การตอบโต้เอกสารของ อาลี อีซา ที่จำหน่ายเมื่อ 12 เม.ย. 46 (2)

Submitted by dp6admin on Mon, 30/11/2009 - 15:48

 

7. การตอบโต้การอ้างแถลงการณ์ของ อัล-อิศลาหฺ สมาคม และชมรมนักวิชาการมุสลิมภาคกลางฯ
8. การตอบโต้การอ้างคำชี้ขาดของนักปราชญ์อิสลาม
9. การตอบโต้ข้อกล่าวหาว่า “อิบรอฮีม กุเรชี ปฏิเสธการลงโทษผู้ทำซินาด้วยการขว้างด้วยหิน”
10. การตอบโต้ข้อกล่าวหาเรื่องอัลกอฎออฺและอัลกอดัร
11. การตอบโต้ “การบิดเบือนพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ” (หน้า 79-80)
12. การตอบโต้ข้อกล่าวหา “อิบรอฮีม กุเรชี ปฏิเสธมุอฺญิซาต”

 


 

7. การตอบโต้การอ้างแถลงการณ์ของ อัล-อิศลาหฺ สมาคม และชมรมนักวิชาการมุสลิมภาคกลางฯ

แถลงการณ์ของ อัล-อิศลาหฺสมาคม ซึ่งถูกประกาศครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2516 (อันดับที่ 181-182) มีข้อความที่ประณามลัทธิก๊อดยานียฺในประเทศไทย และระบุประวัติของ อัล-อิศลาหฺสมาคม ในการต่อต้านเรื่องนี้เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ขอชี้แจงว่าในอดีตขณะที่ อาลี อีซา ยังไม่มีปัญหากับ อิบรอฮีม กุเรชี อัล-อิศลาหฺสมาคม เคยมีบทบาทในการต่อต้านข้อผิดพลาดและบิดเบือนของ อิบรอฮีม กุเรชี ในหนังสือบยานุลกุรอานและกุรอานมะญีด ซึ่งนักวิชาการของ อัล-อิศลาหฺสมาคม ได้ทำหน้าที่ชี้แจงและตักเตือน อิบรอฮีม กุเรชี ในเรื่องต่างๆที่เขาได้กระทำ แต่ไม่เคยมีการพาดพิงถึงเรื่องก๊อดยานียฺประการ ใดทั้งสิ้น  ซึ่งวารสารสมาคมฯ อันดับก่อนแถลงการณ์ดัง กล่าวก็ไม่เคยมีข้อความเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชี้ว่า ข้อผิด พลาดของ อิบรอฮีม กุเรชี เป็นลัทธิของก๊อดยานียฺ แต่มีการยืนยันว่าเป็นข้อบิดเบือนเท่านั้น แม้กระทั่งหนังสือชี้แจงของ อาจารย์ดารี บินอะหมัด เกี่ยวกับเรื่องนบีอีซา อาจารย์ดารีก็มิได้พูดถึงเรื่องก๊อดยานียฺ และมิได้กล่าวหา อิบรอฮีม กุเรชี ว่ามีข้อเกี่ยวข้องกับลัทธิก๊อดยานียฺ แต่เรื่องก๊อดยานียฺนี้ถูกปลุกและนำมาเป็นเครื่องโจมตีหลังจากที่ อาลี อีซา แยกตัวจาก อิบรอฮีม กุเรชี ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งสองท่านเคยมีความ สัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ทั้งๆที่ อาลี อีซา ทราบดีถึงข้อมูลเกี่ยวกับบยานุลกุรอานและกุรอานมะญีด แต่เป็นคำถามว่า ทำไมก่อนหน้า อาลี อีซา จึงไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์ว่าข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี เกี่ยวข้องกับลัทธิก๊อดยานียฺ

ข้าพเจ้าสามารถยืนยันได้ว่า การสร้างสถานการณ์เกี่ยวกับเรื่องก๊อดยานียฺนี้ อาลี อีซา เป็นผู้ริเริ่มโดยใช้ข้อผิด พลาดของ อิบรอฮีม กุเรชี เป็นเครื่องมือในการกล่าวหา สำหรับ อัล-อิศลาหฺสมาคม บรรดาผู้ใหญ่และนักวิชาการหลายท่านที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องในการชี้แจงข้อผิดพลาดของเขา ไม่เคยมีการพูดถึง อิบรอฮีม กุเรชี ว่าเป็นก๊อดยานียฺหรือนำลัทธิก๊อดยานียฺมาเผยแพร่ ตัวอย่างที่สำคัญคือ   ครูอะหมัด วาฮาบ ท่านเป็นโต๊ะครูรุ่นแรกที่ก่อตั้ง อัล-อิศลาหฺสมาคม และมีบทบาทในการฟื้นฟูซุนนะฮฺครั้งแรกในประเทศไทย โดย เฉพาะในคลองบางกอกน้อย ท่านรู้จัก อิบรอฮีม กุเรชี (ลูกศิษย์ของท่าน) มาตลอดจนกระทั่งท่านเสียชีวิต แต่ท่านไม่เคยพูดว่า อิบรอฮีม กุเรชี เป็นก๊อดยานียฺ ผู้ใหญ่หลายท่านที่เคยเป็นกรรมการ อัล-อิศลาหฺสมาคม และเคยมีบทบาทในการชี้แจงข้อพลาดของ อิบรอฮีม กุเรชี ก็ไม่เคยชี้ขาดว่า อิบรอฮีม กุเรชี เป็นก๊อดยานียฺเช่นกัน  ถึงแม้ว่าแถลงการณ์ของ อัล-อิศลาหฺสมาคม ได้ประณามลัทธิก๊อดยานียฺในประเทศไทย แต่ไม่มีการระบุชื่ออย่างชัดเจน อันจะบ่งบอกถึงความไม่ชัดเจนในหลักฐานที่จะกล่าวหาบุคคล ซึ่งการกล่าว หาทั่วไปโดยไม่เจาะจงบุคคลใด จะไม่ส่งผลถึงการกล่าวหาตัวบุคคล ตราบใดที่ตัวบุคคลนั้นยืนยันว่าตนไม่มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับแถลงการณ์ดังกล่าว

สำหรับแถลงการณ์ของชมรมนักวิชาการมุสลิมภาคกลางแห่งประเทศไทย มี 2 ฉบับ ฉบับแรก ระบุชื่อและข้อบิดเบือนของ อิบรอฮีม กุเรชี โดยมี 4 ประเด็นสำคัญที่ถูกอ้างว่าไม่ได้อยู่ในกรอบของอะหฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ คือ

1.    อ้างว่า นบีอีซามีพ่อ
2.    กล่าวในทำนองปฏิเสธการมีญิน
3.    อ้างว่ากำหนดสภาวการณ์ของอัลลอฮฺ ไม่มีในอัลกุรอาน
4.    มีข้อความในลักษณะปฏิเสธอภินิหารของบรรดาร่อซูล ฯลฯ เป็นต้น

และในแถลงการณ์ฉบับที่ 2 มีการพูดถึงข้อบิดเบือนต่างๆ ของ อิบรอฮีม กุเรชี โดยถือว่าเป็นการอธิบายความหมาย อัลกุรอานด้วยทัศนะของลัทธิก๊อดยานียฺ ทั้งสองแถลงการณ์ดังกล่าว มีการวิจารณ์ข้อความในแนวทางเดียวกับที่ปรากฏในวารสารสายสัมพันธ์ของ อาลี อีซา ข้อมูลที่นำเสนอก็ไม่ต่างจากข้อมูลที่มีอยู่ในวารสารสายสัมพันธ์ 

อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาที่ระบุในแถลงการณ์ทั้งสองฉบับมีการยืนยันว่า ผู้มีทัศนะบิดเบือนเช่นนี้สิ้นสภาพความเป็นมุสลิม แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าทัศนะบิดเบือน อื่นๆ ที่เป็นอันตรายซึ่งปรากฏในผลงานของบรรดาอุละมาอฺและครูบาอาจารย์บางท่านที่มีชื่อเสียงในโลกมุสลิม    เช่น หลัก สูตรฟัรฎูอีนในประเทศไทย ที่ยึดในแนวทางของอะชาอิเราะฮฺ ซึ่งปฏิเสธคุณลักษณะ(ศิฟาต)ของอัลลอฮฺยกเว้นเพียง 20 คุณ ลักษณะและเชื่อว่าอัลกุรอานของอัลลอฮฺมีสองชนิดคือ กุรอาน นัฟซีและกุรอานลัฟซี ซึ่งเป็นความเชื่อที่คล้ายกับพวกมุอฺตะซิละฮฺ ที่เห็นว่าอัลกุรอานนั้นเป็นมัคลู้ก ความเชื่อดังกล่าวมีการเรียนการสอนในโรงเรียนฟัรฎูอีนทั่วประเทศไทย แต่ อาลี อีซา กลับไม่เคยต่อต้านหรือชี้แจงว่าเป็นความเชื่อที่ส่งผลอันตรายต่อหลักอะกีดะฮฺของมุสลิมทั้งๆ ที่ อาลี อีซา ทราบดีถึงอันตรายของอะกีดะฮฺของอะชาอิเราะฮฺ
 

8. การตอบโต้การอ้างคำชี้ขาดของนักปราชญ์อิสลาม

    อาลี อีซา ได้อ้างคำชี้ขาด(ฟัตวา)ของนักปราชญ์อิสลามในเรื่องนี้จาก หนังสือข้อชี้ขาดของนักปราชญ์อิสลามในการบิดเบือนอัล-กุรอาน ของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ (พิมพ์ครั้งที่ 1, 2521) ในวารสารสายสัมพันธ์หลายอันดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฉบับที่จำหน่ายเมื่อ 12 เม.ย. แสดงว่า อาลี อีซา ให้ความสำคัญในข้อมูลเนื้อหาในหนังสือดังกล่าว ข้าพเจ้าไม่กล้าตัดสินว่าหนังสือเล่มนั้นเป็นผลงานของ อาลี อีซา  เนื่องจากไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ผู้ที่รู้ความเป็นมาของปัญหานี้ ต้องมีข้อสงสัยในส่วนเกี่ยวข้องระหว่าง อาลี อีซา กับหนังสือเล่มนี้ เพราะคำถามบางส่วนจากสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับถูกร่างโดยผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับ

ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยประเด็นนี้ เพราะข้อมูลที่จะเสนอต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่เกรงว่าจะกระทบความซื่อสัตย์ของผู้ส่งคำถามเรื่องนี้ จากประเทศไทยไปยังสถาบันฟัตวาต่างๆ อาลี อีซา ถือว่าคำชี้ขาดของอุละมาอฺที่มีระบุในหนังสือดังกล่าวเป็นหลักฐานยืนยันว่า อิบรอฮีม กุเรชี เป็นก๊อดยานียฺ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะมีคำตอบจากสำนักงาน อิมามใหญ่ เชคอัลอัซฮัร แห่งประเทศอียิปต์, สำนักงานกองอำนวยการวิจัยทางวิชาการ การชี้ขาดปัญหาการเผยแผ่และการชี้แนะ ของสำนักงานเลขาธิการองค์การนักปราชญ์ชั้นอาวุโสแห่งซาอุดิอาระเบีย, คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาศาสนา นัดวะตุ้ลอุละมาอฺ ลักเนาว์ แห่งประเทศอินเดีย, และจากวารสารอัลอิอฺติซอม แห่งนครไคโร ประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นวารสารของอัลญัมอียะตุชชะรออียะฮฺ ที่มีคณะอุละมาอฺจากประเทศอียิปต์หลายท่าน

    จากการวินิจฉัยหนังสือเล่มนี้ สามารถตั้งข้อสังเกตได้หลายประเด็นดังต่อไปนี้

1. ทุกคำตอบจากทุกสถาบัน ไม่มีคำชี้ขาดจากสถาบันใดๆ ว่า อิบรอฮีม กุเรชี เป็นก๊อดยานียฺ หรือทัศนะที่ถูกอ้างถึงเป็นทัศนะของก๊อดยานียฺ แม้กระทั่งคำตอบของสำนักงาน   ชัยคุลอัซฮัร ก็ได้กล่าวถึงทัศนะต่างๆของผู้เขียนกุรอานมะญีดว่าเป็นการกุฟรฺ(ปฏิเสธ)  แต่เมื่อกล่าวถึงเรื่องก๊อดยานียฺก็อ้างถึงคำชี้แจงในแถลงการณ์ของผู้ถาม ซึ่งเป็นเครื่องหมายในคำฟัตวาที่จะกระทบบุคคลในสังคมว่า สถาบันฟัตวาไม่รับผิดชอบในความจริงของข้อมูลที่ปรากฏในคำถาม และคำฟัตวาจากสถาบันอื่นๆ ก็ไม่ได้ระบุเรื่องก๊อดยานียฺประการใดทั้งสิ้น (ข้อชี้ขาดของนักปราชญอิสลาม ในการบิดเบือนอัล-กุรอาน, สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ, 2521, หน้า 7)  ซึ่งจะบ่งบอกว่า นักปราชญ์ที่ อาลี อีซา อ้างมานั้น ไม่มีใครชี้ขาดว่าผู้เขียนกุรอานมะญีดหรือบยานุลกุรอานเป็นก๊อดยานียฺหรืออะหฺมะดียฺ แต่ที่ อาลี อีซา นำมาเสนอในวารสารสายสัมพันธ์ฉบับพิเศษ (หน้า 94) คือการอ้างคำชี้ขาดดังกล่าว และระบุว่าคำถามนั้นเกี่ยวกับ นายดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ หรือ อิบรอฮีม กุเรชี ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า นักปราชญ์ได้ประณามตัวบุคคล แต่แท้จริงในคำตอบไม่มีการระบุชื่อตัวบุคคล แต่เป็นการประณามคำพูด ไม่ว่าจะเป็นใครพูดก็ตาม และนั่นคือกติกาของนักปราชญ์ที่มีความรู้กว้างขวางว่า ในเมื่อคำถามอ้างถึงความประพฤติ คำตอบก็จะพิพากษาลักษณะคำกล่าวหรือการกระทำ โดยไม่มีการผูกพันกับผู้กล่าวหรือผู้กระทำ อันเนื่องจากว่า ผู้กล่าวหรือผู้กระทำสิ่งที่เป็นกุฟรฺนั้น อาจมีสาเหตุ(อุซรฺ) ที่จะห้ามมิให้พิพากษาเขาว่าเป็นกาฟิร เพราะการกล่าวหาตัวบุคคลว่าเป็นกาฟิรนั้น ต้องมีเงื่อนไขเป็นองค์ประกอบในการตัดสิน

    2. หนังสือเล่มนี้มิได้ระบุบทแถลงการณ์ ที่ชี้แจงการบิดเบือนอัลกุรอานที่ส่งไปยังสถาบันฟัตวาต่างๆ ซึ่งตามจรรยาบรรณของนักวิชาการจำเป็นต้องอ้างถึงข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามอย่างสมบูรณ์ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจในการนำ เสนอเนื้อหาวิชาการ และเป็นการยืนยันในความสอดคล้องระหว่างคำถามกับคำตอบ แต่ในหนังสือเล่มนี้ทั้ง 4 สถาบันให้คำตอบ โดยอ้างถึงคำชี้แจงในแถลงการณ์ของผู้ถาม (ข้อชี้ขาดของนักปราชญอิสลาม ในการบิดเบือนอัล-กุรอาน, หน้า 7, 9, และ 46) ซึ่งไม่ได้นำมาเสนอในหนังสือดังกล่าว

3. ในการระบุวันที่ของคำถามและคำตอบมีข้อสังเกตที่ต้องชี้แจง

เพราะคำตอบของสถาบันต่างๆ ระบุว่าเป็นปี ฮ.ศ.1398 (พ.ศ.2521) ซึ่งในคำถามมีการถามถึงเรื่องท่านนบีอีซามีพ่อ และมีการกล่าวหาว่าบุคคลที่ถามถึงนั้นมีหนังสือ บยานุลกุรอานและกุรอานมะญีด ที่อาศัยหนังสือคำแปล    กุรอานจากกลุ่มก๊อดยานียะฮฺ แต่เป็นที่รู้กันดีว่าหนังสือบยานุลกุรอานของ อิบรอฮีม กุเรชี ที่ระบุเรื่องท่านนบีอีซามีพ่อนั้นพิมพ์ตั้งแต่ปี 2500 และมิได้ตีพิมพ์ต่อไปอีก ความจริงแล้วก่อนที่ อาลี อีซา หรือสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับจะส่งคำถามในปี พ.ศ.2521 จำเป็นต้องสอบสวนตัว อิบรอฮีม กุเรชี และตรวจสอบผลงานใหม่ของเขา โดยต้องมีข้อความอันชัดแจ้งว่าเขายังมีความเชื่อเช่นนี้ในขณะที่จะส่งคำถามไปให้สถาบันต่างๆตัดสิน แต่การส่งคำถามเกี่ยวกับเรื่องอดีตที่ผ่านมาแล้ว 20 ปี และยืนยันว่าผู้ที่ถูกถามถึงยังมีความเชื่อเช่นนี้ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของมุสลิม เพราะระหว่างทุกคนกับอัลลอฮฺ อาจมีช่วงที่กลับเนื้อกลับตัวโดยที่ผู้อื่นไม่ทราบ จึงเป็นการกล่าวหาในเรื่องที่อาจไม่เป็นความจริง

4. ในคำตอบจากสำนักงานอิมามใหญ่อัลอัซฮัร ในหนังสือดังกล่าว หน้า 6 มีข้อความดังต่อไปนี้

 

إِشَارَةً إِلى مَا شَرَحْتُمُوْهُ فِيْ نَشْرَتِكُمْ إِلَيْنَا عَنْ رَجُلٍ أَلَّفَ كِتَابَيْنِ بِاسْمِ : بَيَانُ القُرْآنِ وقُرْآن مَجِيْد مُعْتَمِدَاً عَلَى كِتَابَيْ ( بَيَانُ القُرْآنِ وقُرْآن مَجِيْد ) الصَّادِرَيْنِ عَنْ الجَمَاعَةِ الأَحْمَدِيَّة القَادْيَانِيَّة نُفِيْدُ بِأَنَّ الدَّعَاوَى الَّتي نَسَبْتُمُوْهَا إِلَيْهِ عَنِ المَسِيْحِ وَعَنِ القَضَاءِ وَالقَدَرِ وَعَنْ حَدِّ الرَّجْمِ وَغَيْرِهَا مِنَ الدَّعَاوَى إِنْ صَحَّتْ نِسْبَتُهَا إِلَيْهِ فَهُوَ مَارِقٌ عَنِ الإِسْلام لأَنَّه أَنْكَرَ مَعْلُوْمَاً مِنَ الدِّيْنِ بِالضَّرُوْرَة . 

อนุสนธิจากที่ท่านได้ชี้แจงในแถลงการณ์ของท่าน ซึ่งได้จัดส่งมาถึงเรา เกี่ยวกับผู้แต่งหนังสือ 2 เล่มคือ “บยานุลกุรอาน” และกุรอานมะญีด ซึ่งได้ใช้หนังสือ 2 เล่ม “บยานุลกุรอานและกุรอานมะญีด” ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่โดยกลุ่มอะห์มะดียะห์ กอดยานียะห์ เป็นบรรทัดฐานในการเรียบเรียง
    เราขอชี้แจงว่าข้ออ้างต่างๆ ที่ท่านทั้งหลายกล่าวพาดพิงถึงเขาผู้นั้นเกี่ยวกับท่านอัลมะเซียะห์ (ศาสดาอีซา), ก็ฎอ-ก็ฎัร, การลงโทษโดยการขว้างด้วยหินจนตาย ตลอด จนข้ออ้างอื่นๆ ถ้าหากว่าข้ออ้างที่พาดพิงถึงบุคคลผู้นั้นเป็นจริง เขาก็เป็นผู้ออกนอกศาสนาอิสลาม เพราะว่าเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่จำเป็นในศาสนาซึ่งเป็นที่ทราบกันดี

 

    จากข้อความภาษาอาหรับพร้อมคำแปลข้างต้นนี้ ข้อความ เป็นบรรทัดฐานในการเรียบเรียง เป็นข้อความที่ไม่มีในบทคำตอบภาษาอาหรับ ซึ่งผู้แปลคำตอบนี้รู้ดีว่าข้อความที่เขาเพิ่มเติมมานี้จะให้ความหมายว่า กุรอานมะญีดและบยานุลกุรอานฉบับภาษาไทย เป็นคำแปลจากหนังสือกุรอานมะญีดและบยานุลกุรอานของลัทธิก๊อดยานียฺทั้งสิ้น  ทั้งๆที่ในคำตอบภาษาอาหรับไม่มีข้อความที่เกี่ยวกับประโยคนี้ จึงทำให้เรามีข้อสงสัยต่อเจตนารมณ์ของผู้ถามและผู้แปลคำตอบ

    อย่างไรก็ตาม ขอชี้แจงว่า คำชี้ขาดของนักปราชญ์ไม่มีการกล่าวถึงชื่อบุคคล การนำมาเป็นคำตัดสินต่อบุคคลดังที่ อาลี อีซา กระทำ ถือว่าเป็นการฉวยโอกาสโจมตีคู่กรณี เพราะการกล่าวหาตัวบุคคล ต้องมีการตักเตือนก่อนที่จะมีการตัดสิน แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า ระหว่าง อาลี อีซา และ อิบรอฮีม กุเรชี มีการฟ้องร้องถึงศาลที่ไม่ได้ใช้กฎหมายอิสลาม จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีอยู่ในสภาวะที่เดือดร้อนและไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตักเตือนซึ่งกันและกันได้ ต่างฝ่ายต่างโจมตีโดยไม่มีการประนีประนอม หรือนะศีฮัตเพื่อแนะนำสู่ความถูกต้อง ด้วยความนอบน้อม ความเมตตา ความเป็นพี่น้องซึ่งกันและกัน

    สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอเสนอคำชี้ขาด(ฟัตวา)ของนักปราชญ์ในประเทศซาอุดิอาระเบีย (ฟะตาวา อัลลัจญฺนะตุดดาอิมะฮฺ ลิลบุฮูสิ อัลอิลมียะติ วัลอิฟตาอิ, รวบรวมโดย อัชชัยคฺอะหมัด อัดดุวัยชฺ, เล่มที่ 1, หน้า 385, ฟัตวาหมายเลย 6397)  เกี่ยวกับปัญหาที่คล้ายคลึงกับกรณีของ อิบรอฮีม กุเรชี แต่คำชี้ขาดก็ไม่มีการบ่งบอกว่าปัญหาเหล่านี้เกี่ยวกับก๊อดยานียฺหรือกุฟรฺ

คำถาม : ในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว มีหนังสือ “การแจ้งข่าวอนาคตของรอซูล” ซึ่งแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษมีชื่อว่า “อิสรออีลและเรื่องนบีต่างๆในอัลกุรอาน” ผู้เขียนชื่อ อาลี อักบัร ซึ่งได้ตีความหะดีษที่เกี่ยวกับสงคราม เหตุการณ์ต่างๆ และสัญญาณวันปรโลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในลักษณะที่เกรงว่าเป็นอันตรายต่ออะกีดะฮฺของเยาวชนมุสลิม เช่น ตีความคำว่า “อัดดัจญาล” หมายถึง ความรู้ที่ไม่น่าเชื่อถือหรือวัฒนธรรมของตะวันตก และตีความคำว่า “ยะอฺญูจ-มะญูจ” ว่าหมายถึงประเทศมหาอำนาจ และตีความเรื่องเกี่ยวกับนบีอีซา   ว่าท่านเสียชีวิตและบทบาทของท่านจบสิ้นไปแล้ว และตีความคำว่า “อัดดาบบะฮฺ (เป็นสัญญาณแห่งวันกิยามะฮฺ)” หมายถึง คนต่ำต้อยหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และได้ตีความเรื่องอื่นๆในลักษณะ เช่นนี้ด้วย ซึ่งผู้แปลฉบับภาษาไทยกล่าวว่า เรื่องเหล่านี้ไม่เกี่ยว กับอะกีดะฮฺโดยสิ้นเชิง และไม่แตกต่างสำหรับคนที่จะเชื่อหรือจะปฏิเสธ และจะไม่ส่งผลกระทบต่ออีมานของมุสลิม ขอเรียนถามว่า การกล่าวเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่? และคำตอบต่อพวกนี้จะเป็นอย่างไร?

คำตอบ : เป็นวาญิบ(ความจำเป็น)สำหรับมุสลิมที่ต้องศรัทธาต่อสิ่งที่อัลลอฮฺ   ทรงแจ้งไว้ หรือที่ท่านนบี ได้แจ้งไว้ ในเรื่องสัญญาณวันกิยามะฮฺหรือเรื่องอื่นๆ  แน่นอน อัลลอฮฺตรัสในซูเราะตุลบะกอเราะฮฺว่า บรรดาผู้ยำเกรงพระองค์คือบรรดาผู้ศรัทธาในสิ่งเร้นลับ อัลลอฮฺทรงยกย่องชนเหล่านี้ และกล่าวว่าพวกเขาอยู่บนทางนำของพระผู้เป็นเจ้าของเขา และเป็นกลุ่มชนที่ประสบความสำเร็จ สิ่งต่างๆ ที่มีบทหะดีษจากท่านนบี ที่น่าเชื่อถือหรือที่มีอยู่ในอัลกุรอานจำเป็นต้องศรัทธา และห้ามปฏิเสธหรือตีความจากความหมายอันชัดแจ้งเป็นอันขาด ผู้ใดที่ปฏิเสธหรือตีความบทต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะหลงทางอันเที่ยงธรรมอย่างแน่นอน วะบิ้ลลาฮิตเตาฟีก วะศ็อลลัลลอฮุอะลานะบียินามุฮัมมัด วะอาลิฮี วะเศาะฮฺบิฮี วะซัลลัม
                          

คณะกรรมการประจำองค์กรการวินิจฉัยและฟัตวา
ประธาน     : อับดุลอะซีซ บินอับดุลลอฮฺ บินบาซ
กรรมการ    : อับดุลลอฮฺ บินฆุดัยยาน
กรรมการ    : อับดุลลอฮฺ บินกะอู๊ด

    ฟัตวานี้ออกมาจากองค์กรเดียวกับที่ชี้ขาดเรื่องเกี่ยว กับ อิบรอฮีม กุเรชี แต่จะสังเกตได้ว่า คำฟัตวานี้ไม่มีการพิพากษาตัวบุคคลว่าเป็นก๊อดยานียฺหรือกาฟิร(มุรตัด) เพียง แต่พูดว่า ใครมีแนวปฏิเสธหรือตีความเช่นนี้ ก็ถือว่าหลงผิด (ฎอล) ซึ่งต่างจากคำชี้ขาดที่ อาลี อีซา นำมาอ้าง อันเนื่องจากว่าคำถามและข้อมูลที่แจ้งไปยังองค์กรฟัตวานั้น มีข้อบิดเบือนและความรุนแรงในพฤติกรรมที่กล่าวถึง ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และคำตอบก็ออกมาตามข้อมูลที่มีอยู่ในคำถาม จึงต้องใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่า ทำไมคำชี้ขาดของนักปราชญ์ที่ อาลี อีซา ได้นำมาอ้างอิงนั้นจึงแตกต่างจากคำชี้ขาดอื่นๆ ทั้งๆที่มีเนื้อหาสาระเดียวกัน !!!

 

9. การตอบโต้ข้อกล่าวหาว่า “อิบรอฮีม กุเรชี ปฏิเสธการลงโทษผู้ทำซินาด้วยการขว้างด้วยหิน”

อาลี อีซา ได้ระบุปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษผู้ทำซินาด้วยการขว้างด้วยหิน(ฮัดดุรร็อจญฺมี) และกล่าวหา อิบรอฮีม กุเรชี อย่างชัดเจนว่า เขาปฏิเสธการลงโทษดังกล่าว (หน้า 14) และได้ระบุปัญหานี้ในวารสารสายสัมพันธ์ ทั้งอันดับที่ 393-394 และในเอกสารที่จำหน่ายวันที่ 12 เม.ย. และก่อนหน้านี้สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับก็ได้ส่งคำถามไปยังองค์กรฟัตวาต่างประเทศหลายองค์กรในเรื่องนี้ว่า มีผู้ปฏิเสธการลงโทษการทำซินาด้วยการขว้างด้วยหิน และอ้างว่าท่านนบีมุฮัมมัด ปฏิบัติการลงโทษดังกล่าวตามข้อบัญญัติในเตารอตของพวกยิวและหลังซูเราะตุนนูรท่านนบีมิได้ปฏิบัติการลงโทษดังกล่าว (ดูคำถามที่ถูกส่งไปยังองค์กรฟัตวา ใน ข้อชี้ขาดของนักปราชญ์อิสลามในการบิดเบือนอัล-กุรอาน, หน้า 14 คำถามที่ 10)

และในวารสารสายสัมพันธ์อันดับดังกล่าว อาลี อีซา ได้อ้างข้อความจากกุรอานมะญีดของ อิบรอฮีม กุเรชี ซึ่ง อาลี อีซา ตัดมาเสนอไว้ ดังนี้

คำสั่งให้ลงโทษชายและหญิงที่ลอบร่วมประเวณีโดยให้เฆี่ยนคนละร้อยทีก็มีในปีนี้ (24:2) การให้ลงโทษโดยขว้างด้วยหินจนตายนั้น ไม่มีปรากฏในอัลกุรอาน แต่เป็นซุนนะฮฺของท่านนบี ซึ่งได้ถือปฏิบัติตามพระคัมภีร์เตารอฮฺหรือหลักปฏิบัติของยิว (กุรอานมะญีด, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เล่ม 2, หน้า 836)

ซึ่ง อาลี อีซา ได้สรุปจากข้อความดังกล่าวไว้ 3 ประเด็นด้วยกัน คือ

1.    ปฏิเสธการลงโทษโดยการขว้างด้วยก้อนหิน

2.    กล่าวหาว่า ท่านร่อซูล ได้ถือปฏิบัติตามคัมภีร์เตารอตหรือหลักปฏิบัติของยิว ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน ซึ่งการกล่าวหาท่านร่อซูลเช่นนี้เป็น ความเข้าใจส่วนบุคคล ปราศจากหลักฐาน

  ในวารสารสายสัมพันธ์ อันดับ 393-394 หน้า 14 ในข้อ 2 อาลี อีซา ได้เพิ่มข้อความ และยังเป็นการดูหมิ่นท่านร่อซูล อีกด้วย  แต่ในเอกสารฉบับที่จำหน่ายวันที่ 12 เม.ย.  อาลี อีซา ได้ตัดข้อความดังกล่าวออกไป ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ไม่มีที่มาในคำพูดของ อิบรอฮีม กุเรชี และเป็นข้อสังเกตว่า ในอันดับ 393-394 อาลี อีซา ได้อ้างถึงหนังสือตัฟซีรอิบนิกะษีร ซึ่งในหนังสือนี้มีบทฮะดีษ ข้อความ และการวิจารณ์ของท่านอิมามอิบนุกะษีร ที่สอดคล้องกับคำพูดของ อิบรอฮีม กุเรชี จึงทำให้เราสงสัยว่า ทำไม อาลี  อีซา เจตนาบิดเบือนและสรุปข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี ให้ผู้อ่านเข้าใจว่า อิบรอฮีม กุเรชี ปฏิเสธการลงโทษด้วยการขว้างด้วยหิน

3.    สร้างความเข้าใจผิด โดยมุ่งให้คนเข้าใจว่า หลังจากอัลลอฮฺประทานซูเราะตุนนู้รแล้ว (เมื่อท่านอ่านข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี กับข้อความของ อาลี อีซา ข้างต้น แล้วเปรียบเทียบกัน จะเห็นว่า อาลี อีซา เจตนาบิดเบือนข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี และสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่าน) ท่านร่อซูลก็ยกเลิกหรือมิได้นำบทลงโทษในการขว้างด้วยก้อนหิน มาปฏิบัติอีกต่อไป (วารสารสายสัมพันธ์ ฉบับที่จำหน่ายวันที่ 12 เม.ย. หน้า 86-87 และวารสารเดียวกัน อันดับ 393-394 หน้า 14)

คำชี้แจง

    1. อิบรอฮีม กุเรชี มิได้ปฏิเสธการลงโทษด้วยการขว้างด้วยหิน แต่ยังยืนยันว่ามีในข้อบัญญัติของศาสนา เพียง แต่สำนวนที่ อิบรอฮีม กุเรชี ใช้ในข้อความที่ อาลี อีซา อ้างอิงนั้น ผู้ที่มิได้ศึกษาประวัติของอัลกุรอานหรือที่มาของข้อบัญญัติต่างๆไม่สามารถเข้าใจเรื่องนี้ดังที่ อิบรอฮีม กุเรชี ระบุไว้ เพราะข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี ที่ว่า ไม่มีปรากฏใน อัลกุรอาน หมายถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการลงโทษด้วยการขว้างด้วยหินไม่มีในอัลกุรอาน และนั่นเป็นความจริง เพราะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องนี้สำนวนถูกยกเลิกไปแล้ว ซึ่งทางด้านนิติศาสตร์อิสลามเรียกว่า อัลมันซูคุติลาวะตัน หมายถึงบทบัญญัติที่สำนวนถูกยกเลิก แต่หลักให้ปฏิบัติมิได้ยกเลิก

ดังนั้น การที่จะพูดว่า ไม่มีปรากฏในอัลกุรอานนั้น ก็ถือว่าเป็นประโยคที่ไม่ขัดกับความจริง เพียงแต่อาจทำให้บางคนสับสน แต่ในเมื่อ อิบรอฮีม กุเรชี ระบุอย่างชัดแจ้งว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นซุนนะฮฺของท่านนบี นั้น ก็แสดงว่า อิบรอฮีม กุเรชี ไม่ปฏิเสธการลงโทษดังกล่าว เพราะตามวิชานิติศาสตร์อิสลาม หลักฐานการลงโทษดังกล่าว คือซุนนะฮฺของท่านนบี   ที่จะบ่งบอกถึงบทบัญญัติของอัลกุรอานที่สำนวนได้ถูกยกเลิกแล้ว หากว่าใครจะอ้างว่ามีหลักฐานใน อัลกุรอานก็เป็นการอ้างหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี ที่ อาลี อีซา อ้างถึงและสรุปว่าเป็นการปฏิเสธการลงโทษผู้ทำซินาโดยการขว้างด้วยหินนั้น เป็นการกล่าวหาด้วยการบิดเบือนและเจตนากล่าวหา อิบรอฮีม กุเรชี โดยปราศจากหลักฐาน เพราะในข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี ที่ระบุข้างต้น ไม่มีประโยคใดที่จะให้ความหมายเกี่ยวกับการปฏิเสธทั้งสิ้น ดังนั้น คำถามที่สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับได้ถามไปยังองค์กรฟัตวา เกี่ยวกับผู้เขียนกุรอานมะญีดว่า เขาปฏิเสธการลงโทษผู้ทำ  ซินาด้วยการขว้างด้วยหินนั้นก็เป็นการถามในสิ่งที่ไม่มีปรากฏ ในกุรอานมะญีด

การกระทำที่ให้อภัยไม่ได้ คือการบิดเบือนข้อความของบุคคลเพื่อโจมตีเขา ทั้ง ๆ ที่คำตอบขององค์กรฟัตวาได้ให้คำตอบที่สอดคล้องกับข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี และสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับยังนำมาบันทึกให้อ่านดังต่อไปนี้ ปรากฏรายงานจากท่าน อะลี   ขณะที่ท่านขว้างหญิงคนหนึ่งในวันศุกร์ ท่านกล่าวว่า ฉันขว้างนางโดยอาศัยซุนนะฮฺของท่านร่อซูล ในอีกรายงานหนึ่งว่า และฉันเฆี่ยนนางโดยอาศัยกิตาบุลลอฮฺ (ข้อชี้ขาดของนักปราชญ์อิสลามในข้อบิดเบือนอัลกุรอาน, หน้า 32)  ถ้าผู้อ่านนำข้อความดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี จะพบว่าไม่แตกต่างกัน เพราะ อิบรอฮีม กุเรชี ยืนยันว่า การขว้างหินมาจากซุนนะฮฺ และท่านอะลี   ก็ระบุที่มาของการลงโทษโดยการขว้างด้วยหินนั้น ว่าเป็นข้อบัญญัติจากซุนนะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด แต่ข้อสรุปของ อาลี อีซา ต่างหากที่ต้องให้เหตุผลกับผู้อ่านว่า เขานำมาจากไหน ?

    2. อาลี อีซา ถือว่าการที่ อิบรอฮีม กุเรชี กล่าวว่า ท่านนบี ได้ปฏิบัติการลงโทษผู้ทำซินาด้วยการขว้างด้วยหินตามคัมภีร์เตารอตนั้น เป็นการกล่าวโดยปราศจากหลักฐานและเป็นความเข้าใจส่วนบุคคล แต่การกล่าวของ อาลี อีซา ต่างหากที่ปราศจากหลักฐานและมาจากการที่ไม่ศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียด เพราะการลงโทษด้วยการขว้างด้วยหินมีอยู่ในคัมภีร์เตารอตจริง และท่านนบี ได้นำข้อบัญญัติดังกล่าวมาปฏิบัติเป็นข้อบัญญัติของอิสลาม และการที่ท่านนบีมุฮัมมัด ปฏิบัติตามคัมภีร์เตารอตในส่วนนี้ ไม่ถือว่าเป็นความเข้าใจส่วนบุคคลหรือปราศจากหลักฐาน เพราะในซูเราะตุ้ลมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 44 มีพระดำรัสดังต่อ ไปนี้

 

﴿ إِنَّا أَنْزَلْنَا التَّوْرَاةَ فِيْهَا هُدَىً وَنَوْرٌ يَحْكُمُ بِهَا النَّبِيُّوْنَ الَّذِيْنَ أَسْلَمُوْا

لِلَّذِيْنَ هَادُوْا وَالرَّبَّانِيُّوْنَ وَالأَحْبَارُ بِمَا اسْتُحْفِظُوْا مِنْ كِتَابِ الله ...﴾

 

ซึ่งมีความหมายว่า แท้จริงเราได้ให้อัตเตารอฮฺลงมา โดยที่ในนั้นมีข้อแนะนำและแสงสว่าง ซึ่งบรรดานบีที่สวามิภักดิ์ได้ใช้อัตเตารอฮฺตัดสิน บรรดาผู้ที่เป็นยิว และบรรดาผู้ที่รู้แล้วในอัลลอฮฺ และนักปราชญ์ทั้งหลายก็ได้ใช้อัตเตารอฮฺตัดสิน...

    ในตัฟซีรอัฏฏ๊อบรียฺปรากฏรายงานจากท่านอัศศุดดียฺ อธิบายถึง บรรดานบีที่สวามิภักดิ์ได้ใช้อัตเตารอฮฺตัดสิน (ในอายะฮฺข้างต้น)ว่าหมายถึง อันนบี (มุฮัมมัด ) และมีรายงานจากท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ กล่าวถึงการที่ท่านนบี ตัดสินให้ชาวยิว ในกรณีที่ชายและหญิงจากพวกยิวได้ทำซินา ท่านนบี ก็แนะนำให้ปฏิบัติตามคัมภีร์อัตเตารอฮฺ แต่นักปราชญ์ของพวกยิว ปกปิดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการลงโทษด้วยการขว้างด้วยหิน ท่านนบี จึงได้ท้าทายพวกยิวให้เปิดเผยข้อเท็จจริงของบทบัญญัติดังกล่าว
ท่านอบูฮุรอยเราะฮฺกล่าวว่า ท่านนบี กล่าวว่า

(( فَإِنِّي أَحْكُمُ بِمَا فِيْ التَّوْرَاةِ ))  “และฉันจะตัดสินด้วยบทบัญญัติที่มีอยู่ในอัตเตารอฮฺ ” (ตัฟซีรอัฏฏ๊อบรียฺ  , เล่มที่ 6, ตั้งแต่หน้า 249)

    และในมุสนัดของอิมามอะหมัด เล่มที่ 4 หน้า 286 ในเรื่องของชายและหญิงพวกยิวที่ทำซินา ท่านนบี กล่าวว่า((الَّلهُمَّ إِنِّي أَوَّلُ مَنْ أَحْيَا أَمْرَكَ إِذْ أَمَاتُوْهُ  )) “โอ้พระองค์ ข้าพระองค์เป็นคนแรกที่ฟื้นฟูคำบัญชาของพระองค์ท่านหลังจากที่พวกเขา (ชาวยิว) ได้เลิกปฏิบัติ”

    ท่านอิมามอิบนิกะษีรระบุในตัฟซีรของท่าน ว่า

 

 فَهَذِهِ الأَحَادِيْثُ دَالَّةٌ عَلَى أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حَكَمَ بِمُوَافَقَةِ حُكْمِ التَّوْرَاةِ ، وَلَيْسَ هَذَا مِنْ بَابِ الإِكْرَامِ لَهُمْ بِمَا يَعْتَقِدُوْنَ صِحَّتَهُ لأَنَّهُمْ مَأْمُوْرُوْنَ بِاتِّبَاعِ الشَّرْعِ المُحَمَّدِيِّ لا مَحَالَةَ..  

 

ซึ่งหมายความว่า บรรดาฮะดีษต่าง ๆ ที่ระบุข้างต้นจะชี้ว่า ท่านนบี ได้ตัดสินตามบทบัญญัติของเตารอฮฺ และนั่นมิใช่หมายถึงการให้เกียรติชาวยิวในสิ่งที่พวกเขาเชื่อถือ แต่เพราะชาวยิวถูกใช้ให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของท่านนบีมุฮัมมัด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากข้อความต่างๆที่ระบุข้างต้น เราจะเห็นว่าการลงโทษด้วยการขว้างด้วยหินเป็นบทบัญญัติในเตารอฮฺ และท่านนบี ได้ปฏิบัติตามพวกยิวจริง แต่ด้วยคำบัญชาของอัลลอฮฺ   เพราะฉะนั้นเราพิสูจน์ได้แล้วว่า ข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี ที่ อาลี อีซา ได้อ้างถึงว่าเป็นการปฏิเสธการลงโทษดังกล่าว ปราศจากหลักฐานและเป็นความเข้าใจส่วนบุคคล เป็นข้อความที่สอดคล้องกับบรรดาหะดีษของท่านนบี และคำอธิบายของอุละมาอฺตัฟซีรที่มีความรู้ด้านความหมายอัลกุรอาน (เช่น อิมามอัฏฏ๊อบรียฺและอิมาม อิบนิกะษีร)

กลับกลายเป็นว่า อาลี อีซา นั่นเองที่เข้าใจความ หมายข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี เอาเอง และไม่ทราบถึงหลักฐานที่เกี่ยวกับการลงโทษดังกล่าว (ถือว่าเป็นข้อบกพร่อง อันใหญ่หลวง เพราะมีระบุในทุกตำราที่พูดถึงเรื่องนี้)  และการกล่าวหาของ อาลี อีซา ก็เป็นการกล่าวหาโดยปราศจากหลักฐาน

 

10. การตอบโต้ข้อกล่าวหาเรื่องอัลกอฎออฺและอัลกอดัร

ในวารสารสายสัมพันธ์ อันดับ 397-398, หน้า 18 อาลี อีซา กล่าวหาว่า อิบรอฮีม กุเรชี ปฏิเสธกอฎออฺและกอดัรในอัลกุรอาน และกล่าวหาว่า อิบรอฮีม กุเรชี ระบุในหนังสือกุรอานมะญีดว่า เรื่องอีมานในกอฎออฺและกอดัรไม่มีระบุในอัลกุรอาน และในคำถามที่ส่งไปยังองค์กรฟัตวา มีคำถามเกี่ยวกับผู้ปฏิเสธกอฎออฺและกอดัร และคำตอบของอุละมาอฺในเรื่องนี้

เมื่อพิจารณาบทความที่ อาลี อีซา อ้างจากหนังสือ กุรอานมะญีด ปรากฏว่า อาลี อีซา ได้ตัดข้อความที่ อิบรอฮีม กุเรชี ยืนยันในหลักศรัทธาของกอฎออฺและกอดัร และนำข้อความที่ อิบรอฮีม กุเรชี ระบุว่าอัลกอฎออฺและอัลกอดัรเป็นหลักศรัทธาที่ไม่มีปรากฏในอัลกุรอานมาเสนอ ซึ่งเป็นประโยคที่มีความจริง แต่อาจทำให้ผู้ที่ขาดความรู้สับสนในความละเอียดของเรื่องอีมาน เพราะ อิบรอฮีม กุเรชี ได้พูดถึงหลักศรัทธาต่างๆที่อัลกุรอาน ใช้ให้ศรัทธานั้นมีเพียง 5 ประการ ซึ่งอัลกอฎออฺและอัลกอดัรมีระบุในอัลกุรอาน แต่มิใช่ในเชิงใช้ให้ศรัทธาเหมือน 5 ประการอื่นๆ ทั้งนี้ อิบรอฮีม กุเรชี ก็ยังยืนยันว่าหลักศรัทธาในอัลกอฎออฺและอัลกอดัรมีปรากฏในซุนนะฮฺของท่าน นบีมุฮัมมัด  ในหะดีษหลายบท(กุรอานมะญีด , เล่ม 2, หน้า 1402-3 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2)  เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่าการระบุอัลกอฎออฺและอัลกอดัรในรุกุนอีมานหกประการ ไม่มีอายะฮฺอัลกุรอานที่มีสำนวนระบุอย่างชัดเจนว่า อัลกอฎออฺและ อัลกอดัรอยู่ใน 6 รุกุน แต่ในซุนนะฮฺมีอย่างแน่นอน ซึ่งข้อความเหล่านี้ อิบรอฮีม กุเรชี มิได้คิดเอาเองแต่นำมาจาก   อุละมาอฺที่น่าเชื่อถือคือ อัชชัยคฺอัลอัลลามะฮฺ สุไลมาน อันนัดวียฺ ในหนังสือซีเราะตุนนบี เล่ม 4 หน้า 860 (อัลอิอฺลาน บิมัน ฟี ตารีคิลฮินดิ มินอะอฺลาม – ประวัติอุละมาอฺประเทศอินเดีย, อัลอัลลามะฮฺ อับดุลฮัยย์ ฟัครุดดีน อัลหะซะนียฺ อดีตเลขาธิการนัดวะตุลอุละมาอฺ ลักเนาว์, เล่ม 3 ภาค 8, หน้า 1235 ซึ่งมีรายละเอียดประวัติของ อัลอัลลามะฮฺ สุไลมาน อันนัดวียฺ )

นอกจากนั้นในกุรอานมะญีดทุกอายะฮฺที่มีการระบุกอฎออฺและกอดัร อิบรอฮีม กุเรชี ก็ยืนยันในคำแปลเหมือนหลักเชื่อมั่นของอะฮฺลุซซุนนะฮฺโดยทั่วไป และการยืนยันที่ชัดเจนกว่านี้ก็คือ การที่ อิบรอฮีม กุเรชี ระบุในภาคผนวกของกุรอานมะญีด เล่ม 2 ในเรื่องหลักศรัทธาต่างๆ ในอัลอิสลาม ซึ่งมีคำชี้แจงอย่างละเอียดเกี่ยวกับหลักอีมานทั้งหกประการ และได้ชี้แจงถึงกฎแห่งการกำหนดสภาวะ (กุรอานมะญีด, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เล่ม 2 หน้า 1400-21)  ซึ่งจะบ่งบอกว่า อิบรอฮีม กุเรชี ไม่ได้ปฏิเสธหลักศรัทธาแห่งอัลกอฎออฺและอัลกอดัรด้วยประการทั้งปวง แต่ อาลี อีซา กลับกล่าวหาว่า อิบรอฮีม กุเรชี ปฏิเสธอัลกอฎออฺและอัลกอดัร อย่างไม่มีความละอายต่อสัจธรรมที่ปรากฏในสายตาของเขา เพราะ อาลี อีซา ได้อ่านภาคผนวกอย่างแน่นอน เพราะเคยอ้างถึงส่วนนี้ในกุรอานมะญีดในหลายกรณี น่าประหลาดอย่างยิ่งสำหรับนักวิชาการที่สอนจริยธรรม แต่กลับบิดเบือนข้อความของคู่กรณีเพื่อหลอกชาวบ้าน นอกจากนี้ยังบิดเบือน ข้อความเพื่อขอฟัตวากล่าวหาคู่กรณีว่าเป็นกาฟิร เพราะไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะอ้างได้ สำหรับ อาลี อีซา เมื่อเขาดำเนินการต่อต้าน อิบรอฮีม กุเรชี และระบุในคำถามที่นำไปให้อุละมาอฺ ต่างประเทศ ซึ่งมีสำนวนที่แปลจากภาษาอาหรับดังนี้

คำถามที่ 5 : เขาได้กล่าวว่า ก็ฎอ-ก็ดัร  นั้นไม่มีหลักฐานใดๆ ในอัล-กุรอาน

เมื่อเราพิจารณาสำนวนคำถามและเปรียบเทียบกับข้อความในกุรอานมะญีด จะเห็นว่าคำถามนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยประการทั้งปวง จึงเป็นกรณีที่จะชี้ให้เห็นว่า อาลี อีซา เจตนาบิดเบือนข้อความของ อิบรอฮีม กุเรชี เพื่อโจมตีเขาโดยปราศจากหลักฐาน

และเรื่องที่แปลกมากคือ คำฟัตวาที่สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับนำมาจากองค์กรวารสารอัลอิอฺตะซอม แห่งนครไคโร ประเทศอียิปต์ ในประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องกอฎออฺและกอดัร เป็นข้อความที่มีเนื้อหาเหมือนที่ อิบรอฮีม กุเรชี ระบุไว้ในกุรอานมะญีด ดังนี้

5. การศรัทธาต่ออัล-เกาะฎออฺ และ อัล-เกาะดัรนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธาทั่วไปที่มุสลิมทุกคนถูกเรียกร้องให้ศรัทธา และเรานั้นก็ได้รับการศรัทธาของเราจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺแห่งร่อซูลของพระองค์ ผู้ใดที่ปฏิเสธอัล-เกาะฎออฺ และ อัล-เกาะดัร แล้วไซร้ แน่นอนเขาก็ได้ปฏิเสธหลักการที่สำคัญอันหนึ่งจากหลักการ สำคัญๆ ของความศรัทธา ในฮะดีซมุสลิมมีว่า “การศรัทธานั้นคือ การที่ท่านศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และมลาอิกะฮฺของพระองค์ และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดาร่อซูล ของพระองค์ และวันปรโลก และการที่ท่านจะศรัทธาต่ออัล-เกาะดัร ทั้งทีดีและที่ชั่ว...”  (ข้อชี้ขาดของนักปราชญอิสลาม ในการบิดเบือนอัล-กุรอาน , หน้า 65)

 

11. การตอบโต้ “การบิดเบือนพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ” (หน้า 79-80)

ในเอกสารฉบับที่จำหน่ายวันที่ 12 เม.ย. หน้า 79 ข้อที่ 1 อาลี อีซา กล่าวว่า อิบรอฮีม กุเรชี บิดเบือนคำดำรัสของอัลลอฮฺในอายะฮฺ 64 ซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ ที่มีความว่า พระหัตถ์ของอัลลอฮฺ ว่าหมายถึง ความโปรดปราน ดังปรากฏในกุรอานมะญีดฉบับตีพิมพ์ครั้งล่าสุด เล่มที่ 1 หน้า 257 และในข้ออื่นๆ ที่ อาลี อีซา กล่าวหา อิบรอฮีม กุเรชี ซึ่งเป็นการตีความคุณลักษณะของอัลลอฮฺที่ไม่ถูกต้องที่ปรากฏในกุรอานมะญีด แต่ทำไม อาลี อีซา จึงนำประเด็นเกี่ยวกับการบิดเบือนพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺมาเป็นข้อหาในหนังสือที่ตีพิมพ์ เพื่อกล่าวหา อิบรอฮีม กุเรชี ว่าเป็นก๊อดยานียฺ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผิดหลักอะกีดะฮฺของอัสสะละฟุศศอลิหฺ แต่ไม่ใช่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับก๊อดยานียฺโดยเฉพาะ เพราะมีหลายกลุ่มหลายนิกาย ที่มีความเชื่อในการตีความพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ และมีบทบาทสูงในการศึกษาแห่งประเทศไทย แต่ อาลี อีซา ไม่เคยโจมตีกลุ่มนั้นหรือนำประเด็นนี้มาเป็นข้อกล่าวหาว่า กลุ่มอื่นมีข้อเกี่ยวข้องกับก๊อดยานียฺ เช่น ตำราของผู้รู้ในประเทศไทยที่ยึดในทัศนะของอัลอะชาอิเราะฮฺ ซึ่งเป็นตำราที่มีชื่อเสียงและแพร่หลายกว่าตำราของ อิบรอฮีม กุเรชี แต่ อาลี อีซา ไม่เคยเอ่ยถึงตำราเหล่านั้นในเชิงตำหนิหรือกล่าวหา ทำให้เราตั้งคำถามกับ อาลี อีซา ว่า ในเมื่อการปฏิเสธคุณลักษณะของ อัลลอฮฺเป็นการบิดเบือนอัลกุรอาน ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นอันตรายต่อหลักเชื่อมั่น ก็สมควรที่จะชี้แจงตำราอื่นๆ ที่มีข้อบิดเบือนเช่นนี้ด้วย แต่ทำไม อาลี อีซา ไม่ชี้แจง ?

 


12. การตอบโต้ข้อกล่าวหา “อิบรอฮีม กุเรชี ปฏิเสธมุอฺญิซาต”

เป็นประเด็นเด่นดังที่ อาลี อีซา กล่าวหา อิบรอฮีม กุเรชี ตลอดมา ซึ่งไม่เคยมีนักวิชาการท่านใดสรุปว่า อิบรอฮีม กุเรชี ปฏิเสธมุอฺญิซาตทั้งมวล จนกระทั่งยุคที่ อาลี อีซา เริ่มโจมตี อันที่จริง ในตำราของ อิบรอฮีม กุเรชี มีหลายข้อความที่บ่งบอกว่าเขามีแนวคิดในการตีความมุอฺญิซาต แต่การสรุปว่าการตีความมุอฺญิซาตเป็นการปฏิเสธมุอฺญิซาตนั้น ไม่เป็นธรรมในเชิงวิชาการ เพราะระหว่างคำว่า “ตีความ” กับคำว่า “ปฏิเสธ” นั้นมีข้อแตกต่างมากมาย

และ  อาลี อีซา มักจะใช้คำว่า “บิดเบือน” กับเรื่อง “การตีความ”  ทั้งๆที่การตีความบางกรณีไม่ถือว่าเป็นการบิดเบือน และที่อันตรายกว่านั้นคือการใช้คำว่า “ปฏิเสธ” กับเรื่อง “การตีความ” ซึ่งเป็นคนละประเด็น “การปฏิเสธ”คือการไม่ยอมรับ ไม่เชื่อ แต่ “การตีความ” มีส่วนยอมรับและเชื่อ แต่จะอธิบายด้วยสติปัญญา ข้อแตกต่างตรงนี้เป็นรายละเอียดในเชิงวิชาการที่ อาลี อีซา ต้องชี้แจงให้ประชาชนทราบ แต่ปรากฏว่า เขากลับถือว่าทุกเรื่องที่เป็นการตีความนั้นคือการปฏิเสธ ส่งผลให้คนเชื่อว่า อิบรอฮีม กุเรชี เป็นผู้ปฏิเสธ แน่นอน เป็นคำศัพท์ที่จะสร้างความรู้สึกไม่ดีต่อบุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้ แต่ในความเป็นจริง อิบรอฮีม กุเรชี ไม่มีลักษณะผู้ปฏิเสธโดยสิ้นเชิง เพียงแต่เป็นผู้มีแนวคิดที่ให้ความสำคัญแก่สติ ปัญญาโดยเกินขอบเขต ทำให้บทบัญญัติไม่อยู่ในกรอบความหมายใกล้เคียงของสำนวน และนั่นคือความผิดแท้จริงของ อิบรอฮีม กุเรชี

ส่วนความเชื่อของ อิบรอฮีม กุเรชี เกี่ยวกับมุอฺญิซาต เขาได้ประกาศไว้ในหนังสือกุรอานมะญีด เล่ม 3 (หน้า 1344-52 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2513) และในคำนำกุรอานมะญีด เล่ม 1 (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2544)  ข้อที่ 6   ซึ่งในสองที่ดังกล่าวมีการยืนยันในปาฏิหาริย์(มุอฺญิซาต)ของนบีและรอซูล แต่ทว่า อิบรอฮีม กุเรชี มีความเห็นเหมือนนักปราชญ์ท่านอื่นๆที่ให้ความสำคัญกับสติปัญญา โดยคิดว่าโองการของอัลลอฮฺนั้นควรที่จะเข้าใจได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บทบัญญัติของอัลลอฮฺสอดคล้องกับกฎธรรมชาติที่พระองค์กำหนดไว้ แต่มิได้หมายถึงปฏิเสธพระเดชานุภาพของอัลลอฮฺ ในการแสดงมุอฺญิซาตโดยบรรดานบีและรอซูล ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ได้ปรากฏกับนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ชัยคฺมุฮัมมัด อับดุฮฺ, ชัยคฺมุฮัมมัดรอชีด ริฎอ และ ชัยคฺมุฮัมมัดฮามิด อัลฟิกี ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงนักปราชญ์ซุนนะฮฺ แต่หาเป็นความเห็นที่ถูกต้องตามอะกีดะตุสสะลัฟ (ชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ)ไม่

เช่น ชัยคฺมุฮัมมัด อับดุฮฺ และ ชัยคฺมุฮัมมัดรอชีด ริฎอ ที่ตีความเรื่องนกสี่ตัวในอายะฮฺที่ 260 ของซูเราะตุลบะกอเราะฮฺ ซึ่ง อิบรอฮีม กุเรชี ได้ตีความปาฏิหาริย์ของท่าน นบีอิบรอฮีมในอายะฮฺนี้เหมือนที่นักปราชญ์ทั้งสองท่านได้ตีความ (ตัฟซีรุลมะนาร , ของ มุฮัมมัดรอชีด ริฎอ เล่ม 3 หน้า 55)  แต่ไม่มีใครกล่าวหาว่า ชัยคฺมุฮัมมัดรอชีด ริฎอ หรือ ชัยคฺมุฮัมมัด อับดุฮฺ เป็นก๊อดยานียฺ ทั้งๆที่แนวการตีความมุอฺญิซาตของนักปราชญ์สองท่านนี้ ปรากฏหลายแห่งในงานเขียนของท่าน ซึ่งมีวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทได้วิจัยแนวของนักปราชญ์สองท่านนี้ และมีข้อสรุปว่ามีทัศนะเหมือน มุอฺตะซิละฮฺที่ใช้สติปัญญาเป็นมาตรฐานแห่งการเข้าใจคัมภีร์ อัลกุรอาน แต่ไม่เคยมีนักวิชาการท่านใดกล่าวหานักปราชญ์สองท่านนี้ว่ามีแนวคิดของลัทธิก๊อดยานียฺ

อิบรอฮีม กุเรชี ยืนยันเรื่องมุอฺญิซาตไว้ในกุรอานมะญีด และมีหลายครั้งที่เขาแปลเรื่องมุอฺญิซาตโดยไม่ใช้การตีความ เช่นที่ปรากฏในกุรอานมะญีด เล่ม 3 หน้า 1538-40 (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2513) เกี่ยวกับเรื่องการที่ดวงเดือนแยกเป็นสองซีกในสมัยท่านนบีมุฮัมมัด y หลังจากที่ อิบรอฮีม กุเรชี ได้นำความเห็นที่ยืนยันและที่ค้านความมหัศจรรย์ดังกล่าวมาเสนอ เขาก็กล่าวว่า …อย่างไรก็ตาม เมื่อพิเคราะห์ดูหลักฐานต่างๆ จะเห็นได้ว่าประโยคเหล่านี้มิใช่อุปมาอดีตกาลให้เป็นอนาคตกาล หากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง...
ในหนังสือ เศาะหี้หฺ อัล-บุคอรี ของ อิบรอฮีม กุเรชี มีคำอธิบายเกี่ยวกับมหัศจรรย์(มุอฺญิซาต) อย่างหนึ่งคือการ ที่น้ำจำนวนน้อย กลับพอเพียงสำหรับกองทัพมุสลิมนับพันใช้อาบน้ำละหมาดและดื่มด้วย ซึ่งเขาอธิบายไว้ว่า

56. อภินิหารเรื่องน้ำออกจากนิ้ว หรือท่านลูบปากถุงน้ำ หรือท่านบ้วนน้ำลงบ่อ ก็มีน้ำเต็มขึ้นมานั้น มีปรากฏในหะดีษที่เชื่อถือได้หลายแห่ง เช่นจากท่านอิมรอน บินหุศ็อยนฺ (หะดีษที่ 79), จากท่านอนัส อิบนุ มาลิก, ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ, ท่าน อัล-บะรออะ ที่ว่าบ่ออัล-หุดัยบิยะฮฺที่ถูกตักน้ำออกจนหมด ก็ยังมีน้ำเต็มขึ้นมาได้อีก เพียงท่านบ้วนน้ำที่กลั้วลงในบ่อ

เหล่านี้เป็นพลังอันหนึ่งซึ่งเนื่องจากความเมตตาและ ความจำเริญที่อัลลอฮฺทรงประทานแก่ท่านนบี y ให้แสดงสิ่งมหัศจรรย์ได้ ซึ่งคนจำนวนสิบจำนวนพันได้มีน้ำดื่มและทำวุฎูอฺ แม้แต่สัตว์พาหนะก็ได้ดื่ม รวมทั้งเรื่องอาหารซึ่งมีจำนวนน้อย แต่คนจำนวนมากได้กินกันจนอิ่ม (ดั่งหะดีษต่อไป) บุญญาภินิหารเช่นนี้มีแก่บรรดานบีโดยอนุมัติ-อิซิน-ของอัลลอฮฺ วิชาการทางวิทยาศาสตร์หรือเหตุผลอธิบายไม่ได้ แต่เป็นบุญญาภินิหารที่เกิดขึ้นเป็นจริงอยู่เสมอ (เศาะหี้หฺ อัล-บุคอรี กิตาบุลมะนากิบ บทที่ 61 ว่าด้วยคุณธรรม, อิบรอฮีม กุเรชี, หน้า 48)

จากข้อมูลที่ระบุข้างต้นจะเห็นว่า การกล่าวหาว่า อิบรอฮีม กุเรชี ปฏิเสธมุอฺญิซาต ไม่เป็นธรรมในเชิงวิชาการ เพราะแนวของเขามิใช่แนวปฏิเสธเหมือนบางกลุ่มบางนิกายซึ่งปฏิเสธไม่ยอมรับมุอฺญิซาตทั้งหมด แต่เป็นแนวการตีความมุอฺญิซาตบางกรณีให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ และสติปัญญา ถึงแม้ว่าจะเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้องและบิดอะฮฺ (อุตริกรรม) แต่มิใช่แนวของก๊อดยานียฺอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีนักวิชาการเช่นอาลี อีซา นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นหลักฐานยืนยันว่า อิบรอฮีม กุเรชี เป็นก๊อดยานียฺ ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับนักวิชาการที่ชำนาญในวิชาอะกีดะฮฺและตัฟซีร (หลักศรัทธาเชื่อมั่นและอธิบาย อัลกุรอาน) ที่จะหลงเชื่อตามคำพูดหรือการพิพากษาโดยไม่มีการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง เพราะข้อมูลที่จะชี้ว่าคนหนึ่งคนใดเป็นผู้ที่ผิดจากแนวทางที่ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องมีการ ศึกษาอย่างกว้างขวางและวิเคราะห์อย่างละเอียดลึกซึ้ง

อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า เรื่องมุอฺญิซาตที่ปรากฏในอัลกุรอาน หรือในซุนนะฮฺที่มีหลักฐานชัดเจนจากรายงานศ่อฮี้ฮฺหรือในตำราที่น่าเชื่อถือแล้ว เราต้องศรัทธาในอภินิหารและพระเดชานุภาพของพระองค์อัลลอฮฺ และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำทัศนะของมุอฺตะซิละฮฺหรือนักปรัชญามาตีความเรื่องดังกล่าว หากว่ามีคนหนึ่งคนใดมีทัศนะเช่นนี้ เราก็ควรตักเตือนชี้แจงเขาด้วยทัศนะของ อะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺและหลักฐานที่น่าเชื่อถือ แต่ถ้าเขาไม่รับ ก็เป็นหน้าที่ของเรา ที่ต้องตักเตือนประชาชนให้ออกห่างจากแนวบิดอะฮฺเหล่านี้ แต่มิใช่หน้าที่ของเราที่จะหุกุ่มคนอื่นที่มีแนวเช่นนี้ ว่าเป็นกาฟิรมุรตัด เพราะอุละมาอฺหลายท่านที่มีบทบาทในการต่อต้านบิดอะฮฺ และมีความรู้สูงในหลักอะกีดะฮฺไม่ได้กระทำเช่นที่ อาลี อีซา และขบวนการของเขาได้กระทำกับ อิบรอฮีม กุเรชี  (อัชชัยคฺมุฮัมมัด ฮามิด อัลฟิกียฺ ได้ปฏิเสธญินในข้อความบางตอนในตำราของท่าน ทำให้นักวิชาการหลายท่านตำหนิ ชัยคฺอัลฟิกียฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนสนิทของท่านคือ ชัยคฺอะหมัด ชากิร ซึ่งท่านมีหนังสือ “บัยนีวะบัยนะ ฮามิด อัลฟิกียฺ” หมายถึง ระหว่างฉันกับฮามิด อัลฟิกียฺ ชัยคฺอะหมัดชากิรได้กล่าวถึงเรื่องการปฏิเสธญินของชัยคฺฮามิด ฟิกียฺ แต่มิได้กล่าวหาท่านว่าเป็นก๊อดยานียฺ หรือกาฟิร หรือมุรตัด)