ครั้งที่ 31-42 การตักเตือน, นินทาใส่ร้าย(อัลฆีบะฮฺ), นะมีมะฮฺ, ความละอาย, ให้เรียกร้องสู่ความง่ายดาย, ความรักต่ออัลลอฮฺ

Submitted by dp6admin on Wed, 07/04/2010 - 17:19

อธิบายหนังสือเศาะฮี้ฮฺอัลบุคอรียฺ กิตาบุลอะดับ (มารยาท)

โดย เชคริฎอ อะหมัด สมะดี

IslamInThailand
 

คลิ้กที่  เพื่อดาวน์โหลด

ครั้งที่ บท (باب) ดาวน์โหลด
 31

 75 ـ باب مَا يَجُوزُ مِنَ الْغَضَبِ وَالشِّدَّةِ لأَمْرِ اللَّهِ وَقَالَ اللَّهُ ‏{‏جَاهِدِ الْكُفَّارَ وَالْمُنَافِقِينَ وَاغْلُظْ عَلَيْهِمْ‏}‏ อนุโลมให้โมโหและให้รุนแรงได้ในกิจการของอัลลอฮฺ เพื่อศาสนา

{‏جَاهِدِ الْكُفَّارَ وَالْمُنَافِقِينَ وَاغْلُظْ عَلَيْهِمْ‏} จงต่อสู้กับกาฟิรและมุนาฟิกีน ให้รุนแรงกับพวกเขาได้ในกรณีที่ศาสนาอนุญาต

- อัลลอฮฺจะทรงโมโหเมื่อมนุษย์ละเมิดหลักการศาสนา หลักฐานที่อนุโลมให้โมโหคือ หะดีษท่านนบีโมโหเมื่อเห็นภาพสิ่งมีชีวิตในบ้าน(6177),
- ภาพวาดแบบใดที่อนุโลมให้ติดหรือใช้ได้, อันตรายของรูปภาพ, การให้ความเคารพภาพบุคคลจนเลยเถิด
 32  มารยาทในการตักเตือน
ท่านนบีมีความละอายยิ่งกว่าหญิงบริสุทธิ์ที่มีความละอาย, คนที่เปิดเผยความชั่วคือคนที่ไม่มีความละอาย ให้เกรงใจกันในการตักเตือน มีความสุขุมรอบคอบและสุภาพอ่อนโยน, หะดีษชายสามคนกับการปฏิบัติอิบาดะฮฺมากๆ
  
 33

 46 ـ باب الْغِيبَةِ อัลฆีบะฮฺ (การพูดถึงผู้อื่นในขณะที่เขาไม่อยู่,นินทา)

การนินทาใส่ร้ายเป็นเรื่องที่อิสลามห้ามปรามและตักเตือน เพราะปัญหาสังคมและครอบครัวมักเกิดจากเรื่องนี้ อัลกุรอานจึงเปรียบไว้อย่างรุนแรง (ในซูเราะฮฺอัลหุญุรอต)ว่า 

وَقَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى ‏{‏وَلاَ يَغْتَبْ بَعْضُكُمْ بَعْضًا أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَنْ يَأْكُلَ لَحْمَ أَخِيهِ مَيْتًا فَكَرِهْتُمُوهُ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ تَوَّابٌ رَحِيمٌ‏}‏
"และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่พวกเจ้านั้นชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ? พวกเจ้าย่อมเกลียดมัน และจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ"
อุละมาอฺกล่าวว่า อนุโลมให้พูดถึงความชั่วของคนหนึ่งในบางกรณี เช่น เพื่อฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่หรือผู้นำ(ให้ตัดสิน), ขอความช่วยเหลือเพื่อปราบปรามความชั่วของคนอื่น, เพื่อขอฟัตวาหรือคำตอบทางศาสนา, พิพากษา, เตือนความชั่วร้าย, ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนิกาหฺ(สืบข้อมูล)
  
 34

ความละอายของลูกหลานอาดัม, การที่สตรีเสนอตัวแต่งงานกับชายที่ดี, สัญญาณกิยามะฮฺหนึ่งคือความละอายจะหายไป, การศึกษาหาความรู้เพื่อโอ้อวด เรียกร้องความสนใจ แสดงความเก่งกาจ หรือเพื่อโต้เถียง เพื่อแข่งขันกับคนโง่เขลา จะไม่ได้กลิ่นของสวนสวรรค์, การเลือกคู่ครอง การดูแลอบรมลูกหลาน

  
 35

 นะมีมะฮฺเป็นกะบีเราะฮฺ(บาปใหญ่) 49 ـ باب النَّمِيمَةُ مِنَ الْكَبَائِرِ  การนินทาเป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อความเสียหายในสังคม (อัลฆีบะฮฺ) อีกแบบที่เลวร้ายกว่านินทา คือพูดลับหลังในเชิงให้สังคมทะเลาะกันหรือให้สองกลุ่มขัดแย้งกันโกรธกัน (นะมีมะฮฺ); สองคนที่ถูกทรมานในกุบูร คนหนึ่งไม่ชำระนะญาซะฮฺให้สะอาด อีกคนหนึ่งเดินไปเดินมาเพื่อพูดให้สองคนทะเลาะกัน

- ลักษณะของมุนาฟิก พวกที่มีสองหน้า(ซุลวัจญฺฮัยนฺ) คนเลวร้ายที่สุดในวันกิยามะฮฺ (มีรายละเอียดในต้นซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ);ใครที่มีสองหน้าในโลกนี้ ในโลกหน้าจะมีสองลิ้นจากไฟ; 3 กรณีที่อนุญาตให้พูดโกหกคือ ในสงคราม, โกหกในครอบครัว(ระหว่างสามีภรรยาเพื่อไม่ให้โกรธกัน, พูดให้สองกลุ่มดีกัน, 
 50 ـ باب مَا يُكْرَهُ مِنَ النَّمِيمَةِ ไม่ชอบให้สรรเสริญต่อหน้ากัน
- เมื่อเห็นคนยกย่องคนอื่น ให้เอาทรายขว้างใส่หน้า -- มาจากหะดีษที่ว่า ลูกหลานอดัม หากมีลำธารทองคำเขาจะไม่พอใจจนกว่าจะได้อีกลำธารหนึ่ง ไม่มีอะไรที่จะอุดตามนุษย์ให้ระงับความอยาก นอกจากทราย
 51 ـ باب قَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى ‏{‏وَاجْتَنِبُوا قَوْلَ الزُّورِ‏}‏  52 ـ باب مَا قِيلَ فِي ذِي الْوَجْهَيْنِ
  
 36
คำพูดของท่านนบีว่า "พวกท่านจงเรียกร้องสู่ความง่ายสะดวก และอย่าเรียกร้องสู่ความยากลำบาก"
บทบัญญัติต่างในศาสนา มีหลายระดับ มีทั้งข้อห้าม ข้อใช้ ข้อผ่อนผันที่อนุญาตให้ทำได้เมื่อมีความจำเป็น (ฎอรูเราะฮฺ - ความจำเป็น)
- ท่านนบีชอบให้ลดลงในสิ่งที่ลำบาก, นบีส่ง มุอ๊าซอิบนุญะบัล และ อบูมูซาอัลอัชอะรียฺ ไปสอนผู้คนที่ยะมัน
- มุอ๊าซอิบนุญะบัล หัวหน้าของอุละมาอฺ ในวันกิยามะฮฺ ความประเสริฐของท่าน ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺจะเรียกทุกคนด้วยอิมามของเขา
- ลำดับความสำคัญในการสอนศาสนา, เรียกร้องสู่อิสลาม และการตักเตือนผู้คน
  
 37
 ฮัจญฺอักบัร, บทบัญญัติการทำกุรบาน(อุฎหิยะฮฺ) - ประวัติความเป็นมา, รุกุ่น,เงื่อนไข, ตักวาในการทำอิบาดะฮฺ
  
 38

81- باب الانبساط إلى الناس - 

- อารมณ์ขันของท่านนบี, ความบันเทิงที่อนุโลมให้ทำได้, งานอดิเรก, การละเล่นกันครอบครัว
- หะดีษท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่นตุ๊กตา, บรรยากาศในครอบครัวต้องเป็นกันเอง อย่าสร้างกติกามากนัก
- อนุญาตให้เล่นตุ๊กตา (بَنَات) หรือไม่ ? อย่างไร?
  
 39

96 ـ باب عَلاَمَةِ حُبِّ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ لِقَوْلِهِ ‏{‏إِنْ كُنْتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ‏}‏ สัญลักษณ์ของความรักต่ออัลลอฮฺ

ความรู้เกี่ยวกับการรักท่านนบี, มารยาทของความรักต่อท่านนบี, อยากให้อัลลอฮฺรักก็ต้องปฏิบัติตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
قُلْ إِن كُنتُمْ تُحِبُّونَ اللَّـهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّـهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ ۗ وَاللَّـهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ
จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮ์ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ [3:31] 
- หะดีษ มีผู้ถามท่านนบีว่า "ท่านนบีว่าอย่างไร คนหนึ่งที่รักคนกลุ่มหนึ่ง แต่เขาไม่สามารถปฏิบัติตามคนกลุ่มนั้นได้อย่างเต็มที่"  ท่านนบีตอบว่า "คนทุกคนย่อมอยู่กับที่รักของเขา"
  
 40

 มารยาทในการตั้งชื่อคน - เมื่อแรกเกิด, ครบ 7 วัน หรือเมื่อโตแล้ว, เปลี่ยนชื่อ, ฉายา(กุนยะ),

105 - باب أَحَبِّ الأَسْمَاءِ إِلَى اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ - ชื่อที่อัลลอฮฺทรงโปรดที่สุด

  
 41
41- มารยาทในการจาม, การตอบรับจาม, เมื่อจามไม่หยุดจะรับยังไง, 
  
 42 124 ـ باب تَشْمِيتِ الْعَاطِسِ إِذَا حَمِدَ اللَّهَ การตอบผู้จาม เมื่อกล่าวอัลฮัมดุลิลลาฮฺ
-- การตอบผู้จามเป็นภาษาไทย, การขอดุอาอฺเป็นภาษาไทย
125 ـ باب مَا يُسْتَحَبُّ مِنَ الْعُطَاسِ، وَمَا يُكْرَهُ مِنَ التَّثَاؤُبِ
126 - باب إذا عطس كيف يشمت
127 - باب إذا تثاءب فليضع يده على فيه
มารยาทเกี่ยวกับผู้ที่หาว
- ให้เอามือปิดปาก ไม่มีดุอาอฺหรือซิกรุลลอฮฺเมื่อหาว
การหาวมาจากชัยฏอน ให้ระงับเท่าที่กระทำได้
  
ประเภทเนื้อหา