หะดีษที่ 25 การเศาะดะเกาะฮฺ (3)

Submitted by dp6admin on Wed, 23/01/2019 - 21:42

 الحديث الخامس والعشرون

 عَنْ أبي ذَرٍّ  : أنَّ ناساً مِنْ أصْحَابِ رسولِ اللهِ  قالُوا لِلنَّبيِّ  :  
يا رَسُولَ اللهِ ذَهَبَ أهْلُ الدُّثُورِ بالأجورِ ، يُصلُّونَ كَما نُصَلِّي ، ويَصومُونَ كَمَا نَصُومُ ، ويتَصدَّقُونَ بفُضُولِ أموالِهمْ ، قال : (( أوليسَ قد جعلَ اللهُ لَكُمْ ما تَصَّدَّقُونَ ؟ إنَّ بكُلِّ تَسبيحةٍ صَدقةً ، وكُلِّ تَكبيرةٍ صَدقَةً ، وكُلِّ تَحْمِيدةٍ صَدقةً ، وكُلِّ تَهْليلَةٍ صدقةً ، وأمْرٌ بِالمَعْروفِ صَدقَةٌ ، ونَهْيٌ عَنْ مُنكَرٍ صَدقَةٌ ، وفي بُضْعِ أحَدِكُم صَدقَةٌ )) . قالوا : يا رسولَ الله ، أيأتِي أحدُنا شَهْوَتَهُ ويكونُ لهُ فيها  أجْرٌ ؟ قال : (( أرأيتُمْ لَوْ وَضَعَها في حَرَامٍ ، أكانَ عليهِ وِزْرٌ . فكذلك إذا وضَعَها في الحلالِ كانَ لهُ أَجْرٌ )) . رَواهُ مُسلمٌ( ) .
หะดีษที่ 25
มนุษย์กลุ่มหนึ่งจากสาวกของท่านนบี  ได้กล่าวกับท่านนนบีว่า "โอ้ร่อซูลของอัลลอฮฺ คนร่ำรวยได้ไปแล้วซึ่งผลบุญอย่างมากมาย คนรวยเขาละหมาดเราก็ละหมาด เขาถือศีลอดเฉกเช่นที่เราได้ถือศีลอด แต่เขาสามารถบริจาคด้วยส่วนเหลือจากทรัพย์สินของเขา (เขาได้เปรียบในการบริจาคทาน) แต่เราไม่มีً 
 
ท่านร่อซูลได้ตอบว่า "อัลลอฮฺมิได้ให้พวกเราหรือ ส่วนที่ท่านสามารถบริจาคได้ การกล่าวตัสบีหะฮฺ(ซุบฮานัลลอฮฺ)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺครั้งหนึ่ง, การกล่าวตักบีเราะฮฺ(อัลลอฮุอักบัร)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺครั้งหนึ่ง,  และการกล่าวตะหฺมีด(อัลฮัมดุลิลลาฮฺ)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺครั้งหนึ่ง, การกล่าวตะหฺลีล(ลาอิลาหะอิลลัลลอฮฺ)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺครั้งหนึ่ง, การใช้ให้ทำความดีถือเป็นเศาะดะเกาะฮฺ และการห้ามทำความชั่วก็เป็นการเศาะดะเกาะฮฺหนึ่งครั้ง และในอวัยวะเพศ(มีเพศสัมพันธ์ระหว่างภรรยาสามีครั้งหนึ่ง)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺ”
 
บรรดาเศาะฮาบะฮฺถามว่า “โอ้ร่อซูล ของอัลลอฮฺ คนเราแสวงหาความสุขส่วนตัว(ความใคร่) ก็มีผลบุญด้วยหรือ”
ท่านนบีบอกว่า “พวกเจ้าเห็นแล้วไม่ใช่หรือว่าหากเขานำความใคร่(หรือความสุข)ของเขาไปใช้กับสิ่งที่หะรอมเขาจะมีบาปไหม ? เช่นเดียวกันหากเขาได้นำความใคร่ไปใช้ในส่วนที่หะล้าล ก็ย่อมมีผลบุญ
-- วีดีโอ ครั้งที่ 1-->

 

ไฟล์เสียงอธิบายหะดีษ : ครั้งที่ 1 | ครั้งที่ 2 | ครั้งที่ 3

25/1  "โอ้ร่อซูลของอัลลอฮฺ คนร่ำรวยได้ไปแล้วซึ่งผลบุญอย่างมากมาย คนรวยเขาละหมาดเราก็ละหมาด เขาถือศีลอดเฉกเช่นที่เราได้ถือศีลอด แต่เขาสามารถบริจาคด้วยส่วนเหลือจากทรัพย์สินของเขา (เขาได้เปรียบในการบริจาคทาน) แต่เราไม่มี"

25/2 มุมมองของอิสลามต่อคำว่า “ความดี” - สิ่งที่ดียิ่งกว่าการบริจาคทาน, การทำประโยชน์แก่พี่น้องมุสลิม, นำสิ่งกีดขวางออกจากทางเดิน, ช่วยเหลือปกป้องพี่น้องไม่ให้ได้รับอันตราย, ขอดุอาอฺและขออภัยโทษให้แก่พี่น้องมุสลิม, การออกซะกาตความรู้,

25/3 การบริจาคทานที่ไม่ได้เป็นทรัพย์สิน 2.การซิกรุลลอฮฺ, มาตรฐานของการทำเศาะดะเกาะฮฺ ไม่จำกัดว่าการบริจาคนั้นจะต้องมีทรัพย์สินหรือวัตถุที่มีมูลค่าในสายตาของมนุษย์ ซึ่งมาตรฐานนี้ท่านนบีสอนไว้แก่มวลผู้ศรัทธา ซึ่งจะมีมาตรฐานด้านอีมาน อันแตกต่างจากผู้ที่ไม่มีความศรัทธา