ซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ 13 (อายะฮฺ 51-55 บนีอิสรออีล หลังจากข้ามทะเล)

Submitted by dp6admin on Sun, 27/09/2009 - 11:19
หัวข้อเรื่อง
การตีความมุอฺญิซาต, ก็อดยานียฺ,
ช่วงเวลา 40 ปีที่บนีอิสรออีลอยู่ในซีนาย หลังจากข้ามทะเลแล้ว,
มัสญิดอักศอ, โดมอัศศ็อคเราะฮฺ, หินลอย?
สถานที่
บ้านพงษ์พรรฦก บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
13.70 mb
ความยาว
114.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

تفسير سورة البقرة

อายะฮฺ 51-55

يوم الأربعاء   4/8/2547

وَإِذْ وَاعَدْنَا مُوسَى أَرْبَعِينَ لَيْلَةً ثُمَّ اتَّخَذْتُمُ الْعِجْلَ مِن بَعْدِهِ وَأَنتُمْ ظَالِمُونَ ﴿٥١﴾

51. และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้สัญญา*แก่มูซาไว้สี่สิบคืน แล้วพวกเจ้าได้ยึดถือลูกวัวตัวนั้น*หลังจากเขา และพวกเจ้านั้นคือผู้อธรรม 

[สัญญา* - รายละเอียดของสัญญาอยู่ในซูเราะฮฺอัลอะอฺรอฟ, ลูกวัวตัวนั้น*- รายละเอียดอยู่ในซูเราะฮฺฏอฮา]

 

قال ابن كثير : كان ذلك بعد خلاصهم من فرعون وإنجائهم من البحر

(เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่หนีพ้นจากฟิรอาวน์และได้รับความปลอดภัยแล้ว)

 

ما حدث لبني إسرائيل بعد العبور

เหตุการณ์ทั้งหมดหลังจากข้ามทะเลไปแล้ว

• قالوا اجعل لنا إلها كما لهم آلهة .
• واعدنا موسى . ( الموعد الأول وفيه تلقى الألواح وفيها التوارة ) .
• اتخذوا العجل إلها .
• إنزال العقوبة بقتل أنفسهم .
• عفو الله عنهم .
• اختار موسى قومه سبعين رجلا .
 
• قالوا لن نؤمن لك حتى نرى الله جهرة
• أخذتهم الصاعقة .
• نتقنا الجبل فوقهم .
• ظللنا عليهم الغمام وأنزلنا عليهم المن والسلوى .
• قلنا لهم ادخلوا هذه القرية ( حطة ) إنزال الرجز .
• استسقى موسى قومه .
• القتيل والبقرة .
 
 

  ภูเขาอัฏฏูรอยู่ที่ไหน ?

        ทัศนะของนักปราชญ์อิสลามและชาวคัมภีร์(ยะฮูดและนะศอรอ) เห็นว่า ภูเขาอัฏฏูรอยู่ที่ซีนะฮฺ ทัศนะนี้ถือเป็นทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด เพราะสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และถูกระบุในอัลกุรอาน

في معجم البلدان للحموي 3/300

سينا بكسر أوله ويفتح اسم موضع بالشام يضاف إليه   الطور  فيقال طور سيناء وهو الجبل الذي كلم الله تعالى عليه موسى بن عمران عليه السلام ونودي فيه وهو كثير الشجر قال شيخنا أبو البقاء هو اسم جبل معروف

  แต่มีอีกทัศนะหนึ่งเห็นว่า ญะบัลอัฏฏูรนั้น อยู่ทางทิศตะวันออกของอัลมัสยิดอัลอักศอ ซึ่งมีภูเขาลูกหนึ่ง เรียกว่า ภูเขาอัฏฏูร หรือ ภูเขาอัซซัยตูน

ความขัดแย้งเกิดจากคำว่า “อัฏฏูร” เพราะในภาษาซุรยานีหมายถึง ภูเขา จึงทำให้การตั้งชื่อภูเขานั้นเมื่อใช้ในภาษาอื่นอาจแยกไม่ได้ว่า อัฏฏูร เป็นชื่อภูเขาหรือแปลว่าภูเขา

    

การพูดคุยระหว่างอัลลอฮฺกับนบีมูซา

ครั้งแรก เวลาท่านนบีมูซากลับจากเมืองมัดยัน ซึ่งรับวะฮียฺและคำบัญชาให้ไปเทศนาสั่งสอนวงศ์วานอิสรออีลและตักเตือนฟิรเอานฺ

ครั้งที่ 2 หลังจากข้ามทะเลผ่านพ้นจากอันตรายของฟิรเอานฺ ซึ่งเป็นครั้งที่ถูกระบุในอายะฮฺที่ 51 ของซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ

ครั้งที่ 3 เมื่อวงศ์วานอิสรออีลบูชาลูกวัว และถูกลงโทษ ท่านนบีมูซานำสาวก 70 ท่านไปขออภัยโทษ

 

ثُمَّ عَفَوْنَا عَنكُمِ مِّن بَعْدِ ذَلِكَ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ ﴿٥٢﴾

“52. แล้วเราก็ได้ให้อภัยแก่พวกเจ้าหลังจากนั้น เพื่อว่าพวกเจ้าจักขอบคุณ”

  وَإِذْ آتَيْنَا مُوسَى الْكِتَابَ وَالْفُرْقَانَ لَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ ﴿٥٣﴾

“53. และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้ให้คัมภีร์และอัลฟุรกอนแก่มูซา เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง”

  وَإِذْ قَالَ مُوسَى لِقَوْمِهِ يَا قَوْمِ إِنَّكُمْ ظَلَمْتُمْ أَنفُسَكُمْ بِاتِّخَاذِكُمُ الْعِجْلَ فَتُوبُواْ إِلَى بَارِئِكُمْ فَاقْتُلُواْ أَنفُسَكُمْ ذَلِكُمْ خَيْرٌ لَّكُمْ عِندَ بَارِئِكُمْ فَتَابَ عَلَيْكُمْ إِنَّهُ هُوَ التَّوَّابُ الرَّحِيمُ ﴿٥٤﴾

“ 54. และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน! แท้จริงพวกท่านได้อยุติธรรมแก่ตัวของพวกท่านเอง โดยที่พวกท่านได้ยึดถือลูกวัวตัวนั้น(เป็นที่เคารพสักการะ) ดังนั้นจงกลับสู่พระผู้บังเกิดพวกท่านเถิด แล้วจงฆ่าตัวของพวกท่านเอง นั่นเป็นสิ่งดีแก่พวกท่าน ณ พระผู้บังเกิดพวกท่าน ภายหลังพระองค์ก็ได้ทรงอภัย ”

       

เหตุการณ์บูชาลูกวัว

วงศ์วานอิสรออีลอยู่ในประเทศอียิปต์หลายศตวรรษ จึงมีธรรมเนียมประเพณีที่เลียนแบบมาจากชาวอียิปต์ ส่วนหนึ่งในประเพณีนั้นกระทบหลักศรัทธาอิสรออีล อาทิเช่น การบูชารูปเจว็ด โดยเฉพาะลูกวัว ซึ่งปรากฏในประเทศอียิปต์โบราณบางแห่ง

เหตุการณ์นี้จะบ่งชี้ถึงสภาพอีมานที่ไม่มั่นคงของวงศ์วานอิสรออีล

 

وَإِذْ قُلْتُمْ يَا مُوسَى لَن نُّؤْمِنَ لَكَ حَتَّى نَرَى اللَّهَ جَهْرَةً فَأَخَذَتْكُمُ الصَّاعِقَةُ وَأَنتُمْ تَنظُرُونَ ﴿٥٥﴾

“ 55. และจงรำลึกถึง ขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า โอ้มูซา! เราจะไม่ศรัทธาต่อท่านเป็นอันขาด จนกว่าเราจะได้เห็นอัลลอฮฺโดยเปิดเผย แล้วสายฟ้าฝ่าก็ได้ยึด(ชีวิต)พวกเจ้าขณะที่พวกเจ้ามองดูกันอยู่ ”

قال أبو جعفر عن الربيع بن أنس : الذين قالوا أرنا الله جهرة هم السبعون الذين اختارهم موسى فساروا معه ، فسمعوا كلاما فقالوا : (لن نؤمن لك حتى نرى الله جهرة) قال : فسمعوا صوتا فصعقوا ، يقول : ماتوا 

وقال عبد الرحمن بن زيد بن أسلم : قال لهم موسى لما رجع من عند ربه بالألواح قد كتب فيها التوراة فوجدهم يعبدون العجل فأمرهم بقتل أنفسهم ففعلوا فتاب الله عليهم فقال إن هذه الألواح فيها كتاب الله فيه أمركم الذي أمركم به ونهيكم الذي نهاكم عنه ، فقالوا : ومن يأخذ بقول أنت ؟ لا والله حتى نرى الله جهرة حتى يطلع الله علينا فيقولهذا كتابي فخذوه ، فما له لا يكلمنا كما يكلمك أنت يا موسى ، وقرأ قول الله ( لن نؤمن لك حتى نرى الله جهرة ) قال : فجاءت غضبة من الله فجاءتكم صاعقة بعد التوبة فصعقتهم فماتوا أجمعون ، 

قال : ثم أحياهم الله بعد موتهم وقرأ قول الله تعالى : ( ثم بعثناكم من بعد موتكم لعلكم تشكرون ) فقال لهم موسى : خذوا كتاب الله ، فقالوا : لا ، فقال : أي شيء أصابكم ؟ فقالوا : أصابنا أنا متنا ثم أحيينا ، قال : خذوا كتاب الله : قالوا : لا ، فبعث الله ملائكة فنتقت الجبل فوقهم .

 เหตุการณ์มองเห็นอัลลอฮฺ

ที่มีระบุตรงนี้ (อายะฮฺ 55 อัลบะเกาะเราะฮฺ) เกี่ยวกับสาวกนบีมูซา ซึ่งพวกเขาไม่มีสิทธิที่จะขอมองเห็น   อัลลอฮฺ จึงถูกลงโทษอย่างรุนแรงคือฟ้าผ่าที่ทำให้ชักตาย

แต่มีอีกเหตุการณ์เกี่ยวกับนบีมูซาที่ถูกระบุในซูเราะฮฺอัลอะอฺรอฟ ซึ่งนบีมูซาขอมองเห็นอัลลอฮฺ แต่อัลลอฮฺทรงบอกว่า ให้มองไปที่ภูเขา หากภูเขามั่นคงสงบก็จะเห็นพระองค์ แต่เมื่อพระองค์เผยให้แก่ภูเขา ทำให้ภูเขาแตกเป็นเสี่ยงๆ ราบลงมา และมูซาล้มลงสลบ ซึ่งเป็นสองเหตุการณ์

บทเรียนที่ได้จากอายะฮฺดังกล่าว

ความโปรดปรานอันใหญ่หลวงที่ประชาชาติอิสลามอนุรักษ์ไว้ซึ่งคัมภีร์อัลกุรอานโดยไม่บิดพลิ้วและไม่บิดเบือนเหมือนวงศ์วานอิสรออีล 
ความโปรดปรานอันใหญ่หลวงเช่นเดียวกัน ที่ประชาชาติอิสลามสามารถขอลุแก่โทษโดยไม่มีการลงโทษอย่างเจ็บปวดเช่นวงศ์วานอิสรออีล
การทำชิริกเป็นเรื่องเก่าแก่และเป็นสาเหตุให้ทุกประชาชาติเมื่อสิ่งเหล่านี้ปรากฏ ต้องรับการลงโทษอย่างรุนแรงและถูกสาปแช่งอย่างเปิดเผย

 

WCimage
ซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ 13 (อายะฮฺ 51-55 บนีอิสรออีล)