การประกันภัยชรีอะฮฺ(ตะกาฟุล) ตอนที่ 3

Submitted by dp6admin on Sun, 01/11/2009 - 20:35

ที่มา : เรียบเรียงจากการบรรยายของ เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
เรื่อง การประกันภัยชรีอะฮฺ(ตะกาฟุล)คืออะไร

 

ตอนที่ 3

 ดร. สุไลมานได้กล่าวถึงสิ่งที่บ่งชี้เจตนารมณ์ของบริษัทประกันภัยทั่วไป 3 ประการสำคัญ  คือ เงื่อนไข เป้าหมาย และภาพลวงของสัญญาประกันภัย

1 . เงื่อนไขของบริษัทประกันภัย เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งจากการศึกษาอย่างละเอียดพบว่า บริษัทประกันภัยเกือบทั้งหมดมีเงื่อนไขอยู่  2 ประเภท คือ

1.1 เงื่อนไขที่ถูกระบุในสัญญาประกันภัย  คือ สัญญาที่ผู้ทำประกันได้รับจากบริษัทเมื่อทำสัญญา เป็นเงื่อนไขที่ถูกเปิดเผย  
1.2 เงื่อนไขที่ไม่ถูกเปิดเผย เป็นกติกาที่ผู้บริหารบริษัทประกันภัยรู้กันภายใน  เพื่อแสวงหาทุกวิถีทางที่จะทำให้บริษัทไม่ต้องชำระค่าชดเชยให้กับผู้ทำสัญญาประกันภัย เมื่อถึงอัตราความเสี่ยงที่จะทำให้บริษัทไม่สามารถดำรงกิจการ หรืออาจสร้างความขาดทุน

บริษัทประกันภัยมีสัญญาที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์ที่มีเงื่อนไขเป็นความลับถือว่าเป็นการหลอกลวงแต่ประชาชนส่วนมากก็ยอมรับ ทั้งนี้เพราะเป็นการหลอกลวงที่เอื้อประโยชน์ชั่วคราว ทำให้บางคนรู้สึกสบายใจ มีความสุข  อยากขับรถสบายๆ ไม่ต้องเครียดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ  ก็เป็นภาพลวงที่บริษัทประกันภัยได้สร้างกระแสให้กับสังคม เหมือนการทำหนังทำละคร  เป็นความสบายใจระดับหนึ่งที่สร้างให้กับผู้คนทั้งหลาย และเช่นเดียวกับระบอบดอกเบี้ยอันเป็นระบอบที่หลอกลวงประชาชน

2.   เป้าหมายของบริษัทประกันภัย ซึ่งก็คือผลกำไร คนทั่วๆไปเมื่อพูดการประกันภัยจะนึกถึงความปลอดภัย ความสบายใจ ถ้าเราศึกษาจะพบว่าอัลลอฮฺทรงตรัสว่า มนุษย์นั้นอยู่ภายใต้พระเมตตาของอัลลอฮฺ และในขณะที่ท่านนบี ก็บอกว่า ”จงกล่าวดุอาอฺยามเช้าและยามเย็นและเจ้าจะไม่ประสบโรคประสบภัย” มีหะดีษมากมายที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนไว้  ถ้าเราปฏิบัติตามนั้นเราจะไม่รู้สึกปลอดภัยเชียวหรือ ? บริษัทประกันภัยไม่ได้ทำเพื่อมนุษยชาติหรือช่วยเหลือสังคมแต่อย่างใด ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ก็เป็นยิวที่กระหายเงิน เค้าไม่ได้ตั้งบริษัทเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อสังคมโลกแต่อย่างใด

ดร. สุไลมานกล่าวว่า บริษัทประกันภัยทั้งหมดรวมทั้งบริษัทประกันภัยชะรีอะฮฺ ต่างตั้งเป้าหมายเน้นกำไรทั้งสิ้น  ในขณะที่ฟัตวาของบรรดาอุละมาอฺที่อนุโลมให้ตั้งบริษัทประกันภัยนั้น จะต้องไม่มีเป้าหมายที่จะแสวงหาผลกำไร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเศรษฐศาสตร์อิสลามที่เราต้องจดจำไว้   ในเศรษฐศาสตร์อิสลามอะไรที่เป็นธุรกิจก็คือธุรกิจ อะไรที่แสวงบุญก็ต้องแสวงบุญไม่มีการแสวงหากำไร อะไรที่เป็นการช่วยเหลือสงเคราะห์ก็ต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน แม้บริษัทประกันภัยจะอ้างว่าช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยยกระดับสภาพชีวิตของสมาชิกในสังคม แต่หารู้ไม่ว่าเป้าหมายหลักของเขาก็คือกำไรทั้งสิ้น

ในยุคเราไม่เคยที่จะได้สัมผัสการปกครองแบบอิสลาม จึงไม่ทราบถึงความเจริญรุ่งเรือง ความสุขของชีวิตที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบอิสลาม เราจึงไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่า ถ้าไม่มีบริษัทประกันภัยแบบสากล สังคมจะสามารถที่จะสร้างระบบประกันภัยที่ถูกต้องได้อย่างไร แต่เราแค่เห็นว่าบริษัทประกันภัยช่วยเหลือสังคม เราก็มองว่านั่นเป็นสิ่งที่ดี แต่เราไม่ได้มองว่า ถ้าอิสลามมาปกครองล่ะ! การช่วยเหลือกันทางสังคมจะเป็นอย่างไร และการสร้างนิสัยและวินัยของประชาชนจะเป็นอย่างไร

นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญการประกันภัยชาวตะวันตกได้บอกว่า การประกันภัยทำลายอุปนิสัยของประชาชนได้ระดับนึง
 

3.  ภาพลวงของสัญญาประกันภัย

ดร. สุไลมาน ได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสัญญาประกันภัยกับภาพลวง พบว่า จากสถิติของประเทศเยอรมันในปี ค.ศ. 1984 พบว่าได้เกิดอุบัติเหตุหนึ่งล้านราย ทุกรายมีสัญญาประกันภัย แต่กลับได้รับการชำระเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัยเพียง 2.9 % เท่านั้น ที่เหลือจะไม่ได้รับโดยทางบริษัทอ้างว่าอยู่ในอัตราการเสี่ยงที่บริษัทไม่รับผิดชอบ  อัตราความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจรู้หรือสัมผัสได้ว่า อัตราคืออะไร มีความแน่นอนอย่างไร แม้กระทั่งของประกันภัยตะกาฟุ้ลฟินันซ่าชะรีอะฮฺก็ไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้
 

ประโยชน์ของระบอบประกันภัย (ตามทัศนะของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยที่สนับสนุนระบอบประกันภัย)

จากการศึกษาเงื่อนไข  เป้าหมาย และภาพลวงของสัญญาประกันภัย ทำให้เราทราบถึงข้อเท็จจริงของระบบประกันภัยสากลว่าเป็นอย่างไร  แต่สำหรับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยที่สนับสนุนระบอบประกันภัยจะคัดค้านโดยอ้างว่าประโยชน์ของระบอบประกันภัยในแง่ต่างๆ ดังนี้

1. ระดมทุนจากประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ตะวันตก คือ นำทุนของประชาชนจะมารวบรวมให้เป็นประโยชน์มากที่สุด โดยที่ประชาชนไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงไปชำระเงิน แต่การดำเนินธุรกิจอยู่ที่นายทุนรายใหญ่ที่สามารถกำหนดนโยบาย ผลิตกฎหมายและควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง  ดังปรากฏในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ประชากรเพียง 3 %  เท่านั้นที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินกว่า 50% ของรายได้หรือทรัพย์สินรวมของประเทศ  ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้แก่ เจ้าของธนาคารและบริษัทประกันภัย เพราะนายทุนเหล่านี้เป็นผู้รวบรวมเงินทุนของประชาชน   ในขณะที่ทฤษฎีที่เป็นเอกลักษณ์ของเศรษฐศาสตร์อิสลามจะกระตุ้นให้ประชาชนแต่ละคนหรือโดยส่วนรวมทำธุรกิจด้วยต้นทุนของตัวเอง จะไม่มีอิทธิพลเหนือกว่ากฎหมายแต่อย่างใด

2. กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้องค์กรต่างๆมีผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นเพราะมีการประกัน  และบริษัทประกันภัยมีส่วนร่วมในการทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีความสมดุลได้  ในกรณีมีอัตราเงินเฟ้อ เศรษฐกิจล้มเหลว ทุนของบริษัทประกันสามารถเข้าไปช่วยได้

3. สามารถประกันอันตรายหรือลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในธุรกิจ สร้างความปลอดภัยและความอบอุ่นใจแก่ประชาชนที่ต้องการจะทำธุรกิจ
 

ผลเสียของระบอบประกันภัย

ดร. สุไลมาน นักวิชาการศาสนาที่ได้ศึกษาระบอบประกันภัยในประเทศตะวันตกแล้วพบว่า ผลเสียของบริษัทประกันภัยมี 10 ประการ แต่จะยกมาเพียง 4 ประการดังนี้  

1.    เป็นการกระทำสิ่งที่ผิดหลักการศาสนา เป็นความเสียหายอย่างมหันต์ แม้ว่าโดยรวมจะมองว่าระบอบประกันภัยดีก็ตาม

2.    เป็นความขาดทุนสำหรับเศรษฐกิจบ้านเมือง เพราะอัตราผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเมื่อเทียบกับเงินทุนที่ต้องชำระให้กับบริษัทประกันภัยต่ำมาก แต่ผลกำไรส่วนมากตกเป็นของผู้บริหารบริษัทประกันภัย

3.    เป็นการดูดเงินทุนของประชาชนและบ้านเมืองออกนอกประเทศ แม้กระทั่งบริษัทประกันภัยชะรีอะฮฺบางบริษัทที่โลกมุสลิมก็ไม่สามารถให้บริการเกี่ยวกับเรื่องประกันภัย เพราะงบประมาณมีจำกัด จึงต้องเอาเงินไปเล่นหุ้น ไปทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัยระดับยักษ์ในต่างประเทศ ทำให้เงินส่วนมากไม่ได้นำมาใช้ในบ้านเมืองในสังคมแต่อย่างใด  อุละมาอฺบางท่านได้เตือนให้ระมัดระวังในการซื้อหุ้นบริษัทประกันภัยในตลาดหุ้น แม้ว่าจะเป็นบริษัทประกันภัยชะรีอะฮฺก็ตาม  ให้พิจารณาทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทประกันภัย ถ้ามีอยู่ 50% ซื้อได้ ถ้าต่ำกว่านี้ซื้อไม่ได้ เพราะ ถือว่าทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยมีแต่เงิน แต่จะถือว่ามีอสังหาริมทรัพย์ก็ต่อเมื่อเอาเงินไปซื้อหุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่มีตัวตนอยู่จริง  แต่ถ้าบริษัทประกันภัยเอาเงินไปฝากธนาคารแล้วธนาคารเอาไปฝากบริษัทเล่นหุ้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนเป็นเพียงกระดาษเอกสาร ถ้าเราไปซื้อหุ้นของบริษัทประเภทนี้ถือว่าซื้อเงินด้วยเงิน ซึ่งกรณีนี้อุละมาอฺบางท่านมีทัศนะว่ามีความเสี่ยง อาจเป็นดอกเบี้ย   

4.    ทำให้โครงการที่โรงงานจะผลิตสินค้าต่างๆ ล้มเหลว เพราะบางประเทศบังคับให้โครงการต่างๆ ต้องมีประกันภัย เช่น  ต้องทำประกันภัยสำหรับพนักงาน ทำให้ผู้ที่จะทำโรงงานเล็กๆ ไม่สามารถทำได้ และอีกมุมหนึ่งคือ พนักงานบางคนอยากทำงานแต่ทำงานไม่ได้เพราะโรงงานนี้ไม่สามารถทำประกันภัยให้ได้ ซึ่งเป็นผลเสีย ทำให้กับประเทศกำลังพัฒนาเดือดร้อน ทั้งๆ ที่ประเทศเหล่านั้นยังไม่ได้มีความเสี่ยงต่างๆ เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
 

ดร.สุไลมานได้เปรียบเทียบระหว่างผลดีกับผลเสียของระบอบประกันภัยทั้งทางด้านศาสนา เศรษฐกิจ และสังคม พบว่า บริษัทประกันภัยได้สร้างความเสียหายให้กับประชาชนมากกว่าผลดี และได้สอบถามประชาชนในประเทศอิยิปต์ เยอร์มัน และประเทศในยุโรป รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย  ปรากฏว่าประชาชน 55% ให้คำตอบว่า ข้อเสียของบริษัทประกันภัยมีมากกว่าข้อดี,   25%  บอกว่ามีแต่ผลเสียไม่มีผลดี นั่นคือ คนที่ชำระอย่างเดียว, 15% บอกว่า ผลดีและผลเสียเสมอกัน, และอีก 5% บอกว่า มีผลดีมากกว่าผลเสีย  แต่ไม่มีใครบอกว่า มีแต่ผลดีไม่มีผลเสีย แสดงว่า ทั้งหมด 100% ยอมรับว่ามันมีผลเสีย