาริษยา จึงทำให้ห่างจากความผิดนี้ และผู้ที่ถูกอิจฉาริษยาก็จะรู้วิธีป้องกันจากการอิจฉาริษยา

อนึ่ง อิสลามได้ปราบปรามการอิจฉาริษยา ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งในกระบวนการปรับปรุงจิตใจและขัดเกลาอุปนิสัยให้มีคุณธรรมและความบริสุทธิ์ อันเป็นเอกลักษณ์ของบุคลิกภาพของมุสลิมที่แท้จริง ดังนั้น การศึกษาเรื่องนี้และปฏิบัติตามคำแนะนำของอัลอิสลามเกี่ยวกับเรื่องอิจฉาริษยานั้น ถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกๆคนที่ต้องการบรรลุแบบฉบับและตัวอย่างของมุสลิมที่จะรับความพอพระทัยจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า


ที่มา : หนังสือ โรคเอดส์แห่งอีมาน(อิจฉาริษยา), โดย เชคริฎอ อะหมัด สมะดี